กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ประโยชน์ของมะรุม ไอเดียการกินการใช้มะรุมเพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

น้ำตาล คอเลสเตอรอล และความดันโลหิต ลดได้ไม่ยากแค่รับประทานมะรุมให้ถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประโยชน์ของมะรุม ไอเดียการกินการใช้มะรุมเพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • มะรุม เป็นพืชพื้นบ้านที่มีประโยชน์ สามารถรับประทานได้แทบทุกส่วน โดยเลือกใช้ใบที่ไม่แก่ หรืออ่อนเกินไป รับประทานสดๆ หรือไม่ถูกความร้อนมากเกินไป เพื่อให้ได้สารอาหารเต็มที่
  • มะรุม อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี โปรตีน หรือธาตุเหล็ก
  • ประโยชน์ของมะรุม เช่น รักษาอาการหวัด ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด บรรเทาอาการปวด บำรุงร่างกาย สายตา ผิวพรรณ และต่อต้านมะเร็ง
  • ข้อควรระวังการใช้มะรุม เช่น ผู้ป่วยโรคเลือด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทานมะรุมมากเกินไป เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น
  • หากรับประทานมะรุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานพบเอนไซม์เพิ่มสูงขึ้น (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

มะรุม เป็นพืชพื้นบ้านที่มีประโยชน์มากมาย รับประทานได้แทบทุกส่วน เช่น  ราก เมล็ด ดอก ยอดอ่อน ใบ ฝัก จึงไม่แปลกที่คนโบราณจะนำฝักอ่อนมาใส่ในแกงส้มเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร บ้างก็นำมาลวกจิ้มน้ำพริกกะปิ นัยว่า เป็นการฝึกให้กินมะรุมเป็นอย่างกลายๆ  

การศึกษาค้นคว้าวิจัยในปัจจุบันพบว่า มะรุมมีตัวยาสำคัญและสารอาหารจำเป็นหลายอย่างจึงมีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และช่วยป้องกันโรค บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้มากมาย  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มะรุมคืออะไร?

มะรุม (Moringa) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย ทนทานต่อความแห้งแล้ง และเจริญเติบโตได้ง่าย

มะรุม มีลำต้นตั้งตรงสีน้ำตาล มีกิ่งก้าน ใบรูปไข่ความยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร เรียงกันแบบสลับ ผลมีลักษณะเป็นฝักสีเขียว ยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ออกดอกสีขาวเป็นช่อในช่วงฤดูหนาว แต่บางพันธุ์ก็ออกดอกได้หลายครั้งในรอบปี ฝักมีรสชาติหวาน เมล็ดรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก 

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

ฝักมะรุมสดปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่

นอกจากนี้ยังมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ ไขมัน ใยอาหาร แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมงกานีส โซเดียม สังกะสี วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9

ประโยชน์ของมะรุม

  • รักษาโรคขาดสารอาหาร นำมาใช้รักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กได้โดยจะทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรงมากขึ้น เพราะในมะรุมมีสารอาหารหลายชนิด จึงสามารถทดแทนสารอาหารที่ขาดไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรับประทานอาหารอื่นๆ เพื่อเสริมแร่ธาตุสารอาหารให้เพียงพอด้วย
  • รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เพียงนำใบมะรุมมากินเป็นประจำ โดยอาจนำมากินสดๆ หรือนำมาประกอบอาหารก็ได้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเหงือกและฟัน จึงไม่ทำให้มีเลือดออกตามไรฟัน
  • บำรุงผิวให้สวยใส มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่มกระจ่างใส ผิวเนียนดูอ่อนเยาว์ และปราศจากริ้วรอย ซึ่งก็เป็นการบำรุงผิวพรรณตั้งแต่ภายในสู่ภายนอก เพราะฉะนั้นใครที่อยากมีผิวสวย มีสุขภาพผิวที่ดี มะรุมก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด มีสรรพคุณในการบำรุงเลือด จึงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถใช้รักษาอาการของโรคโลหิตจางได้อีกด้วย
  • รักษาโรคเบาหวาน มีสรรพคุณในการควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือด และลดระดับน้ำตาลให้น้อยลง จึงช่วยบรรเทา และชะลออาการของโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี ส่วนในคนปกติ เมื่อรับประทานมะรุมเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
  • บรรเทาอาการปวด ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลัง ปวดตามข้อ หรือปวดส่วนไหนของร่างกายก็ตาม มะรุมจะช่วยลดอาการปวดตามกล้ามเนื้อและกระดูกได้เป็นอย่างดี รวมถึงช่วยลดอาการอักเสบได้ดีอีกด้วย 
  • ใช้รักษาอาการหวัด แก้ไอสำหรับผู้ที่มีอาการหวัด ไอเรื้อรัง มีอาการภูมิแพ้ เพราะมะรุมอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จึงสามารถบรรเทา และรักษาอาการไข้หวัด และอาการไอได้
  • บำรุงร่างกาย การรับประทานมะรุมเป็นประจำจะช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เกิดความผ่อนคลาย พร้อมทั้งช่วยซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอ หรือบอบช้ำ ให้ฟื้นฟูและกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติเร็วขึ้นอีกด้วย
  • บำรุงสายตา มีวิตามินเอสูงมาก จึงสามารถใช้รักษาอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับดวงตาได้ ทั้งยังช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาให้แข็งแรง ป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตา รวมถึงโรคต้อในตา โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานจ้องหน้าจอคอมเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้ดวงตามีอาการเหนื่อยล้า ตาแห้ง และพร่ามัวได้ 
  • ต่อต้านมะเร็ง ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในมะรุม จึงสามารถต่อต้านการเกิดมะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างดีเยี่ยม 
  • ลดระดับความดันโลหิต งานวิจัยพบว่า การสกัดสารของฝักและผลของมะรุมทดลองในสุนัขและหนูแรทจะได้สารสำคัญประเภท Glycosides ซึ่งสามารถลดความดันโลหิตและลดอาการอื่นๆ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เป็นต้น
  • ลดระดับไขมันในเลือด จากข้อมูลงานวิจัยสามารถกล่าวได้ว่า การรับประทานมะรุมสามารถช่วยลดระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดได้ แต่หากจะรับประทานเพื่อหวังให้เป็นยาระบายเพื่อลดน้ำหนักยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม

ไอเดียการใช้มะรุมเพื่อสุขภาพ

  • แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย นำเปลือกต้นมะรุมมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาทำเป็นลูกประคบโดยการนึ่งให้ร้อน จากนั้นนำมาประคบให้ทั่วตามบริเวณที่มีอาการปวด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้แล้ว
  • ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น นำดอกมะรุมมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่มเป็นประจำ สังเกตได้ว่า อาการนอนไม่หลับจะค่อยๆ หายไป นอนหลับได้สนิทมากกว่าเดิม
  • ต่อต้านมะเร็ง นำมะรุมมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นประจำช่วยปกป้องคุณจากโรคมะเร็งร้าย ส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็ง การดื่มน้ำมะรุมควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูเร็วขึ้น และชะลอการแพร่กระจายของโรคได้ดี
  • แก้โรคผิวหนัง สกัดน้ำมันจากเมล็ดมะรุมนำมาใช้ทาบริเวณผิวหนังที่มีอาการ จะช่วยแก้ผิวแห้งและรักษาโรคเชื้อราบนผิวหนังได้ดี นอกจากนี้ยังทำให้ผิวพรรณมีความนุ่ม ชุ่มชื้น และมีสุขภาพผิวที่ดีขึ้นด้วย
  • ขับลม นำเปลือกต้นมะรุมมาต้มกับน้ำสะอาด แล้วนำมาดื่มเป็นประจำเช้าเย็น เพื่อช่วยให้ขับลม ทำให้เรอ และช่วยคุมธาตุอ่อนได้
  • รักษาโรคหูน้ำหนวก นำน้ำมันมะรุมมาหยอดหู จะช่วยบรรเทาและรักษาอาการให้ทุเลาลงจนหายเป็นปกติในที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าพยาธิในหู และรักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบได้เช่นกัน
  • ลดความดันโลหิต นำใบมะรุมสดๆ มาตำคั้นน้ำผสมน้ำผึ้งกิน หรือนำยอดและรากมาต้มน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น สามารถช่วยลดความดันโลหิตลงได้
  • ช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น นำเมล็ดมะรุมมาทานวันละเม็ดก่อนนอน จะช่วยแก้อาการท้องผูก และทำให้ขับถ่ายในตอนเช้าได้อย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติแล้ว ก็ให้หยุดทานทันที
  • รักษาแผลสดที่แผลไม่ใหญ่มาก นำใบมะรุมมายี หรือโขลกจนละเอียด แล้วนำมาโปะไว้ที่แผลซึ่งจะช่วยรักษาแผลสดให้หายเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ส่วนใครที่มีน้ำมันมะรุมก็อาจใช้มาทาแผลแทนได้เหมือนกัน
  • แก้อาการผมร่วง นำน้ำมันมะรุม มานวดให้ทั่วศีรษะเป็นประจำ จะทำให้อาการผมร่วงลดน้อยลง พร้อมกับบำรุงรากผมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เป็นผลให้เส้นผมแข็งแรงมากกว่าเดิม และไม่หลุดร่วงได้ง่าย

ไอเดียการกินมะรุมเพื่อสุขภาพ

  • แกงอ่อมยอดมะรุม เตรียมข้าวคั่วป่น หั่นหมู ยอดมะรุม ผักชีลาว เตรียมไว้ จากนั้นนำพริก กระเทียม ข่า ตะไคร้ หอมแดง มาโขลกรวมกัน  เอาน้ำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดใส่หมู ใส่ข้าวคั่ว เกลือ ใบมะกรูด น้ำปลาร้า ปรุงรสแล้วคนจนเข้ากัน รอจนน้ำเดือด ใส่ผักชี ยอดมะรุมลงไป คนสักครู่แล้วปิดไฟ พร้อมตักเสิร์ฟ
  • แกงส้มมะรุม ปอกเปลือกฝักมะรุม ตัดเป็นท่อนๆ เอาไปล้างในน้ำเกลือ นำมะเขือเทศกับผักชีมาผ่าครึ่ง หั่นผักชี แกะปลาทูเอาเฉพาะเนื้อ ตั้งน้ำในหม้อด้วยไฟแรง เมื่อน้ำเดือดใส่เครื่องพริกแกงส้มลงไป คนให้เข้ากัน รอจนน้ำแกงเดือดอีกครั้งจึงใส่มะระลงไปต้มจนสุก ใส่เนื้อปลาทู ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาล ใส่มะเขือเทศและผักชี ปิดไฟ พร้อมตักเสิร์ฟ
  • ต้มจืดมะรุม เด็ดยอดมะรุม รูดใบ ตำกระเทียม พริกไทย รากผักชีจนละเอียด เอาหมูลงไปโขลกด้วย นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟจนเดือด ใส่ผงซุปไก่ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดใส่หมูที่เตรียมไว้ ใส่กุ้งแห้งลงไป ใส่ยอดมะรุม ใส่ผักชีลงไป พร้อมตักเสิร์ฟ
  • ไข่เจียวมะรุม นำไข่ไก่มาตอกใส่ชามแล้วตีผสมกับน้ำปลา จากนั้นก็ใส่ใบมะรุมที่เด็ดเป็นใบแล้วลงไป ใส่น้ำมันตั้งกระทะรอจนเริ่มร้อนก็เทไข่เจียวที่ตีไว้ลงไปทอด เมื่อไข่เจียวสุกทั้งสองด้านก็ตักใส่จานพร้อมกิน

ข้อควรระวัง

  • หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งลูกได้สูง 
  • ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้
  • ควรเลือกใบที่ไม่แก่หรือไม่อ่อนเกินไป รับประทานสดๆ และไม่ถูกความร้อนมากเกินไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารอาหารเต็มที่
  • สำหรับผู้ที่รับประทานมะรุมต่อเนื่องเป็นเวลาควรตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานพบเอนไซม์เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นควรใส่ใจกับข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณด้วย
  • มะรุมมีพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเลือดเพราะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย

เห็นไหมว่า มะรุมมีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ลดความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด ต้านการอักเสบ และสามารถนำมากิน นำมาใช้ได้หลากหลายไอเดียเลยทีเดียว ฉะนั้นมากินมะรุมให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณกันดีกว่า

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อธิกา จารุโชติกลม และคณะ. ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาว, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, หน้า 129, 11 เมษายน 2562
คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. มะรุม พืชที่ทุกคนอยากรู้ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/8/มะรุม-พืชที่ทุกคนอยากรู้/), 11 เมษายน 2562

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป