กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันสกัดจากมะพร้าวโดยตรง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้คำว่า “น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์” จะหมายถึง น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ได้ผ่านการฟอก กรอง หรือแต่งกลิ่นใดๆ
  • น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์ช่วยบรรเทาโรคหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ รวมถึงกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • น้ำมันมะพร้าวสามารถรักษาโรคผิวหนังในเด็กได้ดีกว่าน้ำมันแร่ธาตุมากถึง 30% และยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังด้วย
  • ผู้ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูง ไม่ควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวมากเกินไป เพราะน้ำมันมะพร้าวสามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกายได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

น้ำมันมะพร้าว (Coconut oil) คือ น้ำมันที่สกัดได้จากของส่วนมะพร้าว ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวบางตัวจะใช้คำว่า “น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์” ซึ่งต่างจากน้ำมันมะกอกตรงที่ยังไม่มีมาตรฐานสำหรับรองรับคำว่า “บริสุทธิ์” 

โดยคำๆ นี้มักจะหมายความว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ไม่เคยถูกฟอกสี  กรอง หรือแต่งกลิ่นใด ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวบางตัวมักมีการอ้างว่า เป็นน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (cold pressed coconut oil) หมายความว่า ผ่านกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรที่ใช้วิธีกดนำน้ำมันออกมา ไม่ผ่านขั้นตอนที่เป็นความร้อน 

แต่ในความเป็นจริงวิธีนี้ต้องใช้แรงกดสูงมากซึ่งอาจต้องใช้ความร้อนบ้างแต่จะไม่เกิน 120 องศาฟาเรนไฮต์

คุณสามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวเพื่อควบคุมโรค และอาการเจ็บป่วยบางชนิดได้ เช่น 

แม้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะมีแคลอรี และไขมันอิ่มตัวสูง แต่หลายคนก็รับประทานน้ำมันชนิดนี้เพื่อลดน้ำหนักและลดระดับคอเลสเตอรอล

นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวสามารถนำไปทาผิวหนังเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ดูแลเด็กทารก และรักษาโรคผิวหนังอักเสบที่เรียกว่าโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ได้ ไม่เพียงเท่านั้นน้ำมันมะพร้าวยังถูกใช้ผสมกับผลิตภัณฑ์เพื่อเส้นผมหลายตัวซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันผมร่วง

การออกฤทธิ์ของน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยไขมันชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์สายกลาง (medium chain triglycerides)" โดยไขมันเหล่านี้บางตัวออกฤทธิ์ต่างจากไขมันอิ่มตัวในร่างกายชนิดอื่น เมื่อทาบนผิวหนังโดยตรงน้ำมันมะพร้าวจะออกฤทธิ์เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีใช้ และประสิทธิภาพของน้ำมันมะพร้าว

ภาวะที่อาจใช้น้ำมันมะพร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โรคผิวหนัง (Eczema) การทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิวหนังสามารถลดความรุนแรงของโรคผิวหนังในเด็กได้ดีกว่าการใช้น้ำมันแร่ธาตุถึง 30 % เนื่องจากมีผลช่วยเรื่องความชุ่มชื้นของผิวหนัง

ผลข้างเคียง และความปลอดภัยของน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้ทาบนผิวหนัง และยังค่อนข้างปลอดภัยหากจะใช้วิธีรับประทาน แต่น้ำมันมะพร้าวนั้นประกอบด้วยไขมันประเภทที่ส่งผลต่อการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล 

ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวในปริมาณที่มากเกินไป หากต้องใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นยาในระยะเวลาสั้นๆ ก็นับว่า อาจปลอดภัยหากรับประทานปริมาณ 10 mL 2-3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

  • สตรีมีครรภ์ และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ขณะนี้ยังขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการรับประทานน้ำมันมะพร้าวในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตร กับผู้อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงการรับประทานน้ำมันมะพร้าวเพื่อความปลอดภัย
  • เด็ก: แม้การใช้น้ำมันมะพร้าวทาบนผิวหนังเป็นเวลง 1 เดือน  อาจจะจัดว่าปลอดภัย แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องความปลอดภัยว่าเด็กควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นยาหรือไม่
  • คอเลสเตอรอลสูง: ตามปกติแล้วการรับประทานอาหารที่มีน้ำมันมะพร้าวสามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำที่ไม่ดี (low-density lipoprotein cholesterol) ได้ ดังนั้นการรับประทานน้ำมันมะพร้าวจึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูง

การรับประทานน้ำมันมะพร้าวไม่ได้แตกต่างไปจากการใช้น้ำมันอื่นๆ เพื่อสุขภาพ นั่นคือ ต้องรับประทานอย่างเหมาะสม อยู่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป หรือหากคุณไม่แน่ใจว่า ควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ ให้ลองปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการอาหารดูอีกครั้ง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The health benefits of coconut oil. BBC Good Food. (Available via: https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/health-benefits-coconut-oil)
30 Coconut Oil Uses for Beauty: Unexpected Hair & Skin Benefits. Allure. (Available via: https://www.allure.com/story/beauty-uses-for-coconut-oil)
14 Evidence-Based Benefits of Coconut Oil. Eat This, Not That. (Available via: https://www.eatthis.com/benefits-of-coconut-oil/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)