ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 19 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมายโรคข้อเสื่อม

เป็นการอักเสบเรื้อรังของข้อที่กระดูกอ่อน ผิวข้อถูกทำลาย และทำให้เกิดการอักเสบภายในข้อ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงที่ขอบของข้อและกระดูกอ่อนที่อยู่ใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ

สาเหตุโรคข้อเสื่อม

เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ ไม่มีความแข็งแรงที่จะรับแรงที่มากระทำที่ผิวข้อ ข้อและกระดูกอ่อนผิวข้อได้รับบาดเจ็บ มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อเข่าและข้อสะโพกต้องรับน้ำหนักตัวมากขึ้น มีความผิดปกติของกระดูกอ่อนผิวข้อ และข้อผิดปกติตั้งแต่กำเนิดใช้งานมากเกินไป เช่น งอเข่าบ่อย เป็นต้น และอาจเกิดจากกรรมพันธุ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพโรคข้อเสื่อม

กระดูกอ่อนผิวข้อมีส่วนประกอบของโปรตีโอไกลแคน (Proteoglycan) และคอลลาเจน ซึ่งช่วยในการยืดหยุ่นและผ่อนแรงที่มากระทำที่ข้อ เมื่อกระดูกเสื่อมสภาพจะรับแรงที่มากระทำที่ผิวข้อได้น้อยลง ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อเกิดรอยแตกเป็นริ้วๆ เปลี่ยนสภาพจากสีขาวใสมันเรียบเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล บางส่วนจะอ่อนนุ่มและผิวขรุขระ เมื่อโรคดำเนินต่อไปผิวกระดูกอ่อนที่เสื่อมสภาพจะหลุดเป็นชิ้นๆ ลอยอยู่ในน้ำหล่อเลี้ยงข้อซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบของข้อ ทำให้ข้อบวมและปวด มีการหลั่งสารไซโตไคน์ ซึ่งจะส่งเสริมการอักเสบของข้อและการเสื่อมของกระดูกอ่อนสำหรับกระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (Subchondral bone) เมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมสภาพไม่สามารถช่วยรับแรงได้ แรงจึงผ่านมาที่กระดูกโดยตรงทำให้กระดูกเกิดรอยแตกเล็กๆน้อยๆ ร่างกายจะพยายามซ่อมแซมบริเวณข้อที่สึกหรอโดยเพิ่มความหนาของกระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน จึงทำให้กระดูกบริเวณนี้มีลักษณะแข็ง เมื่อถ่ายภาพรังสีจะเห็นทึบแสงมากขึ้น สำหรับที่บริเวรขอบข้อจะมีกระดูกงอกเป็นเดือย (Spur หรือ Osteophyte) ซึ่งเป็นความพยายามของร่างกายที่จะซ่อมแซมเพื่อให้ข้อที่เสื่อมสภาพมีความแข็งแรง ในระยะที่โรคเป็นมากขึ้น อาจเกิดถุงน้ำที่บริเวณกระดูกแข็งใต้กระดูกอ่อน ซึ่งเกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อที่มีมาก ขณะที่ข้ออักเสบจึงแทรกเข้าไปขังในกระดูก นอกจากนี้เยื่อหุ้มข้อ (Capsule) จะหนาตัวขึ้นและหดสั้นลง เนื่องจากการหดตัวของพังผืด ทำให้ข้อผิดรูปและเคลื่อนไหวไม่ได้เต็มที่ และเมื่อผิวข้อถูกทำลายหมดทำให้เกิดการเสียดสีกันของกระดูกจะทำให้มีอาการปวดข้อได้

อาการโรคข้อเสื่อม

ปวดข้อแบบตื้อๆ มักเกิดตอนเช้าตรู่หรือตอนเย็น เกิดภายหลังจากการใช้ข้อหรือสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวหรือบางคนมีอาการปวดตลอดเวลา มีอาการตึงขัดของข้อ (Stiffness) ข้อบวม ข้อผิดรูป (Deformity) กำมือลำบาก เดินลำบาก

การวินิจฉัย โรคข้อเสื่อม

มีประวัติปวดข้อหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อ มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อมจากงานอาชีพ ลักษณะการทำงาน ตรวจดูการบวมของข้อ การกดเจ็บบริเวณข้อ ลักษณะการเดินที่ผิดปกติเมื่อมีข้อเข่าและข้อ สะโพกเสื่อม ถ่ายภาพรังสีพบช่องข้อแคบลง เนื้อกระดูกใต้ผิวข้อหนาตัวเป็นหย่อมๆ มีโพรงในเนื้อกระดูก มีกระดูกงอกหรือมีเดือยที่ขอบข้อ กรวดน้ำไขข้อพบเม็ดเลือดขาวสูง แต่ไม่เกิน 20,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร ตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงใน 1 ชั่วโมง (Erythrocyte sedimentation rate; ESR) พบว่าสูงเล็กน้อย

การรักษาโรคข้อเสื่อม

โดยการให้ข้อที่อักเสบได้พัก ใช้ยาบรรเทาปวด รักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการผ่าตัด โดยปรับแนวข้อ และใช้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อใส่ข้อเทียม

การพยาบาล โรคข้อเสื่อม

ดูแลให้พักข้อที่อักเสบ ให้ยาบรรเทาอาการปวดข้อตามแผนการรักษาโดยให้รับประทานยาทันทีหลังอาหารและดื่มน้ำมากๆ ดูแลให้ใช้เครื่องพยุงข้อเข่า ใช้เครื่องช่วยเดิน แนะนำให้ลดน้ำหนัก ไม่ให้อยู่ในแนวเดียวนานๆ ไม่ควรนั่งพับเพียบหรือนั่งยองๆ หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ควรใช้ส้วมชักโครกแบบโถนั่ง ให้ออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อนหรือแบบ Isometric เช่น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา เป็นต้น ต่อมาหากมีอาการปวดให้ออกกำลังกายโดยให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความแข็งแรงเร็วขึ้น หรือเรียกว่าการออกกำลังกายแบบ Resistive exercise เช่น การยกน้ำหนัก ใช้กำลังขาปั่นจักรยาน เป็นต้น หาวิธีปฏิบัติเพื่อการชะลออาการเสื่อมของข้อ และการลดความวิตกกังวลในการผ่าตัด

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
9. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
9. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
บทความต่อไป
โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis)
โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis)