รวมสาเหตุที่ทำให้คุณ “ ปัสสาวะบ่อย ” พร้อมวิธีแก้ไข

ปัสสาวะบ่อย อาจเป็นสาเหตุของโรคทางระบบทางเดินปัสสาวะได้ หรือเพียงเพราะดื่มน้ำมากเกินไป มาทำความเข้าใจอาการนี้กันเถอะ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รวมสาเหตุที่ทำให้คุณ “ ปัสสาวะบ่อย ” พร้อมวิธีแก้ไข

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คนส่วนมากมักปัสสาวะวันละ 6-8 ครั้งต่อวัน หากบ่อยกว่านี้ หรือปวดปัสสาวะขณะนอนหลับมากกว่า 2 ครั้ง นับว่าคุณมีอาการปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อย อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย เช่น การดื่มน้ำมาก ดื่มน้ำก่อนเข้านอน หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด แต่ก็อาจเกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ในร่างกายได้เช่นกัน
  • หากปัสสาวะบ่อยร่วมกับเป็นไข้ ต้องการไปห้องน้ำทันที และรู้สึกปวดท้องน้อย อาจเป็นอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย เช่น โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์ ต่อมลูกหมากโต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
  • เมื่อเกิดอาการปัสสาวะบ่อยจนผิดสังเกต อย่าเพิกเฉย เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม 
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

โดยปกติแล้ว คนส่วนมากมักปัสสาวะวันละ 6–8 ครั้งต่อวัน แต่หากคุณเข้าห้องน้ำบ่อยกว่านี้ หรือตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำมากกว่า 2 ครั้ง นอกจากจะเป็นเพราะว่าคุณดื่มน้ำมาก หรือดื่มน้ำใกล้กับเวลาเข้านอนแล้ว มันอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพกำลังมีปัญหาได้ 

เราลองมาดูสาเหตุที่ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย พร้อมกับวิธีแก้ไขกันดีกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย

การปัสสาวะบ่อย สามารถบ่งบอกได้ถึงโรคระบบทางเดินปัสสาวะ หรือพฤติกรรมการดื่มน้ำมากเกินไป หากคุณมีอาการปัสสาวะบ่อยกับเป็นไข้ ต้องการไปห้องน้ำทันที รู้สึกปวดท้องน้อย หรือไม่สบายท้อง นั่นหมายถึงคุณอาจกำลังติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้คุณปัสสาวะบ่อย มีดังนี้

1. โรคเบาหวาน 

การปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมากผิดปกติ มักเป็นอาการเบื้องต้นของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เพราะร่างกายไม่สามารถควบคุมน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงได้ ร่างกายจึงพยายามกำจัดน้ำตาลกลูโคสส่วนเกิน­­­ผ่านปัสสาวะ

2. ตั้งครรภ์ 

ในช่วงของการตั้งครรภ์ มดลูกของผู้หญิงจะขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้น ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ก็ไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมตัวเองถึงเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น แต่หากมีปัสสาวะบ่อยร่วมกับปวดหัวหน่าว หรือท้องน้อย อาจเป็นสัญญาณของกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม

3. ต่อมลูกหมากมีปัญหา 

ผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากใหญ่ขึ้นจะส่งผลต่อการปัสสาวะบ่อยด้วย เพราะต่อมลูกหมากไปกดทับท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นท่อลำเลียงปัสสาวะออกจากร่างกาย อีกทั้งยังไปกีดขวางการไหลของปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเหลือค้างเยอะ จนรู้สึกปัสสาวะไม่สุด  

ในบางครั้ง อาจมีขนาดใหญ่ไปเบียดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนจนเกิดการระคายเคือง ทำให้กระเพาะปัสสาวะเริ่มบีบตัว แม้ว่าจะมีน้ำปัสสาวะเพียงเล็กน้อยก็ปวดปัสสาวะบ่อยได้ ส่งผลให้เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นนั่นเอง

4. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Interstitial cystitis)  

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หรือ Interstitial cystitis จะมีอาการปวดที่กระเพาะปัสสาวะและบริเวณกระดูกเชิงกราน และมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย หรือปวดแบบฉับพลัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5. ยาบางชนิด

ยาบางชนิดสามารถทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติได้ เช่น ยาที่ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูง ยาที่ช่วยกำจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย หรือยาขับปัสสาวะ 

6. โรคหลอดเลือดสมอง

การเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคทางระบบประสาทอื่นๆ สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้การทำงานมีปัญหา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การปัสสาวะบ่อย หรือต้องการปัสสาวะแบบฉับพลัน เพราะไม่สามารถอั้นได้

นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว อาจเป็นเพราะโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ และการรักษาด้วยรังสี ซึ่งอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก 

หรืออาจเป็นเพราะ คุณกำลังเผชิญกับโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive bladder) ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำทันที ทั้งๆ ที่กระเพาะปัสสาวะยังไม่เต็ม รวมถึงอาจลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน 1 ครั้ง หรือมากกว่านี้

แนวทางการรักษาอาการปัสสาวะบ่อย

การรักษาภาวะปัสสาวะบ่อย จะรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ถ้าโรคเบาหวานเป็นต้นเหตุ การรักษาจะเกี่ยวข้องกับการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม

สำหรับการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินนั้นจะเริ่มต้นด้วยการบำบัดพฤติกรรม เช่น

  • ฝึกกลั้นปัสสาวะ ช่วยให้คุณกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น และทำให้ปัสสาวะน้อยลง

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ หรือมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของมะเขือเทศเป็นหลัก ช็อกโกแลต สารให้ความหวาน อาหารเผ็ด ฯลฯ

    นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ให้มากขึ้น เพราะหากท้องผูก มันจะยิ่งทำให้อาการของโรคแย่ลง

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ช่วยป้องกันไม่ให้ท้องผูก และไม่ให้ปัสสาวะเข้มข้นเกินไป รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนเข้านอน

  • ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (ขมิบก้น) สามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะแข็งแรง ทำให้ช่วยควบคุมการปัสสาวะได้ โดยให้คุณทำ 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 นาทีต่อครั้ง

สำหรับกลุ่มยาที่ใช้รักษาภาวะปัสสาวะบ่อย เช่น 

  • ดาริเฟนาซิน (Darifenacin) 
  • เดสโมเพรสซิน 
  • อะซีเตท (Desmopressin acetate)
  • อิมิพรามีน (Imipramine) 
  • มิราเบกรอน (Mirabegron) 
  • ออกซีบิวไทนิน (Oxybutynin) 
  • โซลิเฟนาซิน (Solifenacin)

หากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หรือการรับประทานยาไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้น แพทย์ก็อาจใช้วิธีผ่าตัดเป็นวิธีถัดไป

หากคุณรู้ตัวว่า ปัสสาวะบ่อยจนผิดสังเกต อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ เพราะนอกจากจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ปัสสาวะบ่อยอาจเป็นสัญญาณเตือนจากโรคร้ายได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นายแพทย์ ศุภณัฐ ศิริกุลชยานนท์, สรีระวิทยาของต่อมลูกหมาก (http://www.prostate-rama.com/reading_detail.php?cid=2), มกราคม 2562
นพ. อุดมศักดิ์ วิจิตรเศษฐกุล, อาการของโรคต่อมลูกหมากโต (http://www.prostate-rama.com/reading_detail.php?cid=8), มกราคม 2562
นายแพทย์ กีรติพล เวียงพล, ต่อมลูกหมากโต (BPH) (http://www.prostate-rama.com/reading_detail.php?cid=5), มกราคม 2562

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป