กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

10 สมุนไพรลดไขมัน ลดคอเลสเตอรอล ที่คนรักสุขภาพห้ามพลาด!

เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
10 สมุนไพรลดไขมัน ลดคอเลสเตอรอล ที่คนรักสุขภาพห้ามพลาด!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • นอกจากการทานสมุนไพรแล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกสัดส่วนโภชนาการควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อลดไขมันได้ดีขึ้น
  • ไมยราบที่หลายคิดว่าเป็นวัชพืช แต่ความจริงแล้วมีสรรพคุณในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • กระเทียม หัวหอมที่มีกลิ่นแรง มีฤทธิ์ในการลดไขมันในเลือด
  • เสาวรส เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรลดไขมันที่ได้รับความนิยม แต่ก็ควรกินอย่างระมัดระวัง เพราะไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากเป็นผลไม้น้ำตาลสูง
  • ดูและเทียบราคาแพ็กเกจดูด-สลายไขมันได้ที่นี่

ไขมันที่สะสมในร่างกายเป็นศัตรูตัวร้ายที่นำไปสู่ปัญหาคอเลสเตอรอลสูง ทำให้เกิดโรคอ้วน และโรคอื่นๆ อีกมากมาย การรับประทานสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการลดไขมัน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แถมยังช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงยิ่งขึ้น มาดูกันเลยว่าสมุนไพรลดไขมันทั้ง 10 ชนิดที่เรานำมาฝาก มีอะไรบ้าง 

10 สมุนไพรลดไขมัน

1. กระเทียม

กระเทียมเป็นสมุนไพรลดไขมันที่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องเทศ มีกลิ่นฉุน จึงทำให้หลายคนไม่ค่อยชอบกระเทียมนัก แต่ใครจะรู้ว่าสมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณหลากหลายอย่างที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะคุณประโยชน์ในการลดไขมันในเลือด และยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคหัวใจ และโรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพราะเมื่อไขมันในเลือดลดน้อยลง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้ก็ลดลงไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาเป็นหนึ่งในพืชตระกูลถั่วที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลอรี่ต่ำ ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและกำจัดไขมันเลว (LDL) เช่นกัน แถมยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ป้องกันการเกิดตะคริว และช่วยบำรุงกระดูกและสายตาได้อย่างดี

3. มะเขือยาว

ผักที่นิยมนำมาเป็นเครื่องเคียงจิ้มน้ำพริกชนิดนี้ไม่ได้มีดีแค่ความอร่อยเท่านั้น แต่ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรรักษาโรค โดยจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่ามะเขือยาวช่วยลดไขมันและลดคอเลสเตอรอลในเลือด โดยจะยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลผ่านผนังลำไส้ ทำให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลน้อยลง รวมถึงช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ส่งผลให้คอเลสเตอรอลส่วนเกินถูกขจัดออกไปเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การกินมะเขือยาวควรปรุงโดยนำไปอบหรือเผา ควรหลีกเลี่ยงวิธีการทอด เพราะอาจดูดซับน้ำมันปริมาณมาก แทนที่จะช่วยลดไขมัน อาจกลายเป็นทำให้ร่างกายได้รับไขมันเพิ่มขึ้น 

4. เห็ดฟาง

เห็ดฟาง พืชสมุนไพรตระกูลเห็ดที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ไม่เพียงแต่ช่วยลดไขมันได้เท่านั้น แต่ยังช่วยบำรุงหัวใจ ป้องกันโรคหวัด ต้านมะเร็ง กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยลดการติดเชื้อได้ด้วย เห็ดฟางสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู แต่ควรหลีกเลี่ยงเมนูทอดหรือผัดที่มีน้ำมันเช่นกัน

5. หัวหอม

หัวหอม พืชสมุนไพรลดไขมันในกลุ่มเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง โดยไม่ว่าจะเป็นหอมแดงหรือหอมหัวใหญ่ ต่างก็มีสรรพคุณในการลดคอเลสเตอรอล สลายไขมัน แก้อาการท้องอืด แน่นท้อง และสามารถรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด และโรคเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยม แต่การใช้แทนวิธีรักษาทางการแพทย์อาจไม่ส่งผลดีนัก ทางที่ดีคุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และดูแลสุขภาพด้วยวิธีอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกสัดส่วนโภชนาการ ไม่สูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

6. กระเจี๊ยบแดง

สมุนไพรลดไขมันที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกายและลดไขมันเลวในเลือดให้น้อยลง แถมยังช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ทำให้หุ่นผอมเพรียวและสวยเป๊ะมากขึ้น นอกจากนี้ การกินกระเจี๊ยบแดงบ่อยๆ ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆ เช่นกัน เช่น ช่วยชะลอวัย ทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์ลง มีส่วนช่วยต้านการเกิดมะเร็ง ให้ความรู้สึกชุ่มคอ ช่วยคลายร้อนได้ดี โดยนิยมนำมาคั้นเป็นน้ำกระเจี๊ยบดื่มนั่นเอง

7. ดอกคำฝอย

เป็นพืชสมุนไพรที่มักนำมาบริโภคในรูปของใบชาพร้อมชงดื่ม สมุนไพรชนิดนี้โด่งดังในเรื่องการช่วยลดไขมันในเลือด และเป็นที่นิยมของคนที่ต้องการลดน้ำหนัก นั่นก็เพราะในดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิกที่มีฤทธิ์ช่วยสลายไขมันที่จับตัวเป็นก้อนให้แตกตัว แล้วขับออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ จึงช่วยให้ไขมันในร่างกายลดลงได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การดื่มชาดอกคำฝอยก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับการดื่มชาอื่นๆ คือไม่ควรดื่มในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

8. ไมยราบ

หลายคนคิดว่าไมยราบเป็นเพียงวัชพืชที่ควรกำจัดทิ้งเท่านั้น แต่ความจริงแล้วไมยราบเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะสรรพคุณในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ รักษาโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง และช่วยขับปัสสาวะ นิยมบริโภคโดยนำต้นไมยราบมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปต้ม จากนั้นนำน้ำที่ได้มาจิบคล้ายกับการดื่มชาเพื่อบำรุงร่างกาย 

9. เสาวรส

ผลไม้ชนิดนี้อุดมไปด้วยวิตามินซีและสารอัลบูมินที่ทำหน้าที่ช่วยลดไขมันในเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา และแก้อาการนอนไม่หลับ รวมไปถึงการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เสาวรสจึงเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรลดไขมันที่ได้รับความนิยม แต่ก็ควรกินอย่างระมัดระวัง โดยไม่ควรเคี้ยวให้เมล็ดสดแตก เพราะภายในเมล็ดเสาวรสมีสารไซยาไนต์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ และไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากเป็นหนึ่งในผลไม้น้ำตาลสูง

10. ขิง

สมุนไพรที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อนและขึ้นชื่อในเรื่องของการลดไขมัน สามารถกระตุ้นการสลายไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี จะกินแบบสดๆ หรือต้มน้ำดื่มเพื่อสุขภาพก็ได้ ซึ่งนอกจากประโยชน์ในการช่วยลดไขมันและลดน้ำหนักให้หุ่นสวยขึ้นแล้ว ขิงยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน ป้องกันการเกิดมะเร็ง บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

พืชผักสมุนไพรลดไขมันเหล่านี้เป็นวัตถุดิบใกล้ตัวที่หาง่าย และอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ในการบำรุงสุขภาพ โดยเฉพาะสรรพคุณในการลดไขมันและลดคอเลสเตอรอลในเลือด อย่างไรก็ตาม การหวังพึ่งสมุนไพรเหล่านี้เป็นวิธีลัด โดยไม่ออกกำลังกายและควบคุมอาหารก็อาจช่วยไม่ได้มากนัก และเพื่อความปลอดภัย ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้สมุนไพรลดไขมันใดๆ เพราะอาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่จนทำให้ยาไม่ได้ผลหรือเกิดอันตรายได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kae Inagaki, Hypolipidemic Effect of the Autoclaved Extract Prepared from Pea (Pisum sativum L.) Pods In Vivo and In Vitro. (https://www.jstage.jst.go.jp/article/jnsv/62/5/62_322/_pdf), 2016
A. Hosseini, A review on the effects of Allium sativum (Garlic) in metabolic syndrome (https://link.springer.com/article/10.1007/s40618-015-0313-8), 3 June 2015.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
อะไรที่ช่วยลด-เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายคุณได้
อะไรที่ช่วยลด-เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายคุณได้

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับรายชื่ออาหาร สารอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ และคุณรู้หรือไม่ว่าความเครียดและกาเฟอีนสามารถทำให้คอเลสเตอรอลของคุณเพิ่มขึ้นได้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม