กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ใครคือกลุ่มเสี่ยงของการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร? จะสามารถสังเกตอาการของโรคนี้ได้อย่างไร?

มะเร็งหลอดอาหารสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ Squamous cell esophageal cancer และ Esophageal adenocarcinoma

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Squamous cell esophageal cancer เป็นมะเร็งที่เกิดกับหลอดอาหารชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดกับเซลล์เยื่อบุภายในหลอดอาหาร

ส่วน Esophageal adenocarcinoma จะเกิดจากเนื้อเยื่อที่พบบริเวณล่างสุดของหลอดอาหารใกล้กับกระเพาะ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลอดอาหาร ผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรเฝ้าระวังและสังเกตุอาการแสดงของโรค เพราะหากตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ จะมีผลต่อการรักษาอย่างมาก และทำให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร ประกอบด้วย

  • โรคกรดไหลย้อน: หากคุณเป็น Barrett’s esophagus หรือโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้น
  • ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่: การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร
  • เพศและอายุ: ผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง และผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้น
  • อาหารและเครื่องดื่มที่รับประทาน: หากคุณมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินหรือรับประทานผักและผลไม้น้อย จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้น ผู้ที่ดื่มน้ำร้อนๆ จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งหลอดอาหารบางชนิดได้ แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • สิ่งแวดล้อม : ผู้ที่ถูกสารเคมีหรือสารพิษบางชนิด เช่น การรักษาด้วยการฉายรังสี ฝุ่นซิลิกา และน้ำยาซักแห้งอาจมีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้น

อาการของมะเร็งหลอดอาหาร

ผู้ป่วยหลายรายจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนของจนกระทั่งโรคได้มีการลุกลามไปแล้ว ตัวอย่างอาการที่พึงระวัง ประกอบด้วย

  • ปัญหาการกินอาหารและการกลืน: จะมีการกลืนอาหารได้ลำบากขึ้น โดยเฉพาะในขนมปังและเนื้อสัตว์ เมื่อมะเร็งมีการลุกลามมากขึ้นจะทำให้สามารถรับประทานอาหารที่เป็นน้ำได้ลำบากขึ้นด้วย เนื่องจากจะมีอาการติดคอและอาจไหลย้อนกลับมาได้ อาจมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้ ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารอาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารเพื่อให้สามารถปรับตัวกับภาวะกลืนลำบากที่เกิดขึ้น โดยการเลือกรับประทานอาหารอ่อน และอาหารที่กลืนง่าย และเคี้ยวอย่างระมัดระวัง
  • น้ำหนักลด: เนื่องจากมีอาการกลืนลำบากหรือกลืนแล้วเจ็บจากโรคมะเร็งหลอดอาหาร ทำให้สามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง หรือไม่ได้รับพลังงานมากเพียงพอต่อความต้องการ
  • เสียงแหบ: เป็นอาหารที่มักพบได้บ่อยในโรคมะเร็งหลอดอาหารที่มีการลุกลาม อาจเกิดตามมาหลังจากการสะอึกบ่อยๆ หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • เจ็บคอ: อาจรู้สึกเจ็บข้างในคอเมื่อมีการกลืนหรือเจ็บที่หน้าอกหรือบริเวณไหล่

การคาดเดาผลกระทบของโรคของมะเร็งหลอดอาหาร

เนื่องจากโรคนี้มักไม่แสดงอาการจนกระทั่งมีการลุกลามและแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นนอกจากหลอดอาหาร ทำให้รู้ได้ยากว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารนี้อยู่ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกๆ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายจะมีอัตราการรอดชีวิตค่อนข้างดี โดย 80-90% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ที่ 5 ปีหลังจากการรักษา

มะเร็งหลอดอาหารไม่ใช่มะเร็งที่พบได้บ่อย ในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 12,000-18,000 คนต่อปี

หากมีคุณมีโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง (Barrett’s esophagus) ควรเข้ารับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ การป้องกันและการตรวจคัดกรองโรคถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคนี้

นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีคุณค่า และดูแลสุขภาพ จะทำให้ร่างกายคุณแข็งแรงและช่วยป้องกันมะเร็งได้ทุกชนิด


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adam Felman, What to know about esophageal cancer (https://www.medicalnewstoday.com/articles/172602.php), February 13, 2019
Carmella Wint and Marijane Leonard, Esophageal Cancer (https://www.healthline.com/health/esophageal-cancer), April 12, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
กดไหลย้อนเกิดจากสาเหตุอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ชอบมีรมในกระเพาะท่้องอืดบ่อยๆ ชอบมีลมที่คอเปงเพราะสาเหตุอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การดูแลรักษาอาการกรดไหลย้อน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากทราบอาการของกรดไหลย้อนคะ เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไรถึงหายขาดคะกลัวเป็นมะเร็งคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดมาจากสาเหตุอะไรบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
จุกท้องย่อยๆเหมือนอาหารไม่ย่อยแบบนี้เรียกว่ากรดไหลน้อยมั้ยคะคุณหมอ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)