ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกกันว่า โรคกลุ่ม NCDs ( non-communicable diseases) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือภาวะไขมันในเลือดสูง โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก "พฤติกรรมการใช้ชีวิต" ที่ส่งผลให้เกิดโรค เช่น การรับประทานของมันของทอด การสูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด รวมถึงผู้มีปัญหาเรื่องความอ้วนด้วย
เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีภาวะไขมันในเลือดสูง ก็จะได้รับการจ่ายยาลดไขมันมาให้รับประทานและต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อวจนกว่าระดับไขมันในเลือดจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่นอกจากยาลดไขมันแล้ว หลายๆ คนอาจนึกไม่ถึงว่า มีสมุนไพรใกล้ตัวหลายชนิดที่สามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ บทความนี้จะแนะนำสมุนไพรลดไขมันในเลือด 10 ชนิด ให้รู้จัก
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการและอาการแสดงของภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะไม่มีอาการแสดง แต่บางกรณีโดยเฉพาะในกลุ่มไขมันในเลือดผิดปกติจากพันธุกรรม อาจมีอาการดังนี้
- ผนังหลอดเลือดแข็ง ส่งผลให้หัวใจต้องทํางานหนักมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เลี้ยงทั่วร่างกายเพียงพอ หากเป็นระยะเวลานานๆ จะทําให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หรือเป็นอัมพาตได้
- มีปื้นเหลืองที่ผิวหนัง เช่น หนังตา ข้อศอก หัวเข่า และฝ่ามือ
- เอ็นร้อยหวายหนาตัวกว่าปกติ
- มีเส้นวงสีขาวเกิดขึ้นระหว่างขอบตาดํากับตาขาว
สำหรับใครที่อยากลดไขมันในร่างกาย ก็ทำได้ไม่ยาก โดยการรับประทานสมุนไพรลดไขมันเหล่านี้เป็นประจำเพราะหากปล่อยให้ไขมันสะสมในเส้นเลือดอยู่ต่อไป เมื่อปริมาณไขมันเพิ่มสูงขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้ตามมาได้ ได้แก่
- โรคเส้นเลือดหัวใจตีบจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
- โรคเส้นเลือดในสมองตีบจนส่งผลทำให้เกิดอัมพาต
- โรคเส้นเลือดที่ขาตีบตัน
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
รู้จักสมุนไพรลดไขมัน 10 ชนิด
1.กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงจัดว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรลดไขมัน นอกจากจะช่วยลดระดับไขมันเลว(LDL) ได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มระดับไขมันดี(HDL)ได้ด้วย ไม่เพียงเท่านั้นกระเจี๊ยบแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงปริมาณใกล้เคียงกับบลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ และแครนเบอร์รี่ กระเจี๊ยบแดงจึงเป็นสมุนไพรที่อาจมีสรรพคุณช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็ง สามารถช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของวัย และทำให้ไม่แก่เร็วได้อีกด้วย
ส่วนของกระเจี๊ยบแดงที่ได้รับความนิยมในการนำมาบริโภคคือ ผลและกลีบเลี้ยงนั่นเอง โดยนำมาต้มทำเป็นเครื่องดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดง หรือจะนำมาทำเป็นสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดงเพื่อบำรุงสุขภาพแทนก็ได้เช่นกัน
จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกเรื่องการบริโภคสารสกัดจากดอกกระเจี๊ยบครั้งละ 2 แคปซูลระหว่างมื้ออาหาร วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า อาสาสมัคร 50 % จากจำนวน 42 คน มีระดับคอเลสเตอรอลลดลงภายใน 2 สัปดาห์
นอกจากนี้กระเจี๊ยบแดงยังสามารถช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้โดยใช้ผงดอกกระเจี๊ยบแดง 5 - 10 กรัม ชงในน้ำเดือด 250 - 500 มิลลิลิตร นาน 10 - 20 นาที ดื่มวันละ 1 ครั้ง ข้อควรระวังในการดื่มน้ำกระเจี๊ยบ: อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เนื่องจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
2.กระเทียม
กระเทียมจัดว่าเป็นหนึ่งในเป็นสมุนไพรลดไขมัน ด้วยความที่กระเทียมมีกลิ่นฉุน หลายคนจึงไม่ชื่นชอบเท่าไรนัก แต่ด้วยกระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง จึงควรพยายามรับประทานกระเทียมบ้าง มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า สารอัลลิซิน (allicin) และอะโจอีน (ajoene) ที่พบในกระเทียมสดช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด ช่วยต่อต้านการก่อตัวของไขมันอุดตันในหลอดเลือด ช่วยลดระดับไขมันเลวในเลือด ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับของไขมันชนิดดี ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบหลอดเลือดหัวใจได้
นอกจากนี้ยังพบงานวิจัยทางคลีนิกว่า การรับประทานกระเทียมสดประมาณ 4 กรัม (10 - 15 กลีบเล็ก) ต่อวัน จะช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย นอกจากช่วยเรื่องลดไขมันและความดันโลหิตแล้ว กระเทียมยังมีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลสด หรือแผลเรื้อรัง ช่วยลดการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันโรคหัวใจ และยังช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี
3.ขิง
ขิงจัดว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรลดไขมันที่มีฤทธิ์ร้อน มีสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน เนื่องจากมีผลการศึกษารายงานว่า ขิงมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูง เพราะการผสมขิงสดลงในจานอาหารที่เต็มไปด้วยคอเลสเตอรอล เมื่อรับประทานขิงสดจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดและตับลงได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังพบงานวิจัยในปี 2014 ที่แสดงให้เห็นว่า ขิงสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ โดยสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL และเพิ่มระดับ HDL ได้ รวมถึงจากรายงานที่ตีพิมพ์โดย The University of Maryland แสดงให้เห็นว่า ขิงสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและลดการอุดตันในเส้นเลือดได้จึงช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี
แนะนำให้รับประทานขิงแบบสดๆ พร้อมมื้ออาหาร หรืออาจจะฝานเหง้าขิงสดมาต้มกับน้ำใช้สำหรับจิบเป็นชาขิงเหมือนเครื่องดื่มชาเพื่อสุขภาพทั่วไปก็ได้
4.ดอกคำฝอย
ดอกคำฝอยจัดว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรลดไขมัน ป้องกันการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ เพราะในดอกคำฝอย มีกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) อยู่ในปริมาณมาก โดยกรดชนิดนี้จะมีปฏิกิริยากับไขมันในเลือด จากนั้นจะกำจัดไขมันออกจากทางปัสสาวะและอุจจาระ ทำให้ไขมันภายในร่างกายลดน้อยลงไป
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จากการศึกษาของ Ohio State University โดย Dr. Martha Belury ยังพบว่า การดื่มชาดอกคำฝอยที่มีกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) อยู่ในปริมาณมาก จะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ลง และช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ให้แก่ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางคลินิกที่ให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแข็งจากการสะสมของไขมันรับประทานน้ำมันดอกคำฝอยในขนาด 81 กรัมต่อวัน พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลลดลงประมาณ 22 %
5.ไมยราบ
ไมยราบจัดว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรลดไขมันที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่า เป็นเพียงวัชพืชที่ไร้คุณค่าเพราะไมยราบมักจะขึ้นอยู่ตามข้างทาง ในป่า หรือริมถนน แต่แท้จริงแล้ว ไมยราบเป็นสมุนไพรที่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณทางยามาก ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาอาการหลอดลม และกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง อีกทั้งยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ วิธีการรับประทานไมยราบ ทำได้โดยการนำต้นไมยราบทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วนำมาจิบบำรุงร่างกายเหมือนกับเครื่องดื่มชาทั่วไปนั่นเอง
6.มะเขือยาว
มะเขือยาวจัดว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรลดไขมันเพราะมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือดลงได้ ยืนยันจากผลทดลองในห้องแล็บที่เลี้ยงกระต่ายด้วยอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงแล้วให้กินมะเขือยาว ผลทดลองพบว่า ไม่มีคอเลสเตอรอลเกาะอยู่ในหลอดเลือดของร่างกายหนูทดลองแต่อย่างใด จึงสันนิษฐานว่า มะเขือยาวมีสรรพคุณช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลผ่านผนังลำไส้ได้
นอกจากนี้ยังพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะเขือยาวเพิ่มเติมคือ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส ลดการอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ชัก ลดความดันโลหิตสูง ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และรายงานผลการทดลองการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า การดื่มน้ำมะเขือยาวทุกวันช่วยลดระดับไขมันในเลือด และเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือดได้
สำหรับแร่ธาตุต่างๆ ที่พบในมะเขือยาว เช่น ไฟเบอร์ โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินบี 6 และไฟโตนิวเทรียนท์ ช่วยให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้น นอกจากนี้วารสารโภชนาการคลินิกของสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า อาหารที่มีสารฟลาโวนอยด์บางชนิดรวมถึงแอนโธไซยานินที่พบในมะเขือยาวยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจลดลง
มะเขือยาวสามารถนำมาเป็นอาหารประเภทน้ำพริกผักจิ้ม หรือการนำมาอบ ย่าง หรือต้ม ก็ได้ ซึ่งการปรุงมะเขือยาวแบบนี้สามารถช่วยลดไขมันอย่างได้ผลแน่นอน แต่ไม่เหมาะสมกับการนำมาทำเป็นอาหารประเภทผัด หรือทอด เพราะอาจจะทำให้ปริมาณไขมันเพิ่มขึ้นแทนได้
7.ถั่วลันเตา
ถั่วลันเตามีโปรตีนสูงแต่ให้ไขมันต่ำ จัดเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยลดไขมันได้ และเนื่องจากถั่วลันเตาเป็นพืชในตระกูลถั่วจึงทำให้เปี่ยมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะวิตามินบี 2 นอกจากนี้สารไนอะซิน (niacin) ที่พบในถั่วลันเตายังเป็นสารที่ช่วยลดโอกาสในการสร้างไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิด LDL เพิ่มไขมันดี HDL และช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
แร่ธาตุอื่นๆ ที่พบในถั่วลันเตา เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟลาโวนอล แคโรทีนอยด์ วิตามินซี วิตามินเค และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
8.เสาวรส
เสาวรส ผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน แต่หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับผลไม้ชนิดนี้เท่าไรกันนัก โดยจากการศึกษาพบว่า ในเสาวรสมีวิตามินซีมากกว่าในมะนาวและยังค้นพบด้วยว่า ในเมล็ดของผลเสาวรสจะมีสาร Albumin homologous protein ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้เป็นอย่างดี
เสาวรสยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม และมีโซเดียมต่ำ ช่วยทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติและเมื่อรับประทานพร้อมกับเมล็ดซึ่งมีไฟเบอร์จำนวนมากจะช่วยควบคุมระบบย่อยอาหาร และทำให้ลำไส้มีสุขภาพดี ป้องกันอาการท้องผูก และยังสามารถช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลส่วนเกินออกจากภายในหลอดเลือด ลดไขมันในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ เสาวรสจึงถูกจัดเป็นหนึ่งในสมุนไพรลดไขมันนั่นเอง
นอกจากนี้เสาวรสยังมีสรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ และรักษาอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
ข้อควรระวังในการรับประทาน: ไม่ควรเคี้ยวจนเมล็ดแตก เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับผลข้างเคียงจากสารไซยาไนต์ และด้วยความที่เสาวรสมีรสหวานเพราะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมาก ผู้ที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูงจึงควรรับประทานเสาวรสแค่พอประมาณ
9.เห็ดฟาง
เห็ดฟางเป็นอาหารในกลุ่มสีขาวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก อุดมด้วยโปรตีนคาร์โบไฮเดรต มีไขมันต่ำ พลังงานน้อย และยังมีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ธาตุซิลิเนียม และโพแทสเซียม ซึ่งธาตุซิลิเนียมเป็นสารต้านมะเร็ง ส่วนโพแทสเซียมมีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ มีการวิจัยมากมายที่พบว่า การบริโภคเห็ดเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเลือดและลดคอเลสเตอรอลได้ กลไกการลดไขมันอาจเกิดจากเส้นใยปริมาณสูงในเห็ดช่วยดูดซับ และขัดขวางการดูดซึมไขมันในทางเดินอาหาร
10.หอม
สารอัลลิซิน (allicin) ที่พบในหอมแดงช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่สร้างคอเลสเตอรอลในตับจึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิต และโรคหัวใจได้ หอมแดงยังมีธาตุเหล็กและทองแดงมากกว่าหอมหัวใหญ่ ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง บำรุงสายตา และยังมีสรรพคุณในด้านการดูแลผิว คือ ช่วยรักษาสิว ฝ้า และลดรอยสิวให้จางลงได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จากงานวิจัยของสมาคมต่อมไร้ท่อในซานดิเอโกพบว่า สารสกัดจากหอมหัวใหญ่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดคอเลสเตอรอลได้ และยังพบข้อมูลอื่นเพิ่มเติมว่า หอมหัวใหญ่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ช่วยในการสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด และป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้
สำหรับใครที่มีปัญหาความอ้วน หรือมีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารมันๆ ทอดๆ หรืออาหารที่มีไขมันสูง แนะนำให้บริโภคสมุนไพรลดไขมัน 10 ชนิดนี้เป็นประจำ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะตามมาภายหลัง และที่สำคัญควรออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ร่วมกับการรับประทานสมุนไพรลดไขมันที่แนะนำไปนี้ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากภาวะไขมันในเลือดสูงได้ไม่ยาก