การขาดน้ำมันปลาเป็นตัวช่วยด้านปัญหาทางสุขภาพหลายอย่าง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการรับประทานน้ำมันปลาปริมาณสูงจะทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และช่วยป้องกันโรคได้
น้ำมันปลาพิเศษอย่างไร
น้ำมันปลานั้นอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 (Omega-3) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่เราจะได้รับจากอาหารเท่านั้น เพราะร่างกายเราไม่สามารถสร้างได้ ส่วนน้ำมันตับปลาไม่ใช่น้ำมันปลาที่เราต้องการ เพราะในตับของสัตว์ทุกชนิดล้วนมีคอเลสเตอรอลสูง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
กรดไขมันโอเมกา-3 นั้นประกอบด้วย
- กรดดีเอชเอ (Docosahexaenoic: DHA)
- กรดอีพีเอ (Eicosapentaenoic: EPA)
สำหรับตัวอย่างเนื้อปลาที่มีไขมันมาก และอุดมไปด้วยโอเมกา-3 จะได้แก่
- ปลาแซลมอน
- ปลาแมคคาเรล
- ปลาซาร์ดีน
ผัก ธัญพืชบางชนิด ซึ่งรับประทานเพียง 1-2 หน่วยบริโภคต่อวัน ก็เพียงพอที่จะช่วยคุณให้ไม่เกิดภาวะขาดสารอาหารโอเมกา-3 ได้แล้ว เช่น
- เมล็ดลินิน (Flaxseeds)
- เมล็ดเจีย (Chia seeds)
- ถั่ววอลนัท (Walnuts)
- เมล็ดฟักทอง (Pumpkin seed)
- น้ำมันคาโนลา (Canola)
นอกจากนี้ผักบางชนิดยังเปี่ยมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 ในรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน รวมถึงกรดอัลฟา ลิโนลีนิค (Alpha linolenic) ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นกรดดีเอชเอ และกรดอีพีเอ ได้
ความสำคัญของกรดไขมันโอเมกา-3
กรดไขมันโอเมกา-3 นั้นมีบทบาทสำคัญในการทำงานของสมอง การเจริญเติบโตและพัฒนาการ และกระบวนการอักเสบ การขาดกรดไขมันโอเมกา-3 มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพหลายอย่าง รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งบางชนิด โรคทางอารมณ์ โรคข้ออักเสบ และอื่น ๆ
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การได้น้ำมันปลาในปริมาณที่สูง จะทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือช่วยป้องกันโรคได้ เช่น ช่วยลดการเกิดหัวใจวาย หลอดเลือดสมอง การตายจากโรคหัวใจในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจอยู่แล้ว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไม่ใช่แค่กรดไขมันโอเมกา-3 เท่านั้น แต่การรับประทานอาหารเสริมบางประเภท ก็ไม่ได้เป็นตัวช่วยให้สุขภาพหรือการทำงานในร่างกายแข็งแรงขึ้นขนาดนั้น เช่น วิตามินอี เบตาแคโรทีน (Beta carotene)
วิธีรับประทานเพื่อให้ได้ผลดี
ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม พอดี และอย่าเลือกทานแค่อาหารเสริม เพียงเพราะต้องการกรดไขมันโอเมกา-3 เท่านั้น แต่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนด้วย เช่น วิตามิน เกลือแร่ หรือหากคุณรู้สึกเบื่อ ไม่อยากทานเม็ดน้ำมันปลาแล้ว คุณก็สามารถรับประทานปลา และอาหารทะลอื่นๆ เพื่อสุขภาพได้
ขนาดรับประทานที่พอเหมาะ ได้แก่ ปลาทะเลวันละ 30 กรัม น้ำมันปลาวันละ 3 กรัม (1,000-3,000 มิลลิกรัม) เป็นต้น
นอกจากนี้ อย่าเข้าใจผิดว่าการรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามินเสริมนั้นดีกว่าการรับประทานอาหารจริงๆ เพราะการรับประทานอาหารเสริมนั้น ไม่ได้ช่วยชดเชยความสมบูรณ์ของสารอาหารที่หลากหลาย เหมือนกับที่คุณจะได้รับจากการทานผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์หรือธัญพืชโดยตรง
น้ำมันปลากับการรักษาอาการป่วย
นอกจากคุณค่าทางสารอาหาร น้ำมันปลายังได้รับการยอมรับว่าเป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณต้องรับประทานน้ำมันปลาเพื่อบรรเทาอาการโรคแทรกซ้อนต่างๆ ให้รับประทานตามแพทย์สั่ง และอย่ากะปริมาณเอาเอง
น้ำมันปลาและเนื้อปลาทะเล มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด โอเมกา-3 มาก ซึ่งช่วยในการป้องกันการแข็งตัวของเลือด และป้องกันการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าน้ำมันชนิดอื่น
โทษแฝงของน้ำมันปลา
จากการศึกษาของศูนย์การศึกษาวิจัยมะเร็งเฟร็ด ฮัทชินสัน (Fred Hutchingson) ในซีแอตเทิล พบว่าอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของน้ำมันปลา จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึง 43% และสามารถเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดร้ายแรงได้ถึง 71%
นอกจากนี้ การบริโภคปลาทะเลหรือน้ำมันปลามากเกินไป จะทำให้เลือดออกง่ายเลือดหยุดยาก โดยเฉพาะเมื่อรับประทานร่วมกับยาอื่น เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
จากข้อมูลข้างต้น จึงเห็นได้ว่าสารอาหารบางชนิดก็ไม่ได้สร้างคุณประโยชน์เสียอย่างเดียว แต่ยังสามารถสร้างโทษ และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่อร่างกายได้อีกด้วย