กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

น้ำมันปลา (Fish Oil) น้ำมันเพื่อสุขภาพ กับคุณประโยชน์ ที่คุณควรรู้

ทำความรู้จักน้ำมันปลา ไขมันดีๆ ที่หากรับประทานอย่างถูกต้อง จะมีประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกายมากมาย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
น้ำมันปลา (Fish Oil) น้ำมันเพื่อสุขภาพ กับคุณประโยชน์ ที่คุณควรรู้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • น้ำมันปลาคือ น้ำมันที่สกัดมาจากส่วนประกอบของปลาไม่ว่าจะเป็นเนื้อปลา หัวปลา หนังปลา และหางปลา นิยมสกัดน้ำมันจากปลาทะเลที่มีไขมันสูง  เช่น ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี ปลาเฮริ่ง ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน
  • น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โอเมกา-3  โอเมกา-6 ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันอีพีเอ กรดไขมันดีเอชเอ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยบำรุงระบบประสาท หรือรักษาสิว 
  • การรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ปวดท้อง ท้องเสีย เรอเป็นกลิ่นคาวปลา ในรายที่มีการแพ้น้ำมันปลา อาจทำให้เกิดอาการผื่นคัน และอาหารไม่ย่อย ฝาดในปาก
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดบาดแผล เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ที่รับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ต้องระมัดระวังการรับประทานน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลามากเป็นพิเศษ 
  • เปรียบเทียบราคาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้ที่นี่

เมื่อพูดถึง “น้ำมัน” ใครหลายคนคงพยายามหลีกเลี่ยงรับประทานไขมันในน้ำมันที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคมะเร็ง

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไขมันมีทั้งชนิดดีและไม่ดี ซึ่งการรับประทานไขมันดี เช่น “น้ำมันปลา (Fish oil)” ในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยกำจัดไขมันไม่ดีในร่างกายแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกายอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำมันปลาคืออะไร?

น้ำมันปลาคือ น้ำมันที่สกัดมาจากส่วนประกอบของปลาไม่ว่าจะเป็นเนื้อปลา หัวปลา หนังปลา และหางปลา

ปลาที่สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันได้นั้นจะต้องเป็นปลาทะเลที่มีไขมันสูง เติบโตในแหล่งน้ำทะเลลึกและน้ำเย็น เช่น ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี ปลาเฮริ่ง ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน 

ปัจจุบันผู้คนนิยมรับประทานน้ำมันปลากันมากขึ้น เนื่องจากน้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โอเมกา-3 (Omega-3) โอเมกา-6 (Omega-6) ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic acid: EPA) 

กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid: DHA) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยบำรุงระบบประสาท หรือรักษาสิว 

น้ำมันปลาที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร?

น้ำมันปลาที่มีคุณภาพ ควรมีสัดส่วนปริมาณของกรดไขมันดีเอชเอต่อกรดไขมันอีพีเออยู่ที่ 1 ต่อ 2 หรือ 2 ต่อ 3

รวม 7 ประโยชน์ของน้ำมันปลา

1. น้ำมันปลาใช้เป็นยารักษาภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (Hypertriglyceridemia)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันอิสระจำพวกดีเอชเอ และอีพีเอ ซึ่งเป็นไขมันดีที่มีประโยชน์ต่อการลดการสะสมของไขมันชนิดที่ไม่ดีในเลือด 

ในทางการแพทย์ได้นำน้ำมันปลามาทำเป็นยาเพื่อใช้ควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยใช้รักษาผู้ที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองจากการรับประทานอาหารจำพวกเนย น้ำมัน หรือไขมันต่างๆ หากร่างกายสะสมไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

2. น้ำมันปลาช่วยให้สุขภาพกระดูกดีขึ้น

ไม่ได้มีเพียงแค่แคลเซียม วิตามินดี และแมกนีเซียม ที่เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก แต่ยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิดดีเอชเอที่เป็นสารอาหารจำเป็นในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงด้วยเช่นกัน 

การรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณที่เหมาะสมจึงช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้นนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. น้ำมันปลาช่วยบรรเทาอาการโรคข้อกระดูกอักเสบ

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยบริสตอล พบว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา สามารถบรรเทาอาการของโรคข้อกระดูกอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญ 

โดยเมื่อทำการทดลองให้อาหารที่มีโอเมก้า-3 สูงแก่หนูตะเภาที่เป็นโรคข้อกระดูกอักเสบ พบว่า สามารถช่วยรักษาโรคได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับหนูที่กินอาหารแบบปกติ

4. น้ำมันปลาช่วยเสริมสร้างพลังให้สมองและความจำ

กรดไขมันดีเอชเอในน้ำมันปลา เป็นสารอาหารบำรุงสมองชั้นดี มีส่วนช่วยให้สมองทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านความจำ ด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท (Motor skill) รวมถึงระบบการมองเห็นของจอประสาทตา (Retina) 

5. น้ำมันปลาช่วยรักษาสิวได้

กรดไขมันอีพีเอและกรดไขมันดีเอชเอที่พบในน้ำมันปลา มีส่วนช่วยในการผลิตสารพรอสตาแกลดิน (Prostaglandins) ที่มีหน้าที่หลักในการรักษาระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 

ทั้งนี้ฮอร์โมนแอนโดรเจนที่ผลิตมากเกินไปเป็นหนึ่งในตัวการผลิตไขมันบนผิว ทำให้เป็นสิวอุดตันนั่นเอง

6. น้ำมันปลาช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

เนื่องจากน้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันดี ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ อีกทั้งยังต้านการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ทางการแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดรับประทานน้ำมันปลาเป็นประจำ

7. น้ำมันปลาช่วยชะลอวัย

กรดไขมันโอเมกา-3 ในน้ำมันปลา ไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันอีพีเอ หรือกรดไขมันดีเอชเอ ล้วนมีส่วนช่วยในการต้านการอักเสบภายในร่างกาย ซึ่งการอักเสบในร่างกายนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย น้ำมันปลาจึงมีสรรรพคุณในการช่วยชะลอวัยนั่นเอง

รับประทานน้ำมันปลาอย่างไรให้ปลอดภัย?

  • บุคคลทั่วไป ควรรับประทานปลาทะเล หรือน้ำมันปลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรรับประทานน้ำมันปลา 1,000 มิลลิกรัม/วัน
  • ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ควรรับประทานน้ำมันปลาวันละ 2 – 4 กรัม
  • ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตรับประทานน้ำมันปลาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • น้ำมันปลาอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ หรือรับประทานยาลดความดัน ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

การรับประทานอาหารเสริม ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน หรือสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพื่อดูว่า เราจำเป็นต้องรับประทานหรือไม่ หรือหาปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทาน เพราะหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีได้

ผลข้างเคียงของการรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณที่มากเกินไป

การรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น

  • คลื่นไส้ ปวดท้อง และท้องเสีย แก้ไขได้โดยการรับประทานหลังมื้ออาหาร และเริ่มรับประทานในปริมาณต่ำๆ ก่อน
  • เรอเป็นกลิ่นคาวปลา
  • ฝาดในปาก
  • ในรายที่มีการแพ้น้ำมันปลา อาจทำให้เกิดอาการผื่นคัน และอาหารไม่ย่อย
  • เมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้มีกลิ่นคาวออกมาจากผิวหนัง
  • การรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลง

ข้อควรระวังในการรับประทานน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา

น้ำมันปลามีสรรพคุณในการต้านการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด และทำให้เลือดหยุดไหลช้า

ดังนั้นบุคคลกลุ่มต่อไปนี้ต้องระมัดระวังการรับประทานน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลามากเป้นพิเศษ 

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดบาดแผล เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 
  • ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร 
  • ผู้ที่รับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน (Aspirin) หรือวอร์ฟาริน (Warfarin) ควรระมัดระวังในการรับประทานยา

นอกจากนี้ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานน้ำมันปลา หรือน้ำมันตับปลา อย่างน้อย 14 วัน และต้องแจ้งแพทย์ที่ทำการผ่าตัดว่า กำลังรับประทานน้ำมันปลา หรือน้ำมันตับปลาอยู่

ความแตกต่างระหว่างน้ำมันปลากับน้ำมันตับปลา

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลาเป็นน้ำมันชนิดเดียวกัน และมีประโยชน์เหมือนๆ กัน นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะน้ำมันปลากับน้ำมันตับปลานั้นมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน

น้ำมันปลาจะอุดมไปด้วยกรดไขมันดีเอชเอและกรดไขมันอีพีเอ ในขณะที่น้ำมันตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินดี ทำให้เป้าหมายในการรับประทานน้ำมัน 2 ชนิดนี้แตกต่างกันนั่นเอง

น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนรับประทานเพื่อไม่ให้มีโทษ หรือผลข้างเคียงตามมา และที่สำคัญเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย  จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Siscovick DS, Barringer TA, Fretts AM, et al. Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acid (Fish Oil) Supplementation and the Prevention of Clinical Cardiovascular Disease: A Science Advisory From the American Heart Association. Circulation. 2017;135(15):e867-e884. doi:10.1161/CIR.0000000000000482.
Petersson S, Philippou E, Rodomar C, Nikiphorou E. The Mediterranean diet, fish oil supplements and Rheumatoid arthritis outcomes: evidence from clinical trials. Autoimmun Rev. 2018;17(11):1105-1114. doi:10.1016/j.autrev.2018.06.007.
Nelson AJ, Nicholls SJ. Translating evidence from clinical trials of omega-3 fatty acids to clinical practice. Future Cardiol. 2020;16(4):343-350. doi:10.2217/fca-2019-0031.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?

ไขมันจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย แต่การรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม