แมกนีเซียม (Magnesium) คือ แร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย มีบทบาทหน้าที่สำคัญหลายอย่าง
ในร่างกายมีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 20 – 25 กรัม โดยอยู่ในโครงสร้างกระดูกประมาณ 70% และอีก 30% พบในเนื้อเยื่อต่างๆ หรือไหลเวียนในกระแสเลือด
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โดยปกติเรารับแมกนีเซียมเข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหาร แต่ในอาหารทั่วไปมีแมกนีเซียมอยู่ปริมาณน้อย ทำให้หลายๆ คนมีภาวะขาดแมกนีเซียมได้
แมกนีเซียมสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?
- เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างกระดูกและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
- เป็นตัวช่วยควบคุมสมดุลแคลเซียมในกระดูกและในเลือด และป้องกันไม่ให้แคลเซียมเกาะตามเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ
- จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณประสาทและควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ
- ช่วยควบคุมการส่งกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า เครียด และปวดศีรษะไมเกรนได้
- ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ ช่วยในการทำงานของเอนไซม์เผาผลาญสารอาหารและเอนไซม์ที่สังเคราะห์โปรตีน
- มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของวิตามิน บี ซี และ อี
- ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายและคลายความหนาว เมื่ออยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นความต้องการแมกนีเซียมจะเพิ่มขึ้น
- ช่วยในการผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด
- ช่วยลดความดันโลหิต และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด จึงป้องกันความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองได้
- ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นปกติ จึงช่วยลดอาการตะคริวได้
- มีส่วนควบคุมสมดุลกรด-เบสในร่างกาย
หากร่างกายขาดแมกนีเซียมจะเป็นอย่างไร?
ปริมาณแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการ คือ 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่โดยทั่วไปเราได้รับแมกนีเซียมจากอาหารเพียงวันละ 150-300 มิลลิกรัมเท่านั้น
การขาดแมกนีเซียมต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทั้งในระบบประสาท การทำงานของกล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และกระดูก ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะต่างๆ เช่น
- การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งค้างและเป็นตะคริวบ่อย
- การย่อยอาหารและการเผาผลาญผิดปกติ ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน
- การสังเคราะห์โปรตีนในร่างกายลดลงรวมถึงการสร้างฮอร์โมนเพศต่ำลงด้วย
- เกิดความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้มีอาการซึม ปวดศีรษะ และประสาทรับความเจ็บปวดไวกว่าปกติ
- ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง
- กระดูกพรุน หรือเปราะ กระดูกอ่อนไม่แข็งแรง และรับน้ำหนักไม่ได้
- ปริมาณแมกนีเซียมและแคลเซียมในร่างกายจะสมดุลกัน ดังนั้นการขาดแมกนีเซียมจึงอาจทำให้มีภาวะแคลเซียมต่ำด้วย
สาเหตุที่ร่างกายขาดแมกนีเซียม
- รับประทานแมกนีเซียมไม่เพียงพอ
- มีความเครียดเรื้อรัง ทำให้แมกนีเซียมถูกใช้ไปมาก
- รับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น น้ำอัดลม ทำให้ไปขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียม
- มีการขับแมกนีเซียมออกทางปัสสาวะมาก เช่น ในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก รับประทานยาขับปัสสาวะ หรือได้รับสังกะสีมาก
- มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มี aldosterone สูง ทำให้มีการขับแมกนีเซียมออกมาก
- ร่างกายมีความผิดปกติอื่นๆ เช่น เป็นโรคเบาหวาน ขาดสารอาหาร มีอาการชัก
เรารับแมกนีเซียมได้จากไหน?
เราสามารถรับแมกนีเซียมได้ในอาหาร เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว อัลมอนด์ กล้วย ผักใบเขียว นม และเนื้อสัตว์ ซึ่งถือเป็นแหล่งแมกนีเซียมในธรรมชาติ แต่สำหรับผู้ที่ได้รับแมกนีเซียมไม่เพียงพอ อาจจำเป็นต้องรับประทานแมกนีเซียมเสริม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่หาซื้อได้จะอยู่ในรูป แมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งเป็นยาเม็ดขนาด 250 มิลลิกรัม/เม็ด สำหรับรับประทานวันละ 4 เวลา หรือ แมกนีเซียมซิเตรท ซึ่งมีทั้งแบบน้ำและเม็ด รับประทานวันละ 400 มิลลิกรัม
การรับประทานแมกนีเซียมเสริม จะช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ลดอาการชาตามปลายประสาท และป้องกันการเกิดตะคริวได้
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ข้อควรระวังในการรับประทานแมกนีเซียมเสริม
- หากต้องการรับประทานแมกนีเซียมเสริมเป็นประจำ ควรเลือกรับประทานแมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่ระคายเคืองทางเดินอาหาร และไม่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง
- ไม่ควรรับประทานแมกนีเซียมเสริมหลังอาหารทันที เพราะจะไปลดกรดในกระเพาะอาหารได้
- ควรควบคุมปริมาณ แคลเซียม : แมกนีเซียม ที่ได้รับให้สมดุล คือ ประมาณ 2 : 1 เพราะการรับประทานแคลเซียมมากเกินไปจะไปขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียมได้
ใครบ้างควรรับประทานแมกนีเซียมเสริม?
- ผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียม เช่น อดอาหารเป็นเวลานาน
- ผู้ที่มีความเครียดสูง และเป็นไมเกรน
- ผู้ที่เป็นตะคริว หรือชาตามปลายประสาทบ่อยๆ
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลมเป็นประจำ
- ผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ
- ผู้สูงอายุ ซึ่งเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและไขข้อเสื่อม
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคนิ่วไต
แม้แมกนีเซียมจะเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน แต่ควรศึกษาให้ดีก่อนรับประทานเพื่อให้สามารถรับประทานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้สูอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับประทาน
นอกจากนี้ในปัจจุบันมีโรงพยาบาลหลายแห่งที่ให้บริการตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย วิธีการนี้อาจช่วยให้คุณสามารถทราบได้ว่า "ตนเองขาดวิตามิน หรือแร่ธาตุชนิดใด หรือไม่" และจำเป็นต้องรับประทานเสริมมาก-น้อยแค่ไหน หรือลดการรับประทานลงมาก-น้อยแค่ไหน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจวิตามินและแร่ธาตุ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android