ประโยชน์ของผักชี ไอเดียการกินการใช้ผักชีเพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ผักชีไม่ได้เป็นแค่ผักโรยที่ต้องเขี่ยทิ้ง หรือแค่ผักแกล้มแบบขำๆ แต่มีประโยชน์แบบที่คุณอาจคาดไม่ถึง
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประโยชน์ของผักชี ไอเดียการกินการใช้ผักชีเพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ผักชี ผักก้นครัวที่เรารู้จักกันดีแม้จะมีกลิ่นแรงเป็นเอกลักษณ์ แต่ผักชีก็เปี่ยมด้วยสรรพคุณหลายอย่างตั้งแต่รากจรดใบ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราไม่ควรมองข้ามการรับประทานผักชีอีกต่อไป ว่าแล้วก็ตามไปทำความรู้จักผักชีให้มากขึ้นกันเลยดีกว่า

รู้จักผักชี

ผักชีไทย (Coriander) ชื่อวิทยาศาสตร์ Coriandrum sativum L. เป็นผักที่มีสีเขียวทั้งต้นแต่มีรากเป็นสีขาว สามารถปลูกได้ตลอดปี ช่วงที่เหมาะที่สุดในการเพาะปลูกคือ ฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็ว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผักชีทุกส่วนสามารถนำมาเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารและเป็นยารักษาโรค หรือเป็นน้ำกระสายยา และสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารหลากหลายชนิดได้ แต่ที่นิยมที่สุดคือ การนำผักชีมาโรยหน้าอาหาร ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มสีสันและแต่งกลิ่นให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักชี 100 กรัม ให้พลังงาน 23 แคลอรี่ โดยให้สารอาหารหลักที่สำคัญ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม เส้นใย 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม รวมถึงมีวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ลูทีน ซีแซนทีน วิตามินบี1 บี2 บี3 บี5 บี9  วิตามินซี วิตามินอี และแคลเซียม 

ประโยชน์ของผักชี

1.ต่อต้านอนุมูลอิสระ

ใบผักชีมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารกลุ่มแลคโตน (Lactones) สารกลุ่มฟีโนลิก (Phenolic acids) สารกลุ่มแทนนิน (Tannins) และน้ำมันหอมระเหย จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ใบและลำต้นของผักชีมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง มีสรรพคุณต่อต้านอาการชัก ป้องกันเซลล์สมองจากการถูกทำลาย ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และช่วยย่อยอาหาร 

2.ส่งเสริมระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้

ผักชีจัดว่า เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร ตำรายาแผนไทยนิยมใช้ส่วนผล ซึ่งมีสรรพคุณในการกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้ ให้ขับน้ำดี และขับน้ำย่อยออกมามากขึ้น ช่วยย่อยอาหาร และช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหยของลูกผักชียังมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

3.ลดน้ำตาลในเลือด

ส่วนของเมล็ดและน้ำมันหอมระเหยของผักชี มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเพิ่มการหลั่งสารอินซูลิน อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว ควรรับประทานอย่างระมัดระวัง

4.ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ผักชีเป็นเครื่องเทศที่มีรสชาติเผ็ดร้อน มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งกลุ่มเฮเทอโรไซคลิกเอมีน (Heterocyclic amine: HCA) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการรับประทานอาหารปิ้งย่าง จากงานศึกษาวิจัยหลายๆ ชิ้นก็ยืนยันตรงกันว่า ผักชีสามารถทำให้การก่อตัวของสารกลุ่ม HCA ให้ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5.บำรุงสายตา ต่อต้านการอักเสบ

ในผักชี 100 กรัม จะมีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 3,930 ไมโครกรัม และเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูงในผักชีมีสรรพคุณที่ช่วยต่อต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย สารเบต้าแคโรทีนยังมีส่วนบำรุงสายตาและทำให้การทำงานของสายตาเป็นปกติ

ไอเดียการใช้ผักชีเพื่อสุขภาพ

มีการนำผักชีมาใช้เป็นตำรับยาแผนโบราณมานานแล้ว เนื่องจากสามารถใช้เป็นยาได้ทั้งต้นตั้งแต่ใบ เมล็ด และราก การนำผักชีมาใช้เพื่อสุขภาพตามตำรายาไทยมีดังนี้

1.ใบผักชี เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาหารคลื่นไส้อาเจียน แก้หวัด ลดอาการวิงเวียนศีรษะ รักษาอาหารเป็นพิษ แก้กระหายน้ำ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

2.เมล็ดผักชี สามารถใช้รักษาแผล บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาโรคบิด แก้ริดสีดวงทวารหนัก บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น กระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพิ่มน้ำดีให้มากขึ้น แก้อาการถ่ายเป็นเลือด และถ่ายเป็นมูก

3.ต้นสด ทำให้เจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับลม ทำให้เจริญอาหาร ละลายเสมหะ และใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารได้

4.รากผักชี ใช้เป็นน้ำกระสายยา ช่วยขับพิษไข้หัว รักษาโรคหิด รักษาโรคอีสุกอีใส และไข้อีดำอีแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไอเดียการกินผักชีเพื่อสุขภาพ

เรานิยมนำผักชีมาใส่อาหารหลายอย่าง เช่น เมนูต้มยำ โรยหน้าอาหาร หรือนำมารับประทานสดเป็นผักเคียงจิ้มกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะมีเมนูไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย

1.ยำผักชีไข่ต้ม

เริ่มจากต้มไข่ให้สุกตามความชอบ เสร็จแล้วนำไข่มาปอกเปลือก จากนั้นตำกระเทียมและพริกให้ละเอียด ใส่น้ำตาลปี๊ป น้ำปลา มะนาว ปรุงรสตามความชอบ พักเอาไว้ หั่นมะเขือเทศ ซอยผักชีแบบหยาบๆ จากนั้นจึงผ่าครึ่งไข่ต้ม นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน จัดวางไข่ต้มบนจาน นำน้ำยำมาราด แล้วตักขึ้นเสิร์ฟได้เลย

2.หมู / ไก่คั่วผักชีแห้ง

เริ่มจากคลุกหมูกับแป้งสาลีให้ทั่ว นำไปทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ จนสุกเหลืองแล้วตักขึ้นพัก จากนั้นใส่น้ำมันพืชลงไปตั้งให้ร้อน ใส่กระเทียม รากผักชี พริกขี้หนู ผัดให้แห้งจนเหลือง ใส่หมูทอดที่เตรียมเอาไว้ลงไป ปรุงรสด้วยพริกไทย เกลือป่น ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย ผัดให้เข้ากัน ปิดไฟ โรยผักชีแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วตักใส่จานพร้อมรับประทาน

3.หมูมรกตผักชีปั่น

เริ่มปรุงเมนูนี้ด้วยการล้างเนื้อหมูให้สะอาด หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นบางๆ นำผักชีไปปั่นให้ละเอียดผสมน้ำลงไปเล็กน้อย ตั้งน้ำมันในกระทะให้เดือด เมื่อน้ำมันเริ่มเดือดใส่เนื้อหมูลงไปผัดจนเนื้อหมูเริ่มสุก ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว น้ำตาล ซอสถั่วเหลือง ผงปรุงรส ใส่ผักชีปั่นลงไป แล้วผัดต่อไปสักครู่ตักขึ้นเสิร์ฟ

4.หมูต้มผักชี 

เริ่มจากการหั่นหมูให้เป็นชิ้นบางๆ ตั้งน้ำให้เดือด แล้วใส่หมูลงไป ต้มจนกว่าหมูจะเริ่มเปื่อย จากนั้นใส่ขิงซอย มิโซะ น้ำ และกระเทียมสับที่เตรียมไว้ลงไป ชิมรสลงตามใจชอบ

5.ต้มจืดหมูสับผักชี

เริ่มจากนำผักชีไปล้าง ซอยหยาบๆ พักไว้ ตัดรากผักชีออก หมักหมูด้วยซีอิ๊วขาว พริกไทยดำ แป้งมัน ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย จากนั้นคลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ใส่ผักชีลงไป คลุกหมูบดกับผักชีให้เข้ากัน ตั้งหม้อใส่น้ำด้วยไฟกลาง ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย เมื่อน้ำเดือด ให้ปั้นหมูสับเป็นก้อนใส่ลงไป ต้มต่อไปอีก 5 นาที ปิดไฟ ตักขึ้นเสิร์ฟคู่กับข้าวสวยร้อนๆ   

ข้อควรระวังการบริโภคผักชี

  • สำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้พืชวงศ์ผักชี เช่น คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก กระเทียม และหอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชีจะดีที่สุด เนื่องจากผักชีจะก่อให้เกิดอาการแพ้
    ได้ เช่น ผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis) ผดผื่นคัน ทำให้ผิวไวต่อแสงแดด เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง ทำให้เยื่อบุจมูกและตาอักเสบ อาจทำให้เกิดหลอดลมเกร็งตัว
  • ผู้ที่เป็นโรคไตไม่ควรรับประทานผักชีในปริมาณที่มากเกินไปเพราะผักชีจะมีโพแทสเซียมสูง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้นข้อมูลที่มีการแชร์กันว่า หากดื่มน้ำผักชีต้ม หรือปั่นเป็นประจำทุกวันจะสามารถช่วยล้างไตให้สะอาดได้นั้นจึงไม่เป็นความจริงเลย ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยงเด็ดขาด
  • สำหรับคนทั่วไป การรับประทานผักชีในปริมาณมากอาจทำให้มีกลิ่นตัวแรงขึ้น ทำให้เกิดอาการตาลายและหลงลืมง่าย ดังนั้นควรรับประทานแต่พอดีในขนาดที่ใช้ประกอบอาหาร

ผักชีเป็นผักพื้นบ้านที่ใช้เพิ่มกลิ่นหอมชวนรับประทานและเพิ่มรสชาติในอาหารด้วย มีสารอาหารที่ดีต่อร่างกายหลายด้าน แถมยังอัดแน่นไปด้วยสรรพคุณที่เป็นยา เพราะเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญโดยมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ใช้เป็นยาได้ทั้งต้น ช่วยบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่ควรรับประทานผักชีในปริมาณพอเหมาะและรู้จักหลีกเลี่ยงถ้ามีอาการแพ้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน:ผักชีของไทย..ดังไกลถึงญี่ปุ่น..แล้วประโยชน์คืออะไร(https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/336/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99/)
The world’s healthiest food, Cilantro & Coriander seeds (http://www.whfoods.com/genpage.php?tname=foodspice&dbid=70), 23 June 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป