ผักแว่น (Water Clover)

สรรพคุณ วิธีการกิน และคุณประโยชน์ของผักแว่น ไขข้อสงสัย ผักแว่นแก้ว ผักแว่นน้ำ ผักแว่นบกแตกต่างกันอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผักแว่น (Water Clover)

ผักแว่น พบได้ทั่วไปในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น จัดเป็นพืชในตระกูลของเฟิร์นชนิดหนึ่ง มักพบบริเวณริมน้ำหรือในพื้นดินที่มีน้ำขังแต่ไม่ลึกมากนัก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายรำ รสจืด มีคุณค่าทางอาหารมากมาย จึงมักนิยมนำมาประกอบอาหาร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marsilea crenata Presl

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อวงศ์            MARSILEACEAE

ชื่ออังกฤษ         Water clover, Clover fern

ชื่อท้องถิ่น         ผักแว่นน้ำ ผักลิ้นปี่ หนูเต๊าะ

หมายเหตุ ผักแว่นที่กล่าวถึงในบทความนี้ คือชนิดเดียวกับผักแว่นน้ำ แต่เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับบัวบก ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Centella asiatica (L.) Urb. และเป็นพรรณไม้คนละชนิดกับผักแว่นแก้ว ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocotyle umbellata L. โดยบัวบกและผักแว่นแก้วจัดอยู่ในวงศ์ UMBELLIFEREAE (APIACEAE)

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ของผักแว่น

ผักแว่นเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กอายุ 3-5 ปี ลำต้นทอดเลี้อยชูยอดขึ้นบน ใบเป็นใบประกอบมีรูปร่างคล้ายกังหันหรือใบพัด 4 ใบ มีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8-1.9 เซนติเมตร ผิวและขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย โคนใบสอบ เมื่อยังอ่อนใบจะเป็นสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ขึ้น มีก้านใบยาวประมาณ 4.5-15 เซนติเมตร มีสปอร์สีขาวรูปทรงรีคล้ายเมล็ดถั่วเขียวอยู่เป็นจำนวนมากภายในบริเวณโคนก้านใบ เมื่อยังอ่อนอยู่สปอร์นี้จะมีสีขาว แต่เมื่อแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ยาวถึง 20 เซนติเมตร ดอกย่อย 1-5 ดอก อาจมีได้ถึง 8 ดอก กลีบเลี้ยงรูปใบหอก กว้าง 0.5-2 มิลลิเมตร ยาว 2-6 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปช้อนกึ่งขอบขนานถึงรูปใบหอก สีเหลือง ยาว 3.5-10 มิลลิเมตร ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว กว้าง 2-4 มิลลิเมตร ยาว 9-20 มิลลิเมตร มีขนละเอียดแตกตามยาวของฝัก เมล็ดมีช่องละ 5-11 เมล็ด

ผักแว่น ผักแว่นแก้ว บัวบก แตกต่างกันอย่างไร?

ใบของผักแว่น เป็นใบประกอบมีรูปร่างคล้ายกังหันหรือใบพัด มีอยู่ 4 ใบ ขอบใบไม่มีหยัก ส่วนใบของบัวบก หรือผักแว่นบก เป็นใบเดี่ยว มีรูปร่างคล้ายไตคือเว้าตรงกลาง ขอบใบหยัก ผิวด้านบนเรียบและเป็นมัน ส่วนใบของผักแว่นแก้ว เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะกลม ไม่มีเว้าตรงกลาง ขอบเป็นหยักลึกกว่าใบบัวบก แต่ผิวเรียบและเป็นมันเช่นเดียวกับใบบัวบก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางโภชนาการของผักแว่น ต่อ 100 กรัม 

ให้พลังงาน 18 แคลอรี

ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สรรพคุณของผักแว่น

ต้นและใบของผักแว่น มีสรรพคุณทางยามากมาย โดยมีวิธีทำดังนี้

  • ตามศาสตร์แพทย์แผนไทย ผักแว่น เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า นิยมนำทั้งต้นมาตากแห้งแล้วบดเป็นผง ผสมในน้ำยาหอมแล้วละลายในน้ำร้อน ค่อยๆ จิบหลังมีอาการวิงเวียน หรือคลื่นไส้อาเจียน
  • ผักแว่นทั้งต้น มีสรรพคุณขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย และอาการเริ่มปวดบิดในท้อง โดยนำทั้งต้น ต้มในน้ำเดือด ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน
  • ผักแว่นมีรสจืดเย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย ระงับอาการร้อนใน แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ โดยนำทั้งต้น ต้มในน้ำเดือด ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 วัน
  • แพทย์พื้นบ้านล้านนา ใช้ผักแว่นทั้งต้นผสมกับใบธูปฤาษีทุบพอแตก ใช้แช่น้ำที่มีหอยขมเป็นๆ อยู่ประมาณ 2-3 นาที นำมาดื่มเป็นยาแก้ไข้ และอาการผิดสำแดงได้
  • ใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ นำมาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาใช้ทาบริเวณแผล ช่วยรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยในการสมานแผล และลดการอักเสบ

การนำผักแว่นปรุงอาหาร

ใบอ่อน ยอดอ่อน และเถาอ่อนของผักแว่นใช้รับประทานเป็นผักแนมได้ และสามารถใช้เป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่างๆ หรือนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ทำแกงจืด แกงอ่อม ไข่เจียว เป็นต้น ในภาคใต้นิยมนำยอดอ่อนมาแกงร่วมกับหอมแดง กะปิ กระเทียม

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการรับประทานผักแว่น

ตามตำนานหรือพิธีกรรมทางศาสนาของชาวเหนือมีความเชื่อว่า หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผักแว่น เนื่องจากผักแว่นมีลักษะของลำต้นเป็นเถาเครือ โดยเชื่อว่าเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้ไปพันคอของเด็กทารกในท้องได้ ทำให้คลอดยาก หรือมีอาการปวดท้องก่อนคลอดนาน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามความเชื่อดังกล่าว


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย, 2540.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ผักพื้นบ้าน, 2540.
Smitinand T, Larsen K. Flora of Thailand.1970

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป