ถั่วฝักยาว (Yardlong Bean) เป็นพืชที่นิยมนำมาประกอบอาหาร และรับประทานเป็นเครื่องเคียงแบบดิบๆ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะแคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินซี และประโยชน์อื่นๆอีกมายมาย ฉะนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วชนิดนี้กัน
ทำความรู้จักถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว (Yardlong Bean) เป็นไม้เถาเลื้อย ฝักยาว นิยมนำมารับประทานทั้งแบบผักสดและแบบสุก มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และประเทศจีน จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งในประเทศไทย เพราะนอกจากจะปลูกง่าย ราคาดีแล้ว ยังมีประโยชน์หลากหลายอีกด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณค่าทางโภชนาการ
รับประทานปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี มีคุณค่าทางโภชนาการโดยหลักๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต 8.35 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม แคลเซียม 50 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 240 มิลลิกรัม โฟเลต 62 ไมโครกรัม วิตามินซี 18.8 มิลลิกรัม
สรรพคุณของถั่วฝักยาว
- ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ใยอาหารในถั่ว ช่วยดูดซึมน้ำตาลจากอาหารไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดในเวลาอันรวดเร็ว จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงจนเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่มีแคลอรี่และน้ำตาลต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี
- ป้องกันโรคกระดูกพรุน เนื่องจากมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส แร่ธาตุที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง การรับประทานเป็นประจำในผู้สูงอายุ จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้เป็นอย่่างดี
- เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร ใยอาหารภายในจะช่วยให้ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคท้องผูก และมะเร็งลำไส้อีกด้วย
- ป้องกันโรคมะเร็ง ผลการศึกษาวิจัยระบุว่า ผู้ที่รับประทานเป็นประจำ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้มากถึง 30% เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยให้นอนหลับสบาย เนื่องจากอุดมด้วยแมกนีเซียมสูง ช่วยบรรเทาอาการนอนหลับได้ เพราะหากร่างกายขาดแมกนีเซียม ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคนอนไม่หลับ
- ป้องกันภาวะทารกพิการแต่กำเนิด สตรีมีครรภ์ จำเป็นต้องได้รับโฟเลตมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันภาวะทารกพิการแต่กำเนิด ซึ่งถั่วฝักยาว เป็นอาหารที่มีโฟเลตสูง และมีแคลอรี่ต่ำ สามารถรับประทานได้มากเท่าที่ต้องการ แต่ก็ต้องไปตรวจครรภ์ และตรวจสุขภาพกับแพทย์ด้วย
- ช่วยบำรุงดวงตา งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า ไทอะมีนในถั่วชนิดนี้ ช่วยป้องกันปัญหาด้านสายตา เช่น โรคต้อกระจก และโรคต้อหินได้ และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อตามากขึ้นอีกด้วย
โดยทางเภสัชกรรมแผนไทย ยังไม่พบเจอการใช้เป็นยาสมุนไพรจากถั่วฝักยาวมากนัก ส่วนมากมักนิยมนำไปรับประทานทำเป็นอาหารเสียมากกว่า ทำให้การรับประทานเป็นยาสมุนไพรไม่เหมาะสมนัก
เมนูสุขภาพจากถั่วฝักยาว
ถั่วชนิดนี้สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น
- หมูบดถั่วฝักยาว ใส่หมูบด ซอสถั่วเหลือง ขิง ไวน์ขาว และพริกไทยลงในชาม หมักให้เข้ากันแล้วตั้งพักไว้ จากนั้นหั่นถั่วฝักยาวให้พอดีคำ ใส่น้ำมันในกระทะประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
เมื่อน้ำมันเริ่มร้อนให้ใส่ถั่วฝักยาวลงไปทอดจนทุกด้านสุกพอง ตักขึ้นพักไว้ นำหมูที่หมักไว้ในชามไปผัดกับกระเทียมจนเข้ากัน ตามด้วยถั่วทอดที่พักไว้ในชาม ผัดต่อไปอีกให้เข้ากันจนเปลือกถั่วฝักยาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ปิดไฟตักใส่จาน - ผัดถั่วฝักยาว หั่นถั่วให้พอดีคำ ตั้งกระทะโดยใช้ความร้อนปานกลาง เติมน้ำมันมะกอกลงไป เมื่อน้ำมันร้อนดีแล้ว ผัดถั่วฝักยาวจนผักเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด ตามด้วยกระเทียม และน้ำสต็อกไก่ลงไปผัดในกระทะ คลุกให้เข้ากันแล้วปรุงรสชาติตามที่ต้องการ
- ถั่วฝักยาวทอดแห้งสูตรเสฉวน ผัดหมูบด กระเทียม ขิง พริก และพริกไทย ให้เข้ากันอย่างรวดเร็ว ตามด้วยถั่วฝักยาว น้ำสต็อค เกลือ และน้ำตาล ผัดเร็วๆ จนน้ำในกระทะระเหยไปหมด ใส่น้ำส้มสายชูและหัวหอมลงไป ผัดให้เข้ากันอีกครั้งแล้วปิดไฟ
- แกงกะทิถั่วฝักยาว ใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟปานกลาง เติมกะทิ ผงแกงเผ็ด และฟักทองลงไป คนเล็กน้อย เมื่อฟักทองเริ่มสุกให้ใส่กะปิลงไป
จากนั้นรอสักครู่ ใส่ถั่วฝักยาวและตั้งไฟต่ออีกประมาณ 2 นาที หรือจนถั่วมีสีน้ำตาลอ่อน ใส่กะทิ น้ำเปล่า น้ำตาล และเกลือ ลงในหม้อ และเคี่ยวเป็นเวลา 20 นาทีจนถั่วเริ่มนุ่ม ก็ปิดเตา ตักขึ้นเสิร์ฟได้ทันที
ข้อควรระวังการรับประทาน
- ผู้ที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase (G6PD deficiency) ไม่ควรรับประทานโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงได้
- การรับประทานแบบดิบในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด เนื่องจากถั่วฝักยาวดิบมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมีเทนสูง
ถั่วฝักยาวเป็นพืชยอดนิยมอีกประเภทของคนไทย แต่ก็ต้องเลือกรับประทานอย่างเหมาะสม เพื่อให้ส่งผลดีต่อสุขภาพที่สุด และไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android