ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

โรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง (Giant cell tumors; Osteoclastomas)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 19 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ความหมายโรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง

เป็นเนื้องอกที่กระดูกชนิดไม่ร้ายแรง (Benign tumor) ก้อนจะโตอย่างช้าๆ และไม่มีการทำลายเนื้อเยื่อรอบๆ เป็นเนื้องอกที่มีต้นกำเนิดจากกระดูกโดยตรง เนื้องอกชนิดนี้ไม่มีการกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย แต่บางชนิดสามารถเปลี่ยนเป็นมะเร็งกระดูกได้ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยมีก้อนนูนขึ้นมาหรือมีอาการปวดลึกๆ และบางรายอาจเคลื่อนไหวข้อไม่ได้เต็มที่

สาเหตุโรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง 

สาเหตุที่เกิดยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่น และอาจกลายเป็นเนื้อร้ายและแพร่กระจายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พยาธิสรีรภาพโรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง 

เริ่มด้วยมีก้อนเนื้องอกที่บริเวณกระดูกรูปยาวใกล้ข้อ (Metaphyseal) ก้อนเนื้องอกนี้จะเจริญเติบโตเข้าไปในส่วนของผิวข้อที่มีการเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปิดกระดูก Epiphysis ทำให้อาจขยายไปถึงส่วนของผิวข้อ หากเนื้องอกมีการทำลายส่วนประกอบของกระดูกจะทำให้กระดูกส่วนนั้นหัก และอาจมีอาการปวดบริเวณที่เป็นร่วมกับมีอาการบวมเกิดขึ้น และเมื่อเซลล์เนื้องอกกระดูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถควบคุมการแบ่งเซลล์ได้ จะเกิดเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา

อาการโรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง 

มีอาการปวดบริเวณที่เป็นเล็กน้อยหรืออาจไม่มีอาการ ลักษณะการปวดมักจะเป็นแบบปวดลึกๆ ตลอดเวลา อาการปวดจะมากขึ้นเวลาทำงาน อาจมีอาการตอนกลางคืนร่วมด้วย อาจมีก้อนหรืออาการบวมบริเวณแขนขาหรือต้นขาโดยไม่ทราบสาเหตุ ก้อนเนื้องอกอาจโต ตึงโดยไม่มีอาการแสดง จนกระทั่งมีการหักของกระดูกเกิดขึ้น มีการเคลื่อนไหวข้อได้ไม่เต็มที่ และมีอาการปวดขัดขณะเคลื่อนไหว

การวินิจฉัยโรคโรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง

มีประวัติคลำก้อนได้หรือมีอาการปวดหรือมีกระดูกหัก อาจมีอุบัติเหตุหกล้ม หากถ่ายภาพรังสีจะมีการทำลายของกระดูก โดยการขยายเข้าไปในส่วนของ Cortex ด้านใดด้านหนึ่ง

การรักษาโรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง 

โดยการผ่าตัดเอาก้อนออกพร้อมทั้งพิจารณาการฉายรังสี เพื่อป้องกันการเกิดเนื้องอกซ้ำ เนื่องจากเนื้องอกกระดูกชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเป็นมะเร็งกระดูกได้ และนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ

การพยาบาลโรคเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้ายแรง

ลดอาการปวดโดยสอนและแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เทคนิคการผ่อนคลาย ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา ลดความวิตกกังวล ให้คำแนะนำผู้ป่วยให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมเพื่อส่งเสริมให้มีการดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
กระดูก (Fractures)
กระดูก (Fractures)
บทความต่อไป
โรคเกาต์ (Gout; Gouty arthritis)
โรคเกาต์ (Gout; Gouty arthritis)