ชื่อท้องถิ่น : น้อยแน่ (ภาคใต้), มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ), มะออจ้า มะโอจ่า (เงี้ยว ภาคเหนือ), ลาหนัง (ปัตตานี) , หน่อเกล๊าแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) , หมักเขียบ (ภาคอีสาน)
ลักษณะของพืช
น้อยหน่าเป็นพืชยืนต้น ใบเดี่ยวติดกับลำต้นใบรูปรี ปลายแหลมหรือมน ดอกเล็ก 4 กลีบ สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ลูกกลม มีตุ่มนูนรอบผล เนื้อสีขาว รสหวาน เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสดและเมล็ด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บใบสดและเมล็ด
รสและสรรพคุณยาไทย : ใบแก้กลากเกลื้อนและฆ่าเหา ชาวชนบทมักเอาลูกตายมาฝนกับเหล้ารักษาแผล
วิธีใช้
ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าใช้ฆ่าเหา โดยเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าว 1 – 2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศรีษะแล้วใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง และสระผมให้สะอาด (ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้แสบตา ตาอักแสบได้)
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!