ชื่อท้องถิ่น : กระเจี๊ยบ , กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง) , ผักเก็งเค้ง , ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) , ส้มตะเลงเคลง (ตาก) , ส้มปู (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช
กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3 – 6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบขอบใบเรียบ บางครั้งมีหยักเว้า 3 หยัก ดอกสีชมพู ตรงกลางจะมีสีเข้มกว่าส่วนนอกของกลีบ เมื่อกลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้น มีสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดไว้ภายใน
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนที่ใช้เป็นยา : กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก
ช่วงเวลาที่เก็บยา : ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 – 4 เดือนครึ่ง
รสและสรรพคุณยาไทย : กลีบรองดอก กลับเลี้ยงและใบ มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ
วิธีใช้
ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป