กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฟลาโวนอยด์

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ฟลาโวนอยด์

ฟลาโวนอยด์

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับฟลาโวนอยด์ รู้หรือไม่ว่าสารพฤกษเคมีนี้มีความสำคัญต่อร่างกายคุณอย่างไร และมาทำความรู้จักกับแคเทคิน เรสเวอราทรอล โพรแอนโทไซยานิดินส์ และ แอนโทไซยานิดินส์ รวมทั้งคำแนะนำสำหรับการรับประทานเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

  • เป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ พบในเม็ดสีชนิดละลายในน้ำของผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช ใบไม้ และเปลือกไม้ (ฟลาโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจริงในร่างกายของคนเราคือ ไบโอฟลาโวนอยด์) ฟลาโวนอยด์มีอยู่มากมายหลายชนิด และพืชแต่ละชนิดจะมีฟลาโวนอยด์ แต่ละประเภทในความเข้มข้นที่ต่างกันไป แท้จริงแล้ว มีการศึกษาหลายชิ้น พบว่าฟลาโวนอยด์บางชนิดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่าวิตามินซีหรืออีถึงห้าสิบเท่า และฟลาโวนอยด์ในองุ่นแดงมีความสามารถในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันแอลดีแอล (สัมพันธ์กับการอุดตันของเส้นเลือดแดงและการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด) มากกว่าวิตามินอีถึงกว่าหนึ่งพันเท่า! ต่อไปนี้คือรายชื่อบางส่วนของฟลาโวนอยด์ที่คุณควรทำความรู้จักบ้าง เพราะฟลาโวนอยด์เหล่านี้มีผลต่อสุขภาพของคุณมากมาย
  • แคเทคิน (Catechin): เป็นหนึ่งในสมาชิกของตระกูลพอลิฟีนอล ฟลาโวนอยด์ ที่มีคุณสมบัติในยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียกลุ่มสแตฟไฟโลคอกคัส (Staphylococcus) ซึ่งดื้อต่อยาหลายชนิด การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แคเทคินยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของผู้ที่รับประทานอาหารคอเลสเตอรอลสูง และยังช่วยป้องกันฟันผุและโรคเหงือกได้อีกด้วย ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาตร์ที่น่าสนใจพบว่า แคเทคินอาจช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด ช่วยป้องกันการทำลายของดีเอ็นเอ และชะลอการเกิดของโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว

คำแนะนำสำหรับการรับประทานเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร:

  • แคเทคินพบมากในชาเขียว และยังพบได้ในองุ่น น้ำองุ่น และไวน์ที่ทำจากองุ่น การรับประทานแคเทคินมากเกินไปอาจเป็นพิษได้ อย่างไรก็ตาม ผมพบว่า การดื่มชาเขียววันละ 1-2 ถ้วยนั้นปลอดภัยและมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง
  • ข้อควรระวัง: ในหญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร และผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรจำกัดการดื่มชาเขียวให้ไม่เกิน 2 ถ้วยต่อวัน (มีชาเขียวอัดเม็ดแบบไร้กาเฟอีนวางขายเช่นกัน)
  • เรสเวอราทรอล (Resveratrol): สมาชิกสำคัญอีกหนึ่งจากตระกูล พอลิฟีนอล-ฟลาโวนอยด์ มีการศึกษาพบว่า มันช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบ โดยการยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือดและไขมันแอลดีแอลซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ไดี และยังพบอีกว่า มันช่วยยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็ง และสามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งร้ายให้กลับคืนเป็นเซลล์ปกติได้

คำแนะสำหรับการรับประทานเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร:

  • เรสเวอราทรอลเป็นสารที่พบในผิวและเมล็ดขององุ่น เช่นเดียวกับแคเทคินและแอนโทไซยานิดินส์ ซึ่งล้วนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้องุ่นแดงมีสีม่วงเข้ม และยังอาจเป็นสารที่อธิบายปรากฎการณ์ “ปฏิทรรศน์ฝรั่งเศส” (French Paradox) ได้อีกด้วย ปรากฎการณ์นี้หมายถึง การที่ชาวฝรั่งเศลซึ่งรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูงมากเป็นประจำ แต่กลับเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีอัตราการเกิดโรคหัวใจต่ำที่สุด นักวิจัยเชื่อว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นผลมาจากการดื่มไวน์แดงพร้อมอาหารเป็นประจำ หากคุณไม่ใช่นักดื่ม ไม่ต้องการผลเสียจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่ยังอยากได้ผลดีต่อสุขภาพจากเรสเวอราทรอล คุณก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ น้ำองุ่นแดงมีเรสเวอราทอลเช่นกัน แม้จะในปริมาณที่น้อยกว่า และเรสเวอราทรอลในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็มีวางขาย ผมแนะนำให้รับประทานเรสเวอราทรอลขนาด 1,000 มคก. หนึ่งแคปซูล วันละครั้ง หรือพอลิฟีนอลขนาด 30 มก. วันละสองแคปซูล
  • โพรแอนโทไซยานิดินส์ และ แอนโทไซยานิดินส์ (Proanthocyanidins และ Anthocyanidins-PCOs): มีอีกชื่อหนึ่งว่า โอลิโกเมอริก โพรแอนโทไซยานิดินส์ (OPCs) ฟลาโวนอยด์เหล่านี้ (ตามหลักการจริงๆ แล้วต้องเรียกว่า “ฟลาโวนอล”) เป็นผู้คุ้มกันผนังหลอดเลือดที่รงพลัง และยังโดดเด่นในการเชื่อมโยงและสร้างความแข็งแรงให้เส้นสายโปรตีนคอลลาเจน โดยเฉพาะคอลลาเจนบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ด้วยเหตุผลดังกล่าว PCOs จึงช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงต่อมและอวัยวะทั่วร่างกาย (ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและรักษาโรค) ช่วยรักษาเส้นเลือดฝอยที่เปราะแตกง่าย เช่น อาการฟกช้ำ เส้นเลือดขอดบริเวณขาและริดสีดวงทวาร และยังอาจมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคกระดูกพรุน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีประโยชน์สำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่ชอบออกกำลังกาย เพราะคุณสมบัติการละลายได้ดีในน้ำส่งผลให้ PCOs ช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในของเหลวรอบเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งเกิดจากการออกกำลังกายอย่างหักโหมได้เป็นอย่างดี

คำแนะนำสำหรับการรับประทานเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร:

PCOs หรือ OPCs (คุณเรียกมะละกอ ผมเรียกบักหุ่ง เรียกอย่างไรก็ได้ความหมายไม่ต่างกัน) ส่วนใหญ่สกัดได้จากเมล็ดองุ่นหรือเปลือกสน พิคโนจีนอล (Pycnogenol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหนึ่งในไม่กี่ตัวที่ผ่านระบบกั้นระหว่างเส้นเลือดกับสมองไปได้ ดังนั้น มันจึงสามารถช่วยปกป้องสมองและเนื้อเยื่อประสาทจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน เป็นคุณสมบัติที่เหมือนกันกับสารสกัดจากเปลือกสน และพิคโนจีนอลก็กลายมาเป็นชื่อทางการค้าของฟลาโวนอยด์และสารอื่นที่สกัดจากเปลือกสน ซึ่งมีโพรแอนโทไซยานิดินส์ประกอบอยู่ถึงร้อยละ 50-60 ฟลาโวนอยด์เหล่านี้พบได้ในผลไม้และผักอื่นๆ เช่นกัน แต่ปัญหาก็คือ เปลือกไม้ ก้าน ใบ และผิวนอกของผลไม้ ซึ่งเป็นส่วนที่มีสารเหล่านี้สูง แต่มักเป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่ไม่รับประทานและโยนทิ้งไป จึงนับเป็นโชคดีที่มีสารเหล่านี้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวางขาย ผมแนะนำให้รับประทานขนาด 30-100 มก. สามเม็ด ระหว่างมื้ออาหาร หากเป็นชนิดสกัดจากเมล็ดองุ่นหรือผิวองุ่นจะดีมาก (ใช้ขนาดยาต่ำกว่านี้ได้ หากคุณอายุไม่เกิน 65 ปีหรือมีภูมิคุ้นกันบกพร่อง)

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin P: How Flavonoids Benefit Your Health. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/vitamin-p-how-flavonoids-benefit-your-health-4165402)
Flavonoids: The secret to health benefits of drinking black and green tea?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/brewing-evidence-for-teas-heart-benefits)
Where do health benefits of flavonoids come from? Insights from flavonoid targets and their evolutionary history. ScienceDirect. (https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0006291X1300661X)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป