กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

มะรุม (Moringa)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

มะรุม (Moringa) เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ใบรูปไข่กลับ ปลายมน หรือเว้าตื้น ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง กลีบดอกสีเขียวอ่อน ออกดอกตลอดทั้งปี ผลเป็นฝักรูปดาบหรือกระบอง ยาว 18-45 เซนติเมตร เมล็ดขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตร

เติบโตตามแถบประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนอย่างแถบทวีปเอเชียและแอฟริกา โดยใช้ใบ เปลือกไม้ ดอก ผล เมล็ด และรากนำไปทำยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มะรุมเป็นยาพื้นบ้าน ช่วยแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ห้ามเลือด ช่วยการนอนหลับ และเป็นยาระบาย รวมถึงใช้เป็นยาบำรุงและแก้ปวดตามข้อด้วย

นอกจากนี้ มะรุมยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ขับปัสสาวะ ลดความดัน ลดระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด ลดไข้ ป้องกันตับอักเสบรักษาแผลในกระเพาะอาหาร รวมไปถึงป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา

น้ำมันจากเมล็ดมะรุมใช้ในการประกอบอาหาร ทำน้ำหอม และเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม และนำไปหล่อลื่นเครื่องจักรได้ด้วย

มะรุมเป็นแหล่งอาหารสำคัญของบางพื้นที่ในโลก เนื่องจากเป็นพืชที่โตง่ายและราคาถูก ใบของต้นมะรุมที่นำไปตากแห้งมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ฟีโนลิค (Phenolics) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) 

ในประเทศอินเดียและแอฟริกายังมีโครงการนำมะรุมไปใช้ต่อสู้กับความอดอยากอีกด้วย หน่อที่ยังไม่โตเต็มที่ (Drumsticks) มีลักษณะคล้ายถั่วเขียว สามารถนำเมล็ดข้างในออกไปปรุงหรือย่างเหมือนถั่วก็ได้ ใบของต้นมะรุมนำไปปรุงอาหารได้เหมือนผักโขม นำไปตากแห้งและบดเป็นผง ใช้เป็นเครื่องปรุงได้อีกด้วย

ประโยชน์ของมะรุม

มะรุมประกอบด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุมากมาย ทั้งวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 โฟเลต กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และสังกะสี อีกทั้งยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันและฟื้นฟูเซลล์ร่างกายจากความเสียหายได้

ภาวะที่ใช้มะรุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด จากการทดลองให้สารสกัดจากใบมะรุม 150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แก่หนูที่เป็นเบาหวานนาน 5 สัปดาห์ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL หรือไขมันไม่ดี รวมถึงเพิ่มระดับอินซูลินได้
  • ต้านอนุมูลอิสระ จากการนำส่วนต่างๆ ของมะรุมมาสกัดด้วยนำเกลือและแอลกอฮอล์ พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระจากทั้งใบและดอกมะรุม
  • หอบหืด มีการศึกษาพบว่า ผงสกัดจากเมล็ดมะรุมปริมาณ 3 กรัมเป็นเวลานาน 3 สัปดาห์ สามารถลดอาการและความรุนแรงของโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ได้
  • ขับปัสสาวะ สารสกัดจากใบ ดอก เมล็ด และต้นมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
  • ลดความดัน ในมะรุมมีสารไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) และ สารไนอะซิมินิน (Niaziminin) ที่ช่วยยับยั้งไม่ให้ความดันโลหิตสูงได้
  • รักษาแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดจากใบมะรุมจำพวกฟีนอลและฟลาโวนอยด์ ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ 
  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากใบ ราก และ ต้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหลายชนิด
  • ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง มีหลายการศึกษาเกี่ยวกับการต้านมะเร็งในมะรุม เช่น สารสกัดจากใบและผลของมะรุมพบว่าสามารลดการโตของมะเร็งผิวหนังในหนู

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของมะรุม

ใบ ผล และเมล็ดของต้นมะรุมบริโภคเป็นอาหารได้อย่างปลอดภัยเมื่อรับประทานหรือใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ควรเลี่ยงการบริโภครากและสารสกัดมะรุมในปริมาณมากเนื่องจากอาจมีสารพิษที่ทำให้เกิดอาการอัมพาตและเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องความปลอดภัยในการใช้มะรุมในปริมาณที่ใช้กันในทางการแพทย์

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้มะรุม

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร การใช้ราก เปลือกไม้ หรือดอกมะรุมไม่ปลอดภัยหากคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ เนื่องจากสารเคมีอาจทำให้มดลูกบีบรัดและแท้งบุตรได้ อีกทั้ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ส่วนอื่นๆ ของต้นมะรุมกับกลุ่มสตรีมีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้มะรุมเพื่อความปลอดภัย และ ณ ขณะนี้ยังคงไม่มีข้อมูลพิสูจน์ว่ามะรุมมีความปลอดภัยต่อผู้ที่ต้องให้นมบุตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรเลี่ยงการบริโภคมะรุมขณะกำลังให้นมบุตร

ปริมาณการใช้มะรุมและการใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการส่งผลซึ่งกันและกันของมะรุมกับยาชนิดอื่น อีกทั้งขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับมะรุมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพ และภาวะสุขภาพอื่นๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของมะรุม ดังนั้นพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้มะรุมทุกครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Santos AF, Argolo AC, Paiva PM, Coelho LC., Antioxidant activity of Moringa oleifera tissue extracts.(https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22294387), Phytother Res. Sep;26(9):1366-70, 2012.
Manal El-khadragy, et al., Clinical Efficacy Associated with Enhanced Antioxidant Enzyme Activities of Silver Nanoparticles Biosynthesized Using Moringa oleifera Leaf Extract, Against Cutaneous Leishmaniasis in a Murine Model of Leishmania major (https://www.mdpi.com/1660-4601/15/5/1037), 22 May 2018.
Bethany Cadman, What makes moringa good for you? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319916.php), 4 November 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)