น้ำเต้า

สายพันธุ์ของน้ำเต้า คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ และข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
น้ำเต้า

น้ำเต้ามีชื่อที่ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Lagenaria siceraria (Mol.) Standl. เป็นพืชจำพวกเถาล้มลุกอยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae เช่นเดียวกับฟักและฟักทอง มีขนอ่อนสีขาวปกคลุมอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกับใบ เปลือกแข็งผิวเรียบ ตรงกลางมีไส้ และมีเมล็ดเรียงอยู่ข้างใน เนื้อนุ่มชุ่มน้ำ มีรสชาติขมอ่อนๆ นิยมใช้ผลอ่อนของน้ำเต้ามาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดน้ำมัน และต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้น้ำเต้ายังมีสรรพคุณทางยาหลายอย่างอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียนนั้นเรียกกันว่า "น้ำเต้าพื้นบ้าน" นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ อีกชนิดมีลักษณะผลคล้ายกับน้ำเต้าพื้นบ้าน แต่เนื้อต้น และใบมีรสขม นิยมมาใช้ทำเป็นยา เรียกว่า "น้ำเต้าขม" หรือถ้าหากผลรียาวเหมือนงาช้างจะเรียกว่า "น้ำเต้างาช้าง"

คุณค่าทางโภชนาการของผลน้ำเต้าอ่อน

น้ำเต้า 100 กรัม ให้พลังงาน 10 แคลอรี มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

ที่มา: ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม กองโภชนาการ กรมอนามัย

สรรพคุณของน้ำเต้า

ส่วนต่างๆ ของน้ำเต้ามีสรรพคุณดังนี้

  • ใบ มีรสเย็น โขลกคั้นน้ำ ทาแก้ฟกช้ำบวม แก้โรคผิวหนัง แก้เริม งูสวัด พุพอง ดับพิษไข้ พิษอักเสบ ปรุงเป็นยาเขียว แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ วิธีใช้คือนำใบแห้งประมาณ 1 กำมือนำมาชงกับน้ำร้อนเป็นชา ดื่มแทนน้ำตลอดวัน แต่ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 7 วันเนื่องจากใบมีรสเย็น อาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงจนทำให้เสียสมดุลร่างกายได้
  • ราก แพทย์แผนไทยจะใช้น้ำเต้าขม เป็นยาแก้ดีแห้ง (บำรุงน้ำดี) ขับน้ำดีให้ตกลำไส้ และช่วยเจริญอาหาร
  • เนื้อในผล นำมาประกอบอาหาร มีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมโรคเบาหวาน นอกจากนี้งานวิจัยที่ประเทศอินเดียยังพบว่า สารสกัดจากผลน้ำเต้าสามารถยับยั้งการเพิ่มปริมาณของคอลเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein: LDL) ในเลือดได้ มากไปกว่านั้น สารสกัดชนิดนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาณของไขมันชนิดดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ในหนูทดลองได้อีกด้วย
  • เมล็ด รสเย็นเมา ถ่ายพยาธิ แก้บวมน้ำ หรือใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการบวมน้ำตามร่างกายก็ได้เช่นกัน

ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำเต้า

แม้น้ำเต้าจะมีสรรพคุณมากมาย แต่มีข้อควรระวังเช่นกัน ดังนี้

  • การรับประทานผลน้ำเต้าสุกจะทำให้อาเจียน มีอาการปวดท้อง ท้องเดิน จึงให้ใช้ผลอ่อนเป็นยาแทน
  • การรับประทานผลน้ำเต้าเป็นเวลานาน อาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลง ดังนั้นควรรับประทานอาหารในครบทั้ง 5 หมู่ ในอัตราส่วน ที่เหมาะสมเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้สมดุล

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “น้ำเต้า”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 113-114.
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “น้ำเต้า (Nam Tao)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 157.
หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 5. “Bottle gourd”. (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)