ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กระดูก (Fractures)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 19 พ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

กระดูกแตก หรือหัก มีสองแบบ ดังนี้  

  1. แบบปิด (Closed or simple type) เป็นแบบที่ผิวหนังไม่ฉีกขาด 
  2. แบบเปิด (Open or compound type) เป็นแบบที่มีบาดแผลทะลุผิวหนังจนเห็นกระดูกสัมผัสกับภายนอก 

นอกจากนี้ยังอาจเป็น แบบกระดูกหักชนิดซับซ้อน (Complex or comminuted fracture) คือ กระดูกหักเป็นหลายท่อน หรือแตกละเอียด ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบเปิดและแบบปิด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วน กระดูกเดาะ (Green stick fracture) คือกระดูกไม่ได้หักแยกออกจากกัน 

กระดูกหักแบบแยกจากกันโดยสิ้นเชิง (Complete fracture) หรือหักแบบยังมีส่วนของกระดูกติดกันอยู่ (Incomplete fracture) หรือที่เรียกว่า กระดูกเดาะ มักพบในเด็กเพราะในกระดูกเด็กจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่าของผู้ใหญ่

สาเหตุ  

อาจเกิดจากการบาดเจ็บจากภายนอก หรือกระดูกทิ่มแทงจากภายใน แบบเปิดมักมีอันตรายเนื่องจากมีการทำลายเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ ในผู้สูงอายุ กระดูกจะหักง่ายกว่าในวัยเด็กเพราะกระดูกมีความยืดหยุ่นน้อยลง อาจเกิดจากเป็นโรคกระดูกพรุน มะเร็งกระดูก กระดูกติดเชื้อ 

พยาธิสรีรภาพ  

เมื่อกระดูกหักจะมีเลือดออกจากตัวกระดูกและเนื้อเยื่อรอบๆ กระดูก เมื่อเลือดหยุดไหลจะเกิดเป็นก้อนเลือดตรงบริเวณที่หักทำให้กระดูกสูญเสียความมั่นคง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และมีอาการปวดและชาเนื่องจากการสูญเสียการทำงานชั่วคราวของเส้นประสาท 

หากมีกระดูกหักบริเวณใกล้ข้อจะทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วย ทำให้มีเลือดออกเพิ่มขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณกระดูกที่หักเกิดการอักเสบ รวมทั้งจะมีการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้บริเวณที่กระดูกหักเกิดอาการบวม กระดูกที่หักบริเวณแขนขาจะมีความยาวสั้นลงและผิดรูปออกไป เนื่องจากแรงดึงของกล้ามเนื้อตามแกนยาวของกระดูกทำให้กระดูกเกยกัน 

หากกระดูกรูปยาวหักอาจหักเป็นมุม เนื่องจากแรงดัด หรือโก่ง และแรงดึงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ กระดูกหักไม่เท่ากัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การอักเสบเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดพังผืด (Fibrosis) ขึ้นได้ โดยเฉพาะกระดูกหักบริเวณข้อ พังผืดที่เกิดรอบๆ ข้อทำให้ข้อติดแข็งได้ 

กระดูกที่หักจะมีการซ่อมแซมตามธรรมชาติโดยมีการสร้างกระดูกใหม่ที่เรียกว่า แคลลัส (Callus) เกิดขึ้นซึ่งจะช่วยตรึงกระดูกที่หักให้ติดกันแต่อาจมีปัญหากระดูกไม่ติดกัน เนื่องจากมีเยื่อพังผืดคั่นระหว่างปลายกระดูกที่หัก

อาการ 

มีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณที่หัก ทั้งนี้จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวบริเวณที่หัก หากมีขาหักจะเดินไม่ได้ ขาอาจสั้นลง ขาบิด หมุนผิดปกติ ขาโก่งช้อนเกยกัน มีอาการบวมบริเวณที่หักและฟกช้ำ

การวินิจฉัยโรค  

จากประวัติการได้รับบาดเจ็บ ดูจากอาการปวด การเคลื่อนไหว อาจมองเห็นกระดูกหักได้จากภายนอก การถ่ายภาพรังสีจะช่วยให้จำแนกได้ว่า กระดูกหักแบบไหน โดยทั่วไปการถ่ายเอ็กเรย์ธรรมดาจะช่วยให้เห็นบริเวณที่หักได้ แต่หากได้ทำ Computed tomography (CT) scan จะช่วยประเมินลักษณะของการหักได้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยวางแผนในการรักษาต่อไป

การรักษา  

รักษาด้วยการจัดกระดูกให้เข้าที่ (Fracture reduction) โดยนำกระดูกส่วนที่หักมาต่อให้อยู่ในตำแหน่งปกติ 

  • หากจัดกระดูกโดยไม่ต้องผ่าตัด เรียกว่า การจัดเข้าที่แบบปิด (Closed reduction) 
  • หากจัดกระดูกด้วยการผ่าตัด เรียกว่า การจัดเข้าที่แบบเปิด (Open reduction) ต้องใช้ยาชา หรือวางยาสลบและกรีดผิวหนังเปิดออกเพื่อผ่าตัดซ่อมแซม บางรายอาจต้องเข้าเฝือกด้วย หลังผ่าตัดจะมีการฟื้นฟูร่างกายโดยการทำกายภาพบำบัด บางครั้งอาจใช้เวลาเป็นปีกว่ากระดูกจะเชื่อมติดกันดีขึ้นอยู่กับชนิดของกระดูก แต่บางคนก็อาจต้องใช้ไม้ค้ำหลังผ่าตัด

การพยาบาล  

ประเมินสภาพผู้ป่วยโดยรวมเพราะส่วนใหญ่คนไข้อุบัติเหตุมักจะมีการบาดเจ็บหลายตำแหน่ง ฉะนั้นต้องประเมินคนไข้แบบองค์รวม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ดูแลการเข้าเฝือกก่อนการเคลื่อนตัวผู้ป่วย 
  • ทำแผลเปิดให้สะอาด
  • ดูแลผู้ป่วยที่ใส่เฝือก เช่น สังเกตบริเวณผิวหนังที่ใส่เฝือก ยกให้สูงโดยใช้หมอนรอง 
  • สังเกตว่ามีเลือดออก บวมหรือไม่ 
  • ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวด 
  • สังเกตการติดเชื้อ 
  • สอนวิธีการออกกำลังกล้ามเนื้อ 
  • ดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รับอาหารโปรตีนสูงและมีวิตามินสูง เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ให้อาหารแคลเซียมสูง 
  • กระตุ้นให้ดื่มน้ำเพื่อช่วยป้องกันท้องผูก ไม่เกิดนิ่วในไตจากแคลเซียม  และป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ 
  • สอนวิธีการเดินด้วยเครื่องช่วยพยุง
  • สอนการออกกำลังกายแบบ Isometric exercise ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ปอดโดยกระตุ้นการไอและการหายใจลึกๆ 

ที่มาของข้อมูล

Charles Court-Brown MD et al., Rockwood and Green's Fractures in Adults Ed.8

Frederick M Azar, MD et al.,Campbell's Operative Orthopaedics Ed.13

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
ข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด (Dislocation)
ข้อเคลื่อนหรือข้อหลุด (Dislocation)
บทความต่อไป
โรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง (Giant cell tumors; Osteoclastomas)
โรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง (Giant cell tumors; Osteoclastomas)