กรดไขมันโอเมก้า-3

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กรดไขมันโอเมก้า-3

กรดไขมันโอเมก้า-3

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ไขมันนี้ดีต่อร่างกายคุณอย่างไร อาหารเสริมที่ควรรับประทานหากไม่สามารถรับประทานปลาได้ ข้อควรระวังในการรับประทานในปริมาณที่สูงเกินไป รวมทั้งคำเตือนและข้อแนะนำเกี่ยวกับแหล่งที่มาของโอเมก้า-3 อันได้แก่ ปลาที่ควรหลีกเลี่ยง ปลาที่ควรรับประทาน ปลาอื่นๆ เพื่อเป็นตัวเลือก สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

กรดไขมันโอเมก้า-3 ทำอะไรให้คุณได้บ้าง

กรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นส่วนประกอบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของปลาและน้ำมันจากปลา อีพีเอ (EPA: กรดไอโคซาเพนทาโนอิก) และดีเอชเอ (DHA: กรดด๊อกโคซาเฮกซาโนอิก) ไขมันที่ดีเหล่านี้มีอยู่ในไข่ด้วย แต่ปริมาณน้อยกว่า และมีการค้นพบว่า ไขมันโอเมก้า-3 อาจมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาที่ยอดเยี่ยมมาก ยกตัวอย่างเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นอันตราย ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันและเส้นเลือดในสมองแตก
  • ช่วยป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ลดความหนืดของเกล็ดเลือด และลดปริมาณสารไฟบรินในเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด
  • ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม และอาจช่วยในการรักษาด้วย
  • ช่วยบรรเทาอาการคันและแห้งของโรคสะเก็ดเงิน
  • ลดการต่อต้านเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ช่วยในการลดความถี่และความรุนแรงของโรคปวดศีรษะไมเกรน
  • ต่อต้านผลร้ายจากสารโพรสตาแกลนดิน (ซึ่งลดภูมิต้านทานและเพิ่มการเติบโตของเนื้องอก) และช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม
  • ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • ช่วยให้ผิว ผม และเล็มมีสุขภาพดี
  • ช่วยบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์

หากคุณไม่ชอบปลาหรือไม่สามารถรับประทานปลาได้สม่ำเสมอ อาจเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันปลาหรือฟิชออยล์แทนก็ได้ น้ำมันจากปลาทะเลเข้มข้นประมาณ 10 แคปซูลมักจะมีอีพีเออยู่ 1.8 กรัม (แซลมอน 4 ออนซ์จะมีอีพีเอประมาณ 1 กรัม) กรดแอลฟาไลโนแลนิก (เอแอลเอ) ซึ่งพบมากในเมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท และเมล็ดฟักทอง ก็จัดเป็นแหล่งของโอเมก้า-3 ที่ดีเช่นกัน

ข้อควรระวัง: การรับประทานโอเมก้า-3 เสริมอาหารในปริมาณสูง อาจทำให้บางคนเกิดอาการฟกช้ำหรือเลือดออกง่ายจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดการฟกช้ำหรือเลือดออกง่ายควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ หากรับประทานร่วมกับวิตามินอีในปริมาณสูงอาจส่งผลให้เลือดออกภายในได้ หากคุณกำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น คูมาดิน หรือเฮปารีน ไม่ควรรับประทานโอเมก้า-3 นอกเสียจากว่าแพทย์ของคุณแนะนำ ผมแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนที่จะเริ่มรับประทานโอเมก้า-3 หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ

คำเตือนและข้อแนะนำเกี่ยวกับแหล่งที่มาของโอเมก้า-3

ถึงแม้ว่าปลาบางชนิดจะมีโอเมก้า-3 สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะรับประทานปลาชนิดนั้นในปริมาณมาก ปลาใหญ่ที่กินปลาอื่นเป็นอาหารจะมีสารปรอทสะสมในปริมาณสูง เช่นเดียวกับสารพิษ PCBs (พอลิคลอริเนเทดไบฟีนิล: พิษจากสารปรอททำให้ความจำเสื่อม ซึมเศร้า เส้นประสาทถูกทำลาย พิการแต่กำเนิด เป็นโรคหัวใจ และอื่นๆ อีกมากมาย) และด้วยเหตุผลนี้เอง ถึงแม้ว่าองค์การอาหารและยาและองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกายังไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระดับที่ “ปลอดภัย” ของสารปรอทในปลาควรจะเป็นเท่าใด แต่ก็ได้ระบุรายชื่อปลาที่เด็กและหญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง และในความเห็นของผมคือ ทุกคนที่เป็นห่วงสุขภาพควรที่จะหลีกเลี่ยงด้วย

ปลาที่ควรหลีกเลี่ยง

ปลาฉลาม ปลากระโทงแทงดาบ ปลาอินทรี ปลาไทล์ฟิช (บางครั้งผู้ขายจะระบุว่าเป็นปลากะพง) ปลาทูน่า ปลากะพง ปลามาลิน ปลาฮาลิบัด ปลาวอล์อาย ปลาจำพวกกะพงปากกว้าง ปลาสำลีน้ำลึก และปลาเก๋า

ปลาที่ควรรับประทาน

ปลาซาร์ดีน แซลมอน กุ้ง ปลานิลทะเล ปลาดุกทะเล หอยกาบ และหอยนางรม (โดยทั่วไป สัตว์ทะเลที่มีเปลือกจะมีปรอทต่ำ หอยพัดจัดเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน แต่เบน เรนส์ นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ โมบิล (แอละแบมา) รีจีสเตอร์ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลจากการตรวจสอบเรื่องสารปรอทในปลาชี้ว่า ควรระวังชาวประมงไร้ศีลธรรมบางคนที่ใช้เนื้อฉลามซึ่งมีสารปรอทเจือปนสูงมาทำเทียม หอยพัดของจริงจะต้องมี “ก้าน” เล็กๆ ที่ปลายด้านหนึ่ง) โดยทั่วไปปลาที่เลี้ยงจากฟาร์มมีระดับปรอทต่ำกว่าปลาในธรรมชาติ

ปลาอื่นๆ เพื่อเป็นตัวเลือก

ปลาตาเดียว ปลามาฮีมาฮี ปลากะพงแดง และปลาเทราต์จัดว่าปลอดภัยสำหรับผู้ชาย และผู้หญิงที่ไม่ได้อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ โดยรับประทานได้ไม่เกินสัปดาห์ละครั้ง (มาฮีมาฮีและกะพงแดงมีระดับสารปรอทปานกลาง ควรจำกัดการรับประทานในเด็กและผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ให้เหลือเพียงเดือนละครั้ง)

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?

ไขมันจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย แต่การรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่ม
น้ำมันปลา ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?
น้ำมันปลา ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?

ประโยชน์และโทษของน้ำมันปลา ที่คุณอาจไม่เคยรู้

อ่านเพิ่ม