ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 13 ส.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

โรคกระดูกพรุน  ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงที่จะเป็นก็มากขึ้นตาม โดยเป็นภาวะที่ร่างกายขาดสมดุลระหว่างการสร้างและการทำลายของกระดูก ซึ่งจะมีการทำลายมากกว่า ทำให้มวลกระดูกลดลง กระดูกก็มีความแข็งแรงลดลงด้วย ส่งผลให้กระดูกหักง่ายขึ้น

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน

  1. ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งเป็นช่วงที่ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด

  2. สาเหตุจากกรรมพันธุ์ หากสมาชิกในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย มีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน โอกาสที่บุตรหลานจะเป็นโรคกระดูกพรุนจะสูงถึง 80% ส่วน 20% ที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย

  3. การสูบบุหรี่ การดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว 

  4. การดื่มกาแฟมากๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น โค้ก ชา เป็นต้น ก็ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น 

  5. ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งเป็นภาวะปกติของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง

  6. การได้รับปริมาณแคลเซียมต่ำในวัยชรา จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง 

  7. การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย ทำให้อาการโรคกระดูกพรุนรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา

  8. การได้รับยาบางอย่าง เช่น ออร์ติโซน สเตียรอยด์ ยากันชัก ยาลดกรดจำพวก antacid เป็นต้น จะลดความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้

  9. การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี ทำให้มีการทำลายเซลล์กระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุน 

  10. ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ในบ้านเรามักจะไม่มีปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี

พยาธิสรีรภาพโรคกระดูกพรุน

ภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน จะทำให้เซลล์กระดูกสร้างและหลั่งไชโตไคน์ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ทำลายกระดูก (Osteoclast) ทำให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่าง การสร้างกระดูกและการสลายกระดูก มวลกระดูกจึงลดลง นำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ผู้สูงอายุบริโภคแคลเซียมน้อยลงและกลไกการสังเคราะห์วิตามินดีก็เสื่อม ก็เสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเช่นกัน เพราะวิตามินดีจะคอยช่วยดูดซึมแคลเซียม เมื่อปริมาณแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายจึงอาศัยแคลเซียมจากกระดูก โดยกระตุ้นให้มีการหลั่งพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก ทำให้มีการสลายกระดูกมากขึ้น  

ในผู้สูงอายุมีแคลชิโตนินลดลง จึงไม่สามารถควบคุมการสลายกระดูกของเซลล์ทำลายกระดูกได้เหมือนเดิม มวลกระดูกจึงลดลง โดยเฉพาะที่บริเวณ กระดูกสันหลัง ข้อมือ สะโพก เป็นต้น ทำให้ผู้สูงอายุมักมีส่วนสูงลดลง เนื่องจากกระดูกบางลงทำให้ไม่สามารถรับแรงได้ตามปกติ จึงเสี่ยงต่อการหักได้ง่าย ทำให้มีอาการปวด และเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ตามปกติ

อาการของโรคกระดูกพรุน

ส่วนสูงลดลง กระดูกข้อหรือกระดูกสะโพกอาจหักได้ง่าย มีอาการปวดกระดูกเรื้อรัง หรือหลังค่อม

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

เบื้องต้นแพทย์จะตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย หากมีอาการปวดหลังเนื่องจากการทรุดตัวของกระดูกสันหลัง มีประวัติกระดูกหัก และมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การตัดรังไข่ การใช้ยาสเตียรอยด์ หรือมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ประจำเดือนหมดแล้ว การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ไม่ค่อยออกกำลังกาย จะมีแนวโน้มที่เป็นโรคกระดูกพรุนค่อนข้างสูง 

หากตรวจร่างกายจะพบว่าส่วนสูงลดลง มีความผิดปกติของแขนขาซึ่งเกิดจากกระดูกหัก หากถ่ายภาพรังสี จะพบหมอนรองกระดูกสันหลังและกระดูกสันหลังยุบเข้าไปทั้งด้านบนและล่าง 

ส่วนการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density; BMD) จะใช้เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก Dual energy X-ray absorptiometry (DXA) และจำเป็นต้องมีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสม แพทย์ถึงจะส่งตัวให้ตรวจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษา โรคกระดูกพรุน

แพทย์จะให้ยายับยั้งการสลายกระดูกจำพวก Bisphosphanate  ยาเสริมสร้างกระดูก ฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจนหลังหมดประจำเดือน และยาบรรเทาปวด นอกจากนั้นการออกกำลังกาย การใช้เครื่องพยุงหลัง และการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ก็จะช่วยเสริมสร้างให้อาการดีขึ้นด้วย

การพยาบาลและการป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • ให้นอนพักบนที่นอนที่แน่นไม่อ่อนนุ่ม 
  • จัดท่านอนให้ถูกต้อง โดยหนุนหมอนเตี้ยๆ พยุงบริเวณคอและหัวไหล่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง 
  • ให้ยาบรรเทาปวด และยายับยั้งการสลายกระดูก
  • ใช้ความร้อนร่วมกับการนวด พลิกตะแคงตัวด้วยความระมัดระวัง 
  • แนะนำให้ใช้ส้วมแบบโถนั่ง 
  • ให้เดินด้วย Walker หรือ Cane เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ 
  • ให้รับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง เช่น นม เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • ให้รับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม 
  • ออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก หากมีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ 
  • เลิกบุหรี่ จำกัดสารคาเฟอีน งดดื่มสุรา เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะทำให้เพิ่มการสลายแคลเซียม 
  • ดูแลให้ร่างกายได้รับแสงแดดในยามเช้า 30 นาที 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์  
  • ระมัดมะวังไม่ให้หกล้มเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ โดยควรจัดทำบ้านให้ดีมีราวจับ ตรวจดูลานสายตาและการทรงตัวของผู้สูงอายุด้วย

ที่มาของข้อมูล

T. Songpatanasilp a, Thai Osteoporosis Foundation (TOPF) position statements on management of osteoporosis

พญ.ปียฉัตร คงเมือง, โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)(https://www.srth.moph.go.th/re...11_journal/document/Y32N2/6_Porous_bone.pdf)

รศ.นพ.ประเสริฐ อัสสัตชัย, โรคกระดูกพรุน(http://www.si.mahidol.ac.th/si... สิงหาคม 2560

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis)
โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis)
บทความต่อไป
โรคมะเร็งกระดูก (Osteosarcoma)
โรคมะเร็งกระดูก (Osteosarcoma)