กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฝ้าคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร มีกี่ชนิด ป้องกันได้ไหม รักษาฝ้าอย่างไร รวมทุกข้อมูลเกี่ยวกับฝ้า

ฝ้า ปัญหากวนใจที่ทำให้หลายคนขาดความมั่นใจ รักษาอย่างไรให้ถูกวิธี?
เผยแพร่ครั้งแรก 3 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ฝ้าคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร มีกี่ชนิด ป้องกันได้ไหม รักษาฝ้าอย่างไร รวมทุกข้อมูลเกี่ยวกับฝ้า

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฝ้า เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ชั้นผิวหนังทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับรังสียูวีติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • นอกจากแสงแดดแล้ว ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยน เช่น เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือกินยาคุมกำเนิด มีส่วนทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน
  • วิธีการป้องกันฝ้าง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดโดยตรง หมั่นทาครีมกันแดด และหลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือฮอร์โมนเพศโดยไม่จำเป็น
  • การรักษาฝ้าให้ได้ผลนั้น จะต้องเลือกวิธีให้เหมาะกับชนิดของฝ้า ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรักษา ซึ่งประกอบไปได้ การทายา การลอกผิวด้วยสารเคมี หรือการใช้เลเซอร์
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์

ฝ้า (Melasma) เป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่กวนใจใครหลายๆ คน ทำให้ใบหน้าไม่กระจ่างใส หรือทำให้ขาดความมั่นใจได้ และแม้ว่าจะดูแลผิวหน้าอย่างดีก็ยังมีโอกาสเกิดฝ้าได้ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณโหนกแก้ม แก้ม หน้าผาก หรือบริเวณรอบๆ คิ้ว หรือปาก 

ทำความรู้จักกับฝ้า

ฝ้า เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ชั้นผิวหนัง หรือเม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) ทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานผิดปกติส่วนใหญ่มาจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อรังสียูวี ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เม็ดสีเมลลานินนั้นมีหน้าที่กรองรังสียูวี เมื่อผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เมลานินก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดเป็นฝ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นสีดำอมน้ำตาล ขึ้นเป็นแถบ หรือปื้นบริเวณใบหน้า

นอกจากนี้ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนไป เช่น เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ตั้งครรภ์ กินยาคุมกำเนิด หรือใช้เครื่องสำอางบางชนิดที่มีน้ำหอม สี หรือฮอร์โมนผสมอยู่ ก็มีส่วนทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน

ทั้งนี้ส่วนใหญ่ปัญหาฝ้าจะเกิดกับผู้หญิงวัยกลางคนอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นฝ้ามากกว่าผู้ชายถึง 9 เท่า

ชนิดของฝ้า

ฝ้าที่ขึ้นบริเวณใบหน้าแบ่งเป็น 4 ชนิดหลักๆ คือ

  • ฝ้าตื้น เกิดจากความผิดปกติบริเวณชั้นหนังกำพร้า (ผิวชั้นนอก) มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาลเข้ม ขอบชัด มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็รักษาได้ง่ายเช่นกัน และใช้เวลารักษาไม่นานนัก
  • ฝ้าลึก เกิดบริเวณชั้นหนังแท้ ผื่นสีน้ำตาลผสมสีเทาเข้ม ขอบไม่ชัดเจน เนื่องจากอยู่ในระดับที่ลึกมาก การรักษาจึงค่อนข้างยาก
  • ฝ้าผสม คือมีทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึกเกิดขึ้นที่ผิวหน้า เป็นชนิดที่พบมากที่สุดในผู้ที่ประสบปัญหาฝ้า
  • ฝ้าที่ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นฝ้าชนิดใด มักพบในผู้ที่สีผิวเข้มมาก เช่น ชาวแอฟริกัน

นอกจาก 4 ชนิดหลักๆ นี้แล้ว ฝ้ายังสามารถแบ่งตามสาเหตุการเกิดได้ 2 ลักษณะคือ

  • ฝ้าแดด เกิดจากรังสียูวีเอและยูวีบีจากแสงแดด หลอดไฟ แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เป็นต้น
  • ฝ้าเลือด เกิดจากความผิดปกติของเลือดลม และฮอร์โมน เกิดเป็นลักษณะผิวแดงง่ายเมื่อโดนความร้อน หรือแสงแดด

วิธีการป้องกันฝ้า

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดด 

รังสียูวีจากแสงแดดเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดฝ้า การหลีกเลี่ยงแสงแดดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฝ้า แต่หากหลีกเลี่ยงได้ยากก็ไม่ควรสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรสวมหมวก กางร่ม หรือสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดก่อนออกแดด จะช่วยลดความรุนแรงได้ระดับหนึ่ง

2. ทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ 

แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสกับแสงแดดเป็นประจำ แต่หากสัมผัสกับหลอดไฟ แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอสมาร์ทโฟนอย่างสม่ำเสมอ ก็มีโอกาสเกิดฝ้าได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวด้วย

ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และต้องเป็นชนิด PA+++ โดยทาอย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกแดด และทาวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า และเที่ยง (ก่อนทารอบที่ 2 ควรล้างหน้าด้วย)

3. หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือฮอร์โมนเพศโดยไม่จำเป็น 

เนื่องจากยา หรือฮอร์โมนเพศบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้เป็นฝ้าได้ เช่น ยากันชักกลุ่มฟีไนโทอีน และกลุ่มยาที่มีปฏิกิริยาไวต่อแสง 

แต่หากจำเป็นต้องใช้ ควรสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะอาจมียาชนิดอื่นที่ทดแทนกันได้โดยไม่มีผลข้างเคียง

4. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศ 

เนื่องจากผลข้างเคียงของฮอร์โมนอาจทำให้เกิดฝ้าได้ และถ้าหากใช้เครื่องสำอางแล้วพบว่า มีรอยดำขึ้นบริเวณใบหน้า ควรหยุดใช้เครื่องสำอางนั้นทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้หากสงสัยว่า แพ้สารเคมีชนิดใด สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อทดสอบอาการแพ้ได้เช่นกัน

5. การขัดผิวหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี 

เป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เพราะก่อให้เกิดการระคายเคืองค่อนข้างสูง และหลังทำต้องระมัดระวังเรื่องการสัมผัสกับแสงแดดมากกว่าปกติ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างมาก

วิธีการรักษาฝ้า

การรักษาฝ้ามีหลากหลายวิธี ซึ่งการจะรักษาฝ้าให้หายได้นั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าฝ้าที่เกิดขึ้นเป็นฝ้าชนิดใด มีสาเหตุมาจากอะไร จะได้รักษาได้ตรงจุด 

โดยวิธีการรักษาฝ้าในทางการแพทย์มี 2 วิธีหลักๆ ดังนี้

1. การทายารักษา 

วิธีนี้จะได้ผลดีในฝ้าตื้น เมื่อทายาประมาณ 2 เดือน สีของฝ้าจะจางลง และควรใช้ยาทาต่อเนื่องประมาณ 6 เดือน จะให้ผลชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวอย่างยาที่ใช้รักษาฝ้า เช่น

  • ไฮโดรควิโนน
  • กรดอาซีลาอิก
  • กรดโคจิก
  • อนุพันธุ์ของวิตามินเอ

ยาทาเหล่านี้จะช่วยให้ฝ้าจางลง และทำให้หน้าดูกระจ่างใสขึ้นได้ แต่เป็นยาที่มีผลข้างเคียง เช่น ผิวระคายเคือง แดง แสบ หรือลอกเป็นขุยได้ จึงไม่ควรซื้อมาใช้ด้วยตัวเอง และควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังอย่างใกล้ชิด

2. การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์

ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์มากมายที่ช่วยในการรักษาฝ้า ทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสขึ้นได้ เช่น

2.1 การลอกผิวด้วยสารเคมีในระดับตื้น 

เหมาะกับฝ้าตื้น โดยใช้กรดทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้าที่มีเม็ดสีมากกว่าปกติหลุดลอกออกเร็วขึ้น ทำให้ฝ้าบริเวณนั้นจางลง 

อย่างไรก็ตาม ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอาจทำให้ผิวไหม้ หรือเป็นแผลเป็นได้

2.2 การลอกผิวด้วยสารเคมีในระดับลึก 

เหมาะกับฝ้าลึก เป็นการใช้กรดในการลอกฝ้าเช่นกัน แต่จะลอกในระดับที่ลึกกว่า จึงต้องใช้ความระมัดระวังสูงและความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ 

การลอกผิวด้วยสารเคมีในระดับลึกอาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น รอยดำ แผลเป็น การติดเชื้อ หรือบวมแดง หากหลังจากลอกผิวแล้วพบความผิดปกติใดๆ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

2.3 เลเซอร์หน้า 

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยจะใช้เลเซอร์กลุ่ม Q-switched Nd: YAG laser หรือคลื่นแสง IPL (Intense pulsed light) ซึ่งมีส่วนช่วยให้ฝ้าจางลงเร็วกว่าใช้ยาทาเพียงอย่างเดียว และยังช่วยลดผลข้างเคียงในการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน 

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงผลการรักษาที่ชัดเจน เพราะบางรายอาจหายขาด แต่บางรายอาจให้ผลได้ไม่ดีนัก จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ

2.4 การทำไอออนโต (Ionto) 

เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าระดับอ่อน ผลักยาหรือวิตามินให้ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้ฝ้าจางลงได้

2.5 การผลัดผิวด้วย M.D. (Microdermabrasion) 

เป็นการขจัดเซลล์ชั้นหนังกำพร้าให้หลุดเร็วขึ้น เหมาะกับฝ้าแบบตื้น ทำให้รอยดำจากฝ้าจางลง

ทั้งนี้ หลังจากรักษาฝ้าจนหายแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง และจำเป็นต้องทาครีมบำรุง และครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากยังปฏิบัติเช่นเดิม ก็มีโอกาสเกิดฝ้าได้อีกเช่นกัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลยันฮี, การรักษาฝ้า, (https://th.yanhee.net/หัตถการ/การรักษาฝ้า/), 3 มิถุนายน 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)