กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Lecithin (เลซิติน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เลซิติน คือ ไขมันจำเป็นต่อร่างกายที่พบได้ในอาหารบางชนิด เช่น ไข่ นม ถั่วลิวง เป็นไขมันที่นำมาใช้ทำเป็นยา รักษาความผิดปกติหลายๆ อย่างได้
  • ตัวอย่างโรค และความผิดปกติที่เลซิตินสามารถช่วยรักษาได้ คือ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคตับ ภาวะซึมเศร้าบางประเภท โรคปลอกประสาทเสื่อม โรคผิวหนังอักเสบ
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี คือ โรคที่เลซิตินสามารถช่วยรักษาได้ดี โดยช่วยเข้าไปจับไขมันในน้ำดีไม่ให้จับตัวเป็นก้อนนิ่ว
  • การรับประทานเลซิตินค่อนข้างปลอดภัย แต่ยังไม่มีหลักฐานมากพอที่บอกว่า ควรรับประทานในปริมาณเท่าไรก็ได้ อีกทั้งอาจมีผลข้างเคียง เช่น ท้องร่วง คลื่นไส้ ปวดท้อง
  • เลซิตินอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และเพราะยังไม่มีการวิจัย หรือการศึกษาเรื่องไขมันชนิดนี้มากพอ คุณจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เลซิตินเพื่อรักษาอาการป่วยต่างๆ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ การตรวจสุขภาพคนทั่วไปทุกวัยได้ที่นี่)

เลซิติน (Lecithin) คือ ไขมันที่จำเป็นต่อเซลล์ของร่างกาย สามารถพบได้จากอาหารหลายประเภท เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ไข่ นม ถั่วลิสง กะหล่ำปลี ช็อคโกแลต

ความสำคัญของเลซิติน

เลซิติน เป็นไขมันที่นำใช้ทำยา เพื่อรักษาภาวะผิดปกติด้านความจำอย่างโรคสมองเสื่อม (Dementia) และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ เลซิตินยังช่วยรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallbladder disease) โรคตับ ภาวะซึมเศร้าบางประเภท (Depression) ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) โรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple sclerosis) ป้องกันท่อน้ำนมอุดตันในแม่ที่ต้องให้นมบุตร และโรคผิวหนังอักเสบ (Eczema)

บางคนมักใช้วิธีทาเลซิตินบนผิวหนัง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง ในยาสำหรับรักษาโรคทางดวงตาบางประเภท ก็มีการใช้เลซิตินเพื่อกันไม่ให้ตัวน้ำยาสัมผัสกับกระจกตาโดยตรงด้วย

การทำงานของเลซิติน

ไขมันเลซิตินสามารถถูกเปลี่ยนเป็นสารที่สร้างขึ้นในสมองเรียกว่า "อะซิทิลคอลีน (Acetylcholine)" ซึ่งเป็นสารที่ใช้ส่งผ่านกระแสประสาท (Nerve impulses) ที่ไปสู่การควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ ทั้งอัตราการเต้นของหัวใจ การนอนหลับ การหายใจ การย่อยอาหาร การขับถ่าย และความจำ

การใช้ และประสิทธิภาพของเลซิติน

ภาวะที่อาจใช้เลซิตินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เลซิตินจะใช้สำหรับรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallbladder disease) ได้ดี เพราะผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีมักมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อบ่อยๆ หรือปวดท้องใต้ชายโครงด้านขวา เป็นๆ หายๆ ปวดร้าวไปด้านหลัง หรือสะบักขวา 

ซึ่งอาการเหล่านี้ เกิดมาจากน้ำดีในถุงน้ำดีขาดความสมดุล มีปริมาณคอเลสเตอรอลมากเกินไป จนเกิดผลึกกลายเป็นก้อนนิ่ว ซึ่งเลซิตินจะช่วยให้ไขมันในน้ำดีไม่จับตัวจนเป็นก้อนนิ่ว

ภาวะที่เลซิตินอาจไม่สามารถรักษาได้

ถึงแม้เลซิตินจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคทางจิตเวชได้ แต่ในโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ หรือสาเหตุอื่นๆ นั้น การรับประทานเลซิตินเพียงอย่างเดียวอาจไม่ช่วยเพิ่มความสามารถทางความคิดของผู้ป่วยด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หรือการรับประทานเลซิตินร่วมกับยาในกลุ่มที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เช่น ยาทาครีน (Tacrine) ยาเออร์โกลอยด์ (Ergoloids) ก็ไม่สามารถช่วยได้เช่นกัน

ภาวะที่เลซิตินอาจรักษาได้

ภาวะดังต่อไปนี้ เลซิตินอาจช่วยรักษาอาการให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาการเลซิตินสำหรับรักษาภาวะดังต่อไปนี้ เพราะภาวะเหล่านี้ยังมีไม่มีหลักฐาน หรืองานวิจัยที่รองรับมากเพียงพอ ได้แก่

  • คอเลสเตอรอลสูง เลซิตินสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีสุขภาพดี หรือผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาในการลดคอเลสเตอรอล ผ่านการใช้ยารักษาไขมันในเลือดสูง หรือเรียกว่ายาสแตติน (Statins) 
  • โรคอารมณ์สองขั้ว (Manic-depressive disorder) การรับประทานเลซิตินสามารถลดอาการประสาทหลอน พูดตะกุกตะกัก และหลงผิดในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงอารมณ์ดีากกว่าปกติ (Mania)
  • ผิวแห้ง โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Dermatitis) เลซิตินมักจะอยู่ในครีมผิวหนังเพื่อช่วยคงความชุ่มชื้นของผิวหนัง แม้ว่าจะมีผู้ใช้บางรายอ้างว่าใช้ได้ผล แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือแสดงให้เห็นว่า เลซิตินจะช่วยแก้โรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลข้างเคียง และความปลอดภัยของเลซิติน

คนส่วนมากสามารถรับประทานเลซิตินได้โดยจัดว่า มีความปลอดภัยค่อนข้างดี อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้อย่างท้องร่วง คลื่นไส้ ปวดท้อง หรือรู้สึกอิ่ม

คำเตือน และข้อควรระวังในการกินเลซิติน

ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่บอกว่า เลซิตินปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าว จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เลซิตินไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับเลซิตินนั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพ และภาวะความเจ็บป่วยอื่นๆ ของผู้ใช้ 

ซึ่ง ณ ขณะนี้ ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกถึงปริมาณที่เหมาะสมในการกินเลซิติน ดังนั้นคุณต้องจำไว้ว่า แม้เลซิตินจะเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ก็อาจมีสารอันตรายบางอย่างที่ไม่ปลอดภัย หรืออาจทำให้เกิดอาการแพ้ 

ดังนั้นคุณจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยา และปรึกษาแพทย์ กับเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้เลซิตินทุกครั้ง

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ การตรวจสุขภาพคนทั่วไปทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sherry Christiansen, The Health Benefits of Lecithin (https://www.verywellhealth.com/lecithin-4771091), 6 October 2019.
Jayne Leonard, Everything you need to know about lecithin (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319260.php), 5 September 2017.
Kathryn Watson, Lecithin Benefits (https://www.healthline.com/health/lecithin-benefits), 3 August 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)