ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

ข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด (Dislocation)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมาย ผิวของข้อเคลื่อนหลุดจากกันโดยสมบูรณ์ หากผิวของข้อแยกกันเพียงบางส่วนเรียกว่า ข้อเคลื่อนบางส่วน (Subluxation)

สาเหตุของข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด

เกิดจากการบาดเจ็บที่ทำให้ข้อเคลื่อน เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบจากความเสื่อมเป็นแต่กำเนิด เช่น ข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพของข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด 

เมื่อมีแรงมากระทำที่ข้อจะทำให้ข้อเคลื่อนซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อของหลอดเลือด เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ หากข้อที่เคลื่อนไม่ได้รับการจัดให้เข้าที่เดิม เส้นประสาทและหลอดเลือดบริเวณข้อจะถูกกด ทำให้เกิดอัมพาตของเส้นประสาท (Nerve palsy) และเกิดการตายของเนื้อเยื่อตรงบริเวณที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดนั้นๆ นอกจากนี้กระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่ได้รับอาหารจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อเหมือนเดิม กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมลง และมีภาวะข้ออักเสบ ข้อจะเคลื่อนไหวได้จำกัดและมีอาการปวด

อาการของข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด

มีอาการปวดซึ่งจะลดลงทันทีเมื่อได้รับการรักษาโดยการจัดข้อที่เคลื่อนให้เข้าที่ เมื่อข้อเคลื่อนหรือหลุดจะทำให้ข้อนั้นๆ เคลื่อนไหวได้ลดลงหรือไม่ได้เลย ทำให้แขนขาข้างที่ข้อเคลื่อนสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะผิดปกติ

การวินิจฉัยโรคของข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด

จากประวัติได้รับบาดเจ็บ เช่น จากการเล่นกีฬาหรือได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น การเคลื่อนไหวของข้อผิดปกติ ข้อบวม กดเจ็บ มีอาการชารอบๆ ข้อ ข้อมีลักษณะผิดรูปไปจากเดิม ข้ออาจเคลื่อนไปทางด้านหน้าหรือหลัง การถ่ายภาพรังสีและส่องกล้องตรวจภายในข้อ (Anthrography) จะช่วยวินิจฉัยได้ถูกต้องมากขึ้น

การรักษาของข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด

ข้อเคลื่อนใหม่ๆ ให้ใช้ความเย็นประคบเพื่อลดบวมและลดปวด ดึงข้อที่เคลื่อนให้เข้าที่เดิมโดยไม่ต้องผ่าตัด (Close reduction) บางรายอาจต้องดมยาเพื่อดึงข้อให้เข้าที่เดิม หากไม่สำเร็จอาจต้องผ่าตัดเพื่อดึงข้อให้เข้าที่ ต่อมาให้ข้อพักอยู่นิ่งๆ นานประมาณ 3-6 สัปดาห์เพื่อให้เอ็นและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อหายเป็นปกติ ป้องกันมิให้ข้อหลุดอีก ข้อเล็กแพทย์จะใส่เครื่องพยุง เข้าเฝือกหรือดึงถ่วงไว้และนัดดูอาการหากข้อใหญ่ เช่น ข้อสะโพก จะรักษาโดยการดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (Skin traction) หลังจากดึงข้อให้เข้าที่แล้ว

การพยาบาลของข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด

ลดอาการปวดโดยให้ข้อพักอยู่นิ่งๆ ให้ยาบรรเทาปวด เคลื่อนไหวบริเวณข้อช้าๆ ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ ส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จัดสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้สะดวกในการหยิบใช้ ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เช่น ออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา ต้นแขน ขยับปลายมือปลายเท้าบ่อยๆ หลังจากเอาน้ำหนักที่ถ่วง (Traction) ออก ต้องออกกำลังอย่างถูกวิธีอาจต้องใช้เครื่องช่วยเดินลงน้ำหนักขาข้างที่ข้อหลุดประมาณ 12 สัปดาห์ ไปแล้วหรือตามแผนการรักษา

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
ภาวะเอ็นบริเวณข้อมืออักเสบ หรือ เดอโกแวง (De Quervain)
ภาวะเอ็นบริเวณข้อมืออักเสบ หรือ เดอโกแวง (De Quervain)
บทความต่อไป
กระดูก (Fractures)
กระดูก (Fractures)