ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยประโยชน์นานาชนิด เช่น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง เป็นต้น
เผยแพร่ครั้งแรก 11 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มนิยมนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการศึกษาค้นหาว่า มีพืชสมุนไพรชนิดใดที่น่าสนใจบ้าง ซึ่ง “กระเจี๊ยบแดง” ก็เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรเหล่านั้น ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์หลากหลายด้าน เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย

ทำความรู้จักกับกระเจี๊ยบแดง

  • กระเจี๊ยบแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa L. เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน และแถบประเทศในทวีปแอฟริกา
  • ลักษณะลำต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีสีม่วงอมแดง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะใบคล้ายรูปฝ่ามือมี 3 แฉก หรือ 5 แฉก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ความกว้างและยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร
  • ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกชมพู หรือเหลือง ก้านดอกสั้น มีกลีบประมาณ 8-12 กลีบ เมื่อดอกกระเจี๊ยบแดงเจริญเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร และผลจะมีปลายแหลม ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร
  • ผลของกระเจี๊ยบแดง ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล ตัวผลจะมีกลีบเลี้ยงสีแดงหนาชุ่มน้ำหุ้มเอาไว้

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง

ในกระเจี๊ยบแดง 100 กรัม เต็มไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สารสำคัญชนิดต่างๆ ที่ให้สรรพคุณ

กระเจี๊ยบแดงถือเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนดอก ส่วนต้น หรือส่วนใบ ล้วนแต่สามารถนำมาเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับทุกคนได้ 

กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกมีสารสีแดงจําพวกแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) จึงทําให้มีสีม่วงแดง นอกจากนี้ ยังมีกรดอินทรีย์ เช่น กรดแอสคอบิก (ascorbic acid) กรดซิตริก (citric acid) กรดมาลิก (malic acid) และกรดทาร์ทาริก (tartaric acid) ที่ทำให้กระเจี๊ยบแดงมีรสเปรี้ยว

กระเจี๊ยบแดงมีสารต่างๆ ดังที่กล่าวมา จึงทำให้กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์ขับปัสสาวะ ฤทธิ์ลดความดันโลหิตในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นต้น

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงถือเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนดอก ส่วนต้น หรือส่วนใบ ล้วนแต่สามารถนำมาเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับทุกคนได้

ตำรายาไทย: กลีบเลี้ยงมีรสเปรี้ยว แก้อาการขัดเบา แก้เสมหะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ รักษาไตพิการ ขับเมือกมันให้ลงสู่คูทวารหนัก ละลายไขมันในเลือด  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตำรายาโบราณ: ใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่าๆ ก็ได้ จนหมดน้ำยานั้น เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด

ตามคำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน) ใช้กลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแห้ง 3 กรัม บดเป็นผง ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว หรือประมาณ 300 มิลลิลิตร ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย  

ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียาสมุนไพร: ยาชงกระเจี๊ยบแดง ใช้รักษากลุ่มทางเดินปัสสาวะ

ข้อบ่งใช้                     ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา

วิธีใช้                          รับประทาน ครั้งละ 2 – 3 กรัม ชงน้ำร้อน 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อควรระวัง              ระบบทางเดินอาหาร(ท้องเสีย,ท้องผูก), กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อห้ามใช้                  ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากผลการศึกษา ในสัตว์ทดลองพบว่า ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ของอัณฑะและตัวอสุจิได
  • ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานานในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากผลการศึกษาในหนู (rat) พบว่าอาจทำให้ลูกหนูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าลง 
  • ส่วนที่ใช้ของกระเจี๊ยบแดง ได้จากส่วนกลีบเลี้ยง

อาการไม่พึงประสงค์         อาจมีอาการปวดมวนท้องได้

ไอเดียการกินกระเจี๊ยบแดงเพื่อสุขภาพ

สำหรับไอเดียการนำกระเจี๊ยบแดงมากินเพื่อสุขภาพ มีวิธีดังต่อไปนี้

1. ทำน้ำกระเจี๊ยบแดง

วิธีการใช้กระเจี๊ยบแดงที่ง่ายและยอดนิยมมากที่สุดคือ การทำน้ำกระเจี๊ยบแดง ให้เตรียมดอกกระเจี๊ยบแดงประมาณ 1 กำมือ และพุทราจีน 1 กำมือ นำมาล้างน้ำให้สะอาด และบีบเนื้อพุทราจีนให้แตก ใส่ลงไปในภาชนะ จากนั้นเติมน้ำเปล่า 2 ลิตร นำไปต้มให้เดือดสักพักแล้วยกลง กรองเอาเนื้อออกให้เหลือแต่น้ำ และให้ปุรงรสอย่างง่ายๆ ด้วยการเติมน้ำผึ้งเล็กน้อย เมื่อได้รสตามชอบใจแล้วก็สามารถนำมาดื่ม หรือเก็บใส่ขวดแช่ไว้ในตู้เย็นก็ได้

2. ทำแยมกระเจี๊ยบแดง

ใครที่ชอบกินขนมปังทาแยม กระเจี๊ยบแดงก็สามารถนำมาใช้ทำแยมได้เช่นกัน แถมยังมีประโยชน์มากกว่าแยมทั่วไปอีกด้วย วิธีการทำเพียงแค่นำดอกกระเจี๊ยบแดงมาแกะเอาเมล็ดออก แล้วต้มกับน้ำจนนุ่ม กรองเอาเฉพาะกากมาปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย ใส่หม้อตั้งไฟ ใส่ผงวุ้น และเคี่ยวจนเหนียวเป็นวุ้น มาใช้เป็นแยมทาขนมปังได้เลย หรือเก็บใส่ขวดแช่ไว้ในตู้เย็นก็ได้ 

3. ทำแกงส้มกระเจี๊ยบแดง

ลองมากินแกงส้มดอกกระเจี๊ยบแดงกันดูไหม รับรองว่า รสชาติของแกงส้มดอกกระเจี๊ยบแดงนั้นมีความอร่อยไม่แพ้กับเมนูอื่นๆ เลยทีเดียว แถมยังมากไปด้วยประโยชน์อีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมาแกงกับกุ้ง ดังนั้นใครที่ไม่รู้จะนำกระเจี๊ยบแดงไปทำเมนูอะไรดีก็ลองมาทำแกงส้มกินกันดูสิ รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

ข้อควรระวังการรับประทานกระเจี๊ยบแดง

สำหรับข้อควรระวังในการนำกระเจี๊ยบแดงมาใช้ดื่มคือ ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง ไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน และควรดื่มให้พอดี เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หากทำได้เช่นนี้ การดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงก็จะช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ที่ดีให้กับร่างกายได้อย่างแน่นอน

จะเห็นได้ว่ากระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมาก และสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายส่วน จึงเป็นพืชสมุนไพรที่ควรปลูกไว้ในบ้านอย่างแท้จริง


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, กระเจี๊ยบแดง(http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=1)
บัญชียาหลักแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข, บัญชียาจากสมุนไพร (http://kpo.moph.go.th/webkpo/tool/Thaimed2555.pdf)
สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข, สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (http://www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/82_1.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กระเจี๊ยบ (Roselle)
กระเจี๊ยบ (Roselle)

แนะนำสรรพคุณของกระเจี๊ยบ สมุนไพรรสเปรี้ยวหวานสดชื่น พร้อมไขคำตอบเรื่องการลดน้ำหนักด้วยกระเจี๊ยบว่าทำได้จริงหรือไม่

อ่านเพิ่ม