ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

โรคมะเร็งกระดูก (Osteosarcoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 19 พ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

osteosarcoma คือ เนื้องอกกระดูกชนิดร้าย ที่มีต้นกำเนิดมาจากตัวกระดูกเอง ถือว่าเป็นมะเร็งกระดูกชนิดหนึ่ง ที่พบบ่อยในเด็กมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี  โดยช่วงอายุที่สัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งชนิด Osteosarcoma คือ อายุ 10 - 20 ปี

สาเหตุของ Osteosarcoma

สาเหตุที่เกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค คือ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อายุ 
  • ตำแหน่งที่เกิดรอยโรค มักพบบริเวณที่มีการสร้างกระดูกมาก 
  • การได้รับรังสี สารเคมี หรือยาฆ่าแมลงบ่อยๆ
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งของกระดูก

พยาธิสภาพของโรค Osteosarcoma

กระดูก เป็นต้นกำเนิดการสร้างเซลล์กระดูก เมื่อเกิดการแบ่งเซลล์ผิดปกติ มะเร็งจะกระจายเข้าไปในโพรงของกระดูก และกระจายไปรอบๆ เนื้อเยื่ออ่อน ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ บริเวณปลายล่างของกระดูกต้นขา และเข่า  ซึ่งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งกระดูกส่วนใหญ่จะไปที่ปอด และมักเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วย

อาการของ Osteosarcoma

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดที่ทุกข์ทรมาน ปวดตลอดเวลา และมีปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มักปวดตอนกลางคืนมากกว่ากลางวัน มีก้อนเกิดขึ้น มีการผิดรูปของอวัยวะ น้ำหนักลด มีไข้ ร่วมกับมีปัญหากระดูกหักโดยไม่มีเหตุที่น่าจะทำให้หัก เช่น เดินแล้วหัก

นอกจากนั้น อาจพบโดยบังเอิญโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการ แต่มีรอยโรคเกิดขึ้น มักจะพบจากการไปตรวจสุขภาพประจำปี หรืออาจเกิดจากเกิดอุบัติเหตุ เล่นกีฬา ไปตรวจเอ็กซเรย์แล้วพบ ซึ่งปัจจุบันมักจะพบลักษณะแบบนี้มากขึ้น

การวินิจฉัยโรค Osteosarcoma

แพทย์จะทำการซักประวัติอาการ ดูตำแหน่งที่ปวด โดยต้องมีการทำ Computed tomography (CT) scan และ Magnetic resonance image (MRI) จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ว่า เนื้องอกกระดูกนั้นได้แพร่กระจายถึงส่วนใดของอวัยวะนั้นๆ หรือบอกขนาดมะเร็งได้นั่นเอง อีกทั้งยังมีการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อการวินิจฉัยและบอกระยะของโรค ซึ่งการตรวจทั้งหมดจะช่วยวางแผนการรักษาให้กับคนไข้ได้

นอกจากนั้น มะเร็งกระดูกสามารถกระจายไปที่อื่นได้ โดยมักจะกระจายไปที่ปอด หรือกระดูกชิ้นอื่น ทำให้ต้องมีการตรวจวิริจฉัยเพิ่มเติม คือ 

  •  เอ็กซเรย์ปอด
  • ทำ CT Scan ปอด ซึ่งการทำ CT Scan ปอดจะละเอียดและรวดเร็วกว่า
  • ทำBone Scan เพื่อดูการกระจายของมะเร็ง การทำ Bone Scan จะสามารถหาได้เฉพาะบางจุด และการแปรผลจะต้องอาศัยความชำนาญ

การรักษา Osteosarcoma

osteosarcoma เป็นมะเร็งชนิดปฐมภูมิ ซึ่งจุดประสงค์การรักษา คือ ต้องการให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรค ซึ่งจะมีกระบวนการต่างๆ ทำเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษามะเร็งชนิดนี้ ทำโดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก โดยมีหลักการ คือ นำเนื้องอกออกจากผู้ป่วยให้หมด ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

  1. การตัดอวัยวะ โดยตัดอวัยวะเฉพาะส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป  ซึ่งเป็นวิธีใหม่ และไม่สามารถนำมาใช้ได้กับผู้ป่วยมะเร็งกระดูกทุกคน ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
  2. การเก็บอวัยวะ คือ การใช้กระดูกผู้อื่นมาทดแทน (Allograft) หรือการใช้ข้อเทียม(Prosthesis) ร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสง หรือบางรายอาจให้การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษาก่อนเพื่อลดขนาดของก้อนแล้วจึงผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก

การพยาบาลผู้ป่วยโรค Osteosarcoma

ดูแลให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและการรักษา บรรเทาอาการปวด ดูแลให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ และให้คำแนะนำครอบคลุม

จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งชนิด Osteosarcoma มักเกิดขึ้นในกลุ่มเด็กโตจนถึงวัยรุ่น ซึ่งการรักษาโรคนี้ควรเริ่มตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดังนั้น พ่อแม่ที่ดูแลลูก ควรให้ความสนใจ หากลูกมีอาการไม่สบายเจ็บที่แขนหรือขา อย่ารอให้เป็นมากๆ ก่อนแล้วจึงไปพบแพทย์ 

ที่มาของข้อมูล

Ryan A. Durfee, Maryam Mohammed, and Hue H. Luu, Review of Osteosarcoma and Current Management (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5127970/), 20 February 2019

P.G. Casali et al., Bone sarcomas: ESMO–PaedCan–EURACAN: Clinical Practice Guidelines for diagnosis, treatment and follow-up (https://www.esmo.org/Guideline...), 20 February 2019

นายแพทย์อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง, เอกสารประกอบการสอนเรื่อง เนื้องอกกระดูก(https://med.mahidol.ac.th/orth...)

ผศ.นพ.อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง, โรคมะเร็งกระดูก (https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/knowledge/bone_cancer)

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
บทความต่อไป
โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis)
โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis)