กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วิตามินบี 6 หรือไพริด็อกซิน (Pyridoxine)

ทำความรู้จักประโยชน์ของวิตามินบี 6 รอบด้าน และปริมาณที่ควรรับประทานต่อวัน
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิตามินบี 6 หรือไพริด็อกซิน (Pyridoxine)

วิตามินบี 6 หรือไพริด็อกซิน (Pyridoxine) เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีรวมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำงานร่วมกับสารอื่นๆ ในร่างกายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ การเกิดนิ่วในไต เป็นต้น มาทำความรู้จักกับวิตามินบี 6 พบได้ในแหล่งอาหารชนิดใด ปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน และข้อแนะนำในการรับประทาน

วิตามินบี 6 คืออะไร

วิตามินบี 6 เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) ซึ่งร่างกายสามารถได้รับจากอาหารจำพวกนม ไข่แดง เนื้อสัตว์ หรือจมูกข้าว เป็นวิตามินประเภทละลายในน้ำได้ จะอยู่ในร่างกาย 2 - 4 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกขับออกทางไตมากับปัสสาวะ โอกาสที่จะสะสมในร่างกายจึงมีน้อยไม่ค่อยก่อผลข้างเคียง เราจึงควรรับประทานวิตามินบี 6 ในทุกๆ วัน ผ่านอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิตามินบี 6  (ไพริดอกซีนหรือไพริดอกซามีน) จะเกี่ยวกับระบบของเส้นประสาท หากขาดวิตามินบี 6 จะเกิดภาวะซีด โลหิตจางได้ 

หน่วยวัดของวิตามินบี 6

วิตามินบี 6 มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.)

ปริมาณวิตามินบี 6 ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

อายุ ชาย หญิง สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร
แรกเกิด-6 เดือน0.1 mg0.1mg  
7-12 เดือน0.3 mg0.3 mg  
1-3 ปี0.5 mg0.5 mg  
4-8 ปี0.6 mg0.6 mg  
9-13 ปี1.0 mg1.0 mg  
14-18 ปี1.3 mg1.2 mg1.9 mg2.0 mg
19–50 ปี1.3 mg1.3 mg1.9 mg2.0 mg
50 ปี ขึ้นไป1.7 mg1.5 mg  

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิตามินบี 6

  • ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 6 เพิ่มหากรับประทานอาหารประเภทที่มีโปรตีนสูง
  • ร่างกายจำเป็นต้องใช้วิตามินบี 6 ในการสร้างแอนติบอดี (Antibody) และเม็ดเลือดแดง
  • วิตามินบี 6 มีส่วนช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin)
  • วิตามินบี 6 จำเป็นต่อการสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือที่เรียกว่า กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) และแร่ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium)

11 ประโยชน์ที่ควรรู้เกี่ยวกับวิตามินบี 6

  • วิตามินบี 6 ทำงานร่วมกับวิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิค (Folic acid) ในการลดระดับกรดอะมิโน (Amino acid) ที่มีชื่อว่า โฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ในกระแสเลือด ส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลดลง
  • เสริมความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ป้องกันการเกิดนิ่วในไต
  • ช่วยให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนและไขมันได้ดีขึ้น
  • ช่วยในการเปลี่ยนรูปทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญต่อร่างกายให้เป็นวิตามินบี 3 หรือไนอะซิน (Niacin)
  • ช่วยป้องกันโรคทางระบบประสาทและผิวหนังหลายชนิด
  • ลดอาการคลื่นไส้ (ยาบรรเทาอาการแพ้ท้องหลายขนานที่แพทย์สั่งมีวิตามินบี 6 เป็นส่วนประกอบ)
  • ช่วยส่งเสริมการสร้างกรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) ที่ชะลอกระบวนการชราได้
  • ลดอัตราอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในเวลากลางคืน ขาเป็นตะคริว มือชา และปลายประสาทที่แขนขาอักเสบบางชนิด

แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 6

พบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม นม ไข่แดง ข้าวกล้อง รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ เมล็ดงา 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

มีจำหน่ายในหลากหลายขนาดตั้งแต่ 50-500 มิลลิกรัม ทั้งในรูปแบบแยกเดียว วิตามินบีรวม และวิตามินรวมหลายชนิด

การขาดวิตามินบี 6

พบเจอได้น้อย อาจพบได้ในผู้มีภาวะดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี หรือได้รับสารบางชนิดมากเกินไป เช่น เอสโตเจน (estrogens) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) ยากันชัก (anticonvulsants) การรับประทานแอลกอฮอร์เป็นระยะเวลานาน อาการที่อาจพบได้ เช่น ปวด ชา ปลายมือปลายเท้า โลหิตจาง ลมชัก ซึมเศร้า ภาวะสับสน ภูมิต้านทานต่ำ

การได้รับวิตามินบี 6 มากเกินไป

หากรับประทานมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน อาจพบปัญหาทางระบบประสาทและสมอง และอาจพบอาการ คลื่นไส้ กรดไหลย้อน ผิวไวต่อแสงแดด

ศัตรูของวิตามินบี 6

การเก็บไว้นานเกินไป การบรรจุในกระป๋อง การย่างหรือต้ม การแช่แข็งผักและน้ำผลไม้ กระบวนการแปรรูปอาหาร แอลกอฮอล์ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ข้อแนะนำในการรับประทานวิตามินบี 6

  • ควรระวังในผู้ที่แพ้วิตามินบี 6 อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เบื่ออาหาร การนอนหลับผิดปกติ เป็นต้น
  • หากคุณรับประทานยาคุมกำเนิดมีความเป็นไปได้สูงที่ร่างกายต้องการวิตามินบี 6 เพิ่ม
  • ผู้ที่รับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนสูงจะต้องการวิตามินชนิดนี้มากเป็นพิเศษ

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สื่อสารองค์กร คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, “ทานวิตามินเสริม” ให้ถูกวิธี ลดผลข้างเคียงต่อร่างกาย (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/ทานวิตามินเสริม-ให้ถูก/)
โรงพยาบาลกรุงเทพ, วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย(https://www.bangkokhospital.com/th/health-tips/vitamin-deficiency)
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน: วิตามินและแร่ธาตุ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/413/contact.php)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม