กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Ovarian Cyst (ถุงน้ำรังไข่)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst) คือ ถุงที่เต็มไปด้วยสารน้ำ หรือสารกึ่งเหลว แต่ส่วนมากถุงน้ำนี้ก็ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา เช่น Functional cyst ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของรอบเดือนตามปกติ
  • ถุงน้ำที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น Dermoid Cyst เกิดจากเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ในมนุษย์ Cystadenomas เกิดจากเนื้อเยื่อของรังไข่และมีสารน้ำ หรือเมือกอยู่ภายใน Endometriomas เกิดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • อาการของถุงน้ำรังไข่ เช่น ปวดท้อง หรือปวดหนักๆ บริเวณหลังส่วนล่างและต้นขา ปวดท้องก่อนมีประจำเดือน หรือก่อนที่จะหมดรอบเดือน ปวดท้องระหว่างมีเพศสัมพันธ์ รู้สึกแน่นท้องส่วนล่าง ปวดปัสสาวะบ่อย
  • ถุงน้ำในรังไข่ชนิด Functional cyst มักหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในบางกรณีที่รุนแรง เช่น ถุงน้ำมีขนาดใหญ่ โตขึ้น ทำให้เจ็บ และไม่ใช่ถุงน้ำแบบ Functional cyst แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเปิดรังไข่เพื่อนำถุงน้ำออก แต่ในบางรายก็ต้องตัดรังไข่ออกไปด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง

ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst) คือ ถุงที่เต็มไปด้วยสารน้ำ หรือสารกึ่งเหลวที่เกิดขึ้นอยู่ด้านบน หรือข้างในรังไข่ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีถุงน้ำรังไข่เกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ส่วนมากถุงน้ำนี้ก็ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร 

เช่น ถุงน้ำชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตราย เรียกว่า "Functional cyst" ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของรอบเดือนตามปกติ ถุงน้ำนี้สามารถหดตัวหายไปได้เองภายใน 60 วัน โดยไม่ต้องรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุและประเภทของถุงน้ำรังไข่

หากถุงน้ำรังไข่นั้นไม่ได้เกิดจากการทำงานตามปกติของรอบเดือน อาจเป็นถุงน้ำประเภทใดประเภทหนึ่งต่อไปนี้

  • Dermoid Cyst ถุงน้ำชนิดนี้เกิดจากเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ในมนุษย์ ภายในจะมีเนื้อเยื่อ เช่น เส้นผม ผิวหนัง ฟัน ถุงน้ำชนิดนี้มักจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่สามารถโตจนขนาดใหญ่และอาจทำให้รังไข่เกิดการบิดตัว หรือออกจากตำแหน่งปกติ เรียกว่า "ภาวะรังไข่บิดขั้ว (Ovarian torsion)"
  • Cystadenomas เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเนื้อเยื่อของรังไข่และมีสารน้ำ หรือเมือกอยู่ภายใน สามารถโตจนมีขนาดใหญ่ได้
  • Endometriomas เป็นถุงน้ำที่เกิดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเกิดขึ้นที่รังไข่

อาการของถุงน้ำรังไข่

ถุงน้ำรังไข่ขนาดเล็กมักไม่ทำให้เกิดอาการ แต่ถุงน้ำรังไข่ที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดท้อง หรือปวดหนักๆ บริเวณหลังส่วนล่างและต้นขา
  • ปวดท้องก่อนมีประจำเดือน หรือก่อนที่จะหมดรอบเดือน
  • ปวดท้องระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ความดันในลำไส้เพิ่มขึ้น หรือมีอาการปวดขณะที่ลำไส้มีการเคลื่อนไหว
  • รู้สึกแน่นท้องส่วนล่าง
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือเจ็บเต้านม

การรักษาถุงน้ำในรังไข่

ถุงน้ำในรังไข่ชนิด Functional cyst มักหายไปได้เองในเวลาไม่กี่เดือนโดยไม่ต้องรักษา แต่ในบางกรณีแพทย์อาจให้รับประทานยา เช่น ยาคุมกำเนิด เพื่อยับยั้งการตกไข่และป้องกันไม่ให้เกิดถุงน้ำขึ้นในอนาคต 

ในบางกรณีที่รุนแรง เช่น ถุงน้ำมีขนาดใหญ่ โตขึ้น ทำให้เจ็บ และไม่ใช่ถุงน้ำแบบ Functional cyst แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเพื่อนำถุงน้ำออก ทั้งนี้ถุงน้ำบางประเภทก็สามารถนำออกไปได้โดยไม่ต้องผ่าตัดรังไข่ทิ้ง แต่ในบางรายก็ต้องตัดรังไข่และเหลือไว้แต่ท่อนำไข่และส่วนอื่นๆ 

หากเป็นถุงน้ำที่มีเซลล์มะเร็ง แพทย์จะส่งคุณไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ซึ่งอาจต้องผ่าตัดนำมดลูก รังไข่ และท่อนำไข่ออกทั้งหมด รวมทั้งมีการฉายรังสีและทำเคมีบำบัดด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำรังไข่

โดยมากถุงน้ำรังไข่มักไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนบางที่เกิดขึ้นได้และพบไม่บ่อย ได้แก่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การบิดของรังไข่ ถุงน้ำที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้รังไข่เกิดการเคลื่อนที่และบิดตัวจนเกิดอาการปวดและลดการไหลเวียนของเลือดที่มาหล่อเลี้ยงรังไข่ได้ อาการจากภาวะนี้ที่สังเกตได้คือ ปวดอุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน 
  • ถุงน้ำรังไข่แตก ยิ่งถุงน้ำมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดการแตกมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยกระตุ้นอย่างการมีเพศสัมพันธ์ หรือการทำกิจกรรมที่ใช้กำลังอย่างหนัก ซึ่งการแตกของถุงน้ำรังไข่จะนำมาซึ่งอาการปวดอย่างรุนแรงและมีเลือดออกภายใน

โดยมากถุงน้ำเหล่านี้จะตรวจพบระหว่างการตรวจภายในประจำปี หากสูตินรีแพทย์สงสัยว่า มีถุงน้ำในรังไข่ อาจส่งตรวจอัลตราซาวด์ต่อเพื่อให้เห็นภาพของอวัยวะภายในว่า มีความผิดปกติหรือถุงน้ำเกิดขึ้นหรือไม่ 

ดังนั้นผู้หญิงทุกคนเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป จึงจำเป็นต้องไปรับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันภาวะถุงน้ำรังไข่รวมถึงความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวด้วย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจ PCOS ด้วยชุดตรวจถุงน้ำรังไข่หลายใบจาก Yesmom (Leevawell) | HDmall
รีวิว ตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ด้วยชุดตรวจฮอร์โมน Yesmom (Leevawell) | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health Essentials from Cleveland Clinic, Signs You Have an Ovarian Cyst — and What to Do About It ( https://health.clevelandclinic.org/signs-you-have-an-ovarian-cyst-and-what-to-do-about-it/), 25 October 2019.
Cleveland Clinic, Ovarian Cysts: Management & Treatment, Symptoms, Diagnosis ( https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9133-ovarian-cysts), 27 October 2019.
MedlinePlus, Ovarian Cysts - Polycystic Ovary Syndrome (https://medlineplus.gov/ovariancysts.html), 25 October 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
มีรอบเดือนติดต่อกัน 1-2เดือนจะเป็นอะไรไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นซีสต์ที่รังไข่ไม่มีอาการเจ็บปวดแต่รอบเดือนมาน้อยตอนนี้อายุ 46 ปีควรจะตัดออกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยๆทั้งที่รอบเดือนหมดแล้วน่าจะเกิดจากอะไรค่ะ ปัจจุบันรอบเดือนหมดแล้วอายุ 46 ปี ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การมีรอบเดือนของผู้หญิง45วันมา1ครั้งถือว่าผิดปกติหรือไม่ค๊?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อายุ39 เวลาเป็นรอบเดือน จะมีใข้คั้นเนื่อคั้นตัวทุกครั้งเป็นเพราะสาเหตุรัยคะและจะบ่งบอกถึงโรครัยลึเปล่าคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
รอบเดือนมาไม่ปกติแล้วจะมีโอกาสท้องไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)