กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ประโยชน์ของแตงกวา ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

แตงกวาไม่ใช่แค่ผักเคียง หรือเครื่องตกแต่งจาน แต่มากด้วยประโยชน์ควรค่าแก่การรับประทานเป็นที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 24 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ประโยชน์ของแตงกวา ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แตงกวา (Cucumber) เป็นผักตระกูลเดียวกับน้ำเต้า ฟักทอง บวบ มะระ สามารถเจริญเติบโตได้ง่าย จึงนิยมนำมากินแกล้มกับอาหารจานหลัก
  • แตงกวาหนึ่งผลมีสารอาหารมากมายไม่ว่าจะเป็น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี และบี 
  • ประโยชน์ของแตงกวา ช่วยลดความร้อนในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหาร ลดกรดในกระเพาะอาหาร มีสารสกัดที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
  • สารสกัดจากแตงกวาสามารถนำมาบำรุงผิวหน้า ลดใต้ตาดำ ทำทรีตเม้นต์ผมได้ โดยนำแตงกวามาคั้นสด หรือใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงที่มีสารสกัดจากแตงกวา
  • ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานแตงกวาในปริมาณมาก เนื่องจากในแตงกวาจะมีกรดยูริค หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อโรค
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

แตงกวา เป็นผักชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักและคุ้นหน้าคุ้นตากันดี มักนิยมนำไปเป็นเครื่องจิ้ม น้ำพริกต่างๆ เต้าเจี้ยวหลน ฯลฯ หรือเครื่องเคียงอาหารจานเดียว เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง นอกจากเสริมรสชาติอาหารจานหลักแล้วยังช่วยแก้เลี่ยนได้ด้วย นอกจากนี้แตงกวายังมีประโยชน์อื่นๆ 

รู้จักกับแตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียจัดว่า เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับน้ำเต้า ฟักทอง แตงโม บวบ มะระ แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตรวดเร็ว มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลำต้นมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบมีมุม 3-5 มุม มีขนหยาบ ปลายมีลักษณะแหลมยาว ดอกมีกลีบ 5 กลีบ สีเหลือง ส่วนผล มีลักษณะรูปทรงกระบอกยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดอยู่ตรงกลางสามารถนำมารับประทานได้ทั้งผล

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

แตงกวา 1 ผล มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 96.4% คาร์โบไฮเดรต 2.8% โปรตีน 0.4% ไขมัน 0.1% และแร่ธาตุต่างๆ เช่น 

นอกจากนี้ผลของแตงกวายังมีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซักซินิก มาลิก ดีไฮโดรจีเนส (succinic malic dehydrogenase) แอสคอร์บิก แอซิด ออกซิเดส (Ascorbic acid oxidase) ในส่วนของเถาและเมล็ดจะมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง

ประโยชน์ของแตงกวา

  • ช่วยลดอุณหภูมิ หรือความร้อนภายในร่างกาย ในช่วงฤดูร้อนจึงเหมาะที่จะรับประทานแตงกวามาก
  • ช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
  • ช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  • ช่วยในเรื่องการฆ่าเชื้อโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก
  • ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้ผิวสะอาดกระจ่างใสขึ้น และรูขุมขนกระชับขึ้น
  • ช่วยป้องกันสภาวะร่างกายขาดน้ำได้ เนื่องจากในแตงกวามีส่วนประกอบที่เป็นน้ำถึง 90กว่าเปอร์เซ็นต์
  • ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • มีสารแอนโทรแซนทินซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวด มีการทดลองพบว่า สารสกัดของแตงกวาสามารถบรรเทาอาการอักเสบและอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในระดับปานกลาง
  • ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างอยู่ภายในร่างกายและยังช่วยละลายก้อนแข็งที่อยู่ภายในไตได้ด้วย
  • ช่วยเสริมสร้างความจำ ส่งเสริมการทำงานของสมอง และยังช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าได้
  • มีการทดลองพบว่า สารสกัดจากเมล็ดแตงกวาสามารถช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเลือดได้

สรรพคุณทางยาของแตงกวา

  • ผล เมื่อนำมารับประทานจะมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้อาการกระหายน้ำ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ ตาแดง ไฟลวก และผดผื่นคัน หรือจะใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก หรือนำมาประกอบอาหารก็สามารถนำมาทำได้
  • ใบ เมื่อนำมารับประทานสดๆ จะให้รสขม มีพิษเล็กน้อย สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย หรือบิดได้
  • เมล็ด หรือเนื้อในเมล็ด ให้รสมัน เย็น เมื่อนำมารับประทาน จะช่วยในเรื่องของการถ่ายพยาธิได้เป็นอย่างดี
  • เถา จะให้รสขม มีพิษเล็กน้อย ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต โรคผิวหนังเป็นฝีเล็กๆ มีหนอง รักษาอาการหนองในได้
  • ราก จะให้รสเย็น ช่วยป้องกันการขาดวิตามินบี 1 และช่วยขับปัสสาวะ

ไอเดียการรับประทานแตงกวาเพื่อสุขภาพ

1. แตงกวาผัดไข่

เตรียมส่วนผสมด้วยการนำแตงกวาลูกเล็กประมาณ 5 ผล ไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาผ่าออกให้เป็น 2 ซีก จากนั้นหั่นแบบเฉียงๆ เตรียมไข่ไก่ 2 ฟอง น้ำมัน 2-3 ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา และเต้าเจี้ยวดำ 1 ช้อนโต๊ะ 

ขั้นตอนการทำเริ่มด้วยการตั้งกระทะใส่น้ำมันลงไปพอร้อน ตามด้วยกระเทียมสับผัดให้พอหอม ใส่แตงกวาลงไปผัดให้พอร้อน ตามด้วยไข่ไก่ ผัดให้เข้ากัน จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำมันหอย น้ำตาลทรายและเต้าเจี้ยว ผัดให้เข้ากัน ตักใส่จานรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ

2. แตงกวาสลัดโยเกิร์ต

นำแตงกวาขนาดปานกลาง 1 ลูก ไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นเป็นแว่นๆ แล้วหั่นครึ่งอีกให้เป็นชิ้นพอดีคำ เติมผักสลัดชนิดอื่นๆ ตามชอบ 2 ถ้วย กรีกโยเกิร์ต 1/4 ถ้วย ถั่ววอลนัต หรือถั่วชนิดอื่นๆ 30 กรัม ใช้สำหรับโรยหน้าสลัด เกลือ และพริกไทย ขั้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขั้นตอนการทำเริ่มด้วยการเตรียมผักสลัดวางไว้บนจาน จากนั้นนำแตงกวา โยเกิร์ต และถั่วที่ชอบ พริกไทย หรือเกลือเล็กน้อย มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาราดลงบนผักสลัดที่เตรียมไว้ในจาน โรยหน้าด้วยถั่ววอลนัท เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ก็จะได้เมนูง่ายๆ เพื่อสุขภาพแล้ว

3. ต้มจืดแตงกวายัดไส้

เตรียมส่วนผสมด้วยการนำแตงกวาขนาดเล็ก 4-5 ลูก ไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาปอกเปลือก ผ่าขวางเป็น 2 ท่อน ใช้มีดคว้านไส้ออก นำหมูสับ 200 กรัม รากผักชี กระเทียม พริกไทย มาโขลกรวมกัน 1 ช้อนโต๊ะ แป้งมัน/แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1/4 ช้อนชา มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที 

ขั้นตอนการทำเริ่มด้วยการนำรากผักชี 2 ราก กระเทียม 2 กลีบ มาบุบทิ้งไว้ ตั้งหม้อใส่น้ำลงไปพอประมาณ ใส่รากผักชี กระเทียมที่บุบไว้ลงไป ระหว่างรอน้ำเดือดนั้นให้นำหมูสับที่หมักไว้ มายัดใส่แตงกวาที่คว้านไส้ออกแล้ว 

พอน้ำเดือดให้ใส่แตงกวายัดไส้ที่เตรียมไว้ลงไป ปรุงรสด้วยเกลือ ซีอิ๊วขาวตามชอบ ต้มต่อประมาณ 15-20 นาที ปรุงรสด้วยเกลือ ซีอิ๊วขาวตามชอบ พอเดือดตักใส่ชาม รับประทานพร้อมข้าวสวยร้อนๆ อีกหนึ่งเมนูง่ายๆ สำรับคนรักสุขภาพ

ไอเดียการใช้แตงกวาเพื่อความงาม

1. ลดอาการผิวหน้าแห้ง

นำเนื้อแตงกวาขูดฝอยมาพอกที่บริเวณหน้าและและคอ 15-20 นาที จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว สามารถทำได้บ่อยตามที่ต้องการ

2. บำรุงผิวหน้า

นำผลของแตงกวามาคั้นเอาน้ำและนำมาผสมกับนมสดในปริมาณที่เท่าๆ กัน จากนั้นให้เติมน้ำลอยกลีบกุหลาบ 2-3 หยด ทาใบหน้าทิ้งไว้ 15-20 นาที จะช่วยให้ผิวหน้าขาวและนุ่มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. ลบถุงดำใต้ตา

ส่วนผสมประกอบด้วย น้ำแตงกวา 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันฝรั่งคั้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมให้เข้ากัน จากนั้นทาบริเวณขอบตาโดยรอบ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

4. ลดรอยดำใต้รักแร้

ส่วนผสมประกอบไปด้วยน้ำแตงกวา 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ ผงขมิ้น 1/2 ช้อนชา หลังจากอาบน้ำเสร็จเช็ดตัวให้แห้งแล้วนำสำลีชุบน้ำมันมะพร้าว 

เช็ดใต้รักแร้ให้แห้ง จากนั้นให้นำน้ำแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นมาผสมให้เข้ากัน ทาบริเวณใต้รักแร้ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

5. ทรีตเม้นท์แก้ผมเสีย

ส่วนผสมจะประกอบด้วยไข่ไก่ 1 ฟอง แตงกวาปอกเปลือก 1/4 ผล และน้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา ให้นำทั้ง 3 อย่างมาผสมรวมกัน แล้วชโลมลงไปบนเส้นผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นล้างออกให้สะอาด

6. ลดรอยคล้ำใต้ดวงตา

นำแตงกวามาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปหั่นเป็นแว่นๆ จากนั้นให้นำมาวางทับลงบนเปลือกตา ทิ้งไว้ 15-20 นาที ทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

ไอเดียการใช้แตงกวาเพื่อสุขภาพ

1. นำมาทำน้ำแตงกวาดื่มรักษาโรค

แตงกวาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อรักษาโรคและอาการป่วยได้หลากหลายชนิด เช่น แก้อาการหวัด ช่วยขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ดับกระหาย และเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย โดยการทำน้ำแตงกวาดื่มเพื่อสุขภาพนั้นก็ไม่ยากเลย 

ให้นำแตงกวามาฝานเป็นแว่นขนาดพอเหมาะ ใส่ลงในเหยือกน้ำแล้วเทน้ำลงไป จากนั้นนำไปแช่ตู้เย็นทิ้งไว้ 1 คืน ก็จะได้น้ำแตงกวาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว

2. นำมาใช้รักษาโรคเหงือก

เป็นการนำน้ำแตงกวามารักษาโรคเหงือกและฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากซึ่งจะช่วยลดกลิ่นปากได้เป็นอย่างดี เริ่มจากทำน้ำแตงกวาเช่นเดียวกับวิธีแรก จากนั้นอมน้ำแตงกวาไว้ในปากสักพักแล้วจึงบ้วนทิ้ง 

หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ให้ฝานแตงกวาเป็นแว่นขนาดพอเหมาะ แล้วใช้ลิ้นดันให้ติดเพดานปากไว้ประมาณครึ่งนาทีจะช่วยแก้ปัญหาในช่องปากได้

3. แก้อาการเมาค้าง

สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ ปาร์ตี้สังสรรค์กันบ่อยๆ จนเมาค้างกลับมาทุกวัน แตงกวาก็ช่วยแก้อาการเมาค้างได้อย่างดีเยี่ยม 

โดยการรับประทานแตงกวาสดๆ ก่อนเข้านอนหลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มา เพียงเท่านี้ก็ไม่ตื่นมาพร้อมกับอาการปวดหัว หรือเมาค้างแล้ว

4. ช่วยลดอาการอักเสบ

แตงกวามีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการอักเสบได้ดี โดยให้นำแตงกวามาฝานเป็นแว่น จากนั้นนำแตงกวามาวางไว้บริเวณที่อักเสบ ทิ้งไว้สักพักจะช่วยลดอาการบวมจากการอักเสบได้ดี ด้วยฤทธิ์เย็นของแตงกวายังสามารถบรรเทาอาการปวดได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานแตงกวาในปริมาณมาก เนื่องจากในแตงกวาจะมีกรดยูริค หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อโรค
  • แตงกวาเป็นผักที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสารตกค้าง เนื่องจากเป็นผักที่ศัตรูพืชสามารถกัดกินได้ง่าย ผู้ปลูกส่วนใหญ่จึงมักใช้ยากำจัดศัตรูพืชช่วย หากรับประทานแตงกวาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดการสะสมของสารตกเคมีค้างได้ ฉะนั้นก่อนนำแตงกวามารับประทานควรล้างน้ำให้สะอาดทุกครั้ง
  • แตงกวาเป็นผักที่หารับประทานได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไปแถมยังมีราคาถูกอีกด้วย แต่คุณประโยชน์ที่ได้รับกลับมากมายเกินราคา ประโยชน์หลักๆ ของแตงกวา จะเห็นได้ว่า แตงกวาจะช่วยในเรื่องของการปรับสมดุลให้กับร่างกาย ช่วยในเรื่องของการบำรุงผิวพรรณให้ดูดีขึ้น 
  • หากมีอาการไอ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแตงกวาเนื่องจากมีฤทธิ์เย็นจะยิ่งทำให้อาการไอแย่ลง

แตงกวา เป็นผักที่มีประโยชน์หลากหลาย ควรรับประทานเป็นอย่างมาก และสามารถรับประทานได้ทั้งแบบดิบ แบบสุก หรือแปรรูป อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานแตงกวาในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรบริโภคมากจนเกินไป เพราะทุกอย่างล้วนมีทั้งคุณและโทษผสมกันไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Phashanth M.D. cucumber Cucumis sativus benefits, research, rededies, side effect (https://easyayurveda.com/2016/08/24/cucumber-cucumis-sativus-benefits-ayurvedic-side-effects/)
Soltani R. (2017). Evaluation of the Effects of Cucumis sativus Seed Extract on Serum Lipids in Adult Hyperlipidemic Patients: A Randomized Double-Blind Placebo-Controlled Clinical Trial. J Food Sci. 2017 Jan;82(1):214-218. doi: 10.1111/1750-3841.13569. Epub 2016 Nov 25.
Nema NK, Maity N, Sarkar B, Mukherjee PK. (2011). Cucumis sativus fruit-potential antioxidant, anti-hyaluronidase, and anti-elastase agent. Arch Dermatol Res. 2011 May;303(4):247-52. doi: 10.1007/s00403-010-1103-y. Epub 2010 Dec 14.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป