เมล็ดทานตะวัน (Sunflower Seed)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เมล็ดทานตะวัน (Sunflower Seed)

เมล็ดทานตะวันเป็นของว่างที่นิยมนำมาทานเล่น ในเมล็ดทานตะวัน มีสารอาหารมากมาย เช่น โปรตีน วิตามินเอ แคลเซียม ที่ล้วนมีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเมล็ดทานตะวัน สามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักเมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวัน (Sunflower) เป็นส่วนที่อยู่ในผล ซึ่งอยู่ตรงกลางของดอก โดยผลที่มีขนาดใหญ่สุด จะอยู่ด้านนอกสุดติดกับกลีบดอก และจะลดขนาดลงไปเรื่อย ๆ จนถึงกึ่งกลาง ลักษณะของผลจะเป็นทรงรีที่มีด้านแหลม และด้านมน ใน 1 ผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด โดยทั่วไปแล้วเมล็ดทานตะวันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือแบบที่ใช้สกัดน้ำมัน แบบที่นำมาใช้รับประทาน และแบบที่เอาไปใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ปีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันอบแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 584 กิโลแคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังต่อไปนี้

โปรตีน 20.78 กรัม
ใยอาหาร 8.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 20 กรัม
ไขมัน 51.46 กรัม
น้ำตาล 2.6 กรัม
แมงกานีส 1.950 มิลลิกรัม
โซเดียม 9 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 53 ไมโครกรัม
ฟอสฟอรัส 660 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 5.25 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 645 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 50 หน่วยสากล
วิตามินอี 35.17 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 1.48 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.355 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 8.335 มิลลิกรัม
วิตามินซี 1.4 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันมีสรรพคุณ ดังนี้

  1. บำรุงผิวให้มีสุขภาพดี ในเมล็ดทานตะวันเต็มไปด้วยทองแดง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลิตเมลานินที่จะช่วยทำให้ผิวพรรณกระจ่างใส จึงทำให้ผิวมีสุขภาพดีอยู่เสมอ
  2. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เมล็ดทานตะวันมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ป้องกันเยื่อหุ้มเซลล์ กระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดง ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นปกติ จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้
  3. ปรับสมดุลในร่างกาย การรับประทานเมล็ดทานตะวันจะช่วยปรับสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็จะช่วยกระตุ้นให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  4. ช่วยขับหนองใน เมล็ดทานตะวันมีสรรพคุณที่ช่วยในการขับหนองใน ซึ่งเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง โดยจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
  5. บำรุงตับไต เมล็ดทานตะวันมีสรรพคุณช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง พร้อมขับสารพิษและของเสียออกไปจากร่างกาย
  6. บำรุงสายตา การรับประทานเมล็ดทานตะวันเป็นประจำ จะช่วยบำรุงและปกป้องดวงตาจากการเสื่อมสภาพและถูกทำลายด้วยแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์มือถือได้ เพราะมีวิตามินเอสูง และยังลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้อีกด้วย
  7. เป็นยาขับปัสสาวะ เมล็ดทานตะวันมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ โดยน้ำมันที่ได้จากเมล็ดทานตะวัน จะช่วยแก้ปัญหาปัสสาวะติดขัด แก้นิ่ว และบรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  8. ต้านอนุมูลอิสระ เมล็ดทานตะวัน มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้ผิวพรรณดูเต่งตึง อ่อนเยาว์อยู่เสมอ
  9. รักษาโรคบิด โรคบิดสามารถบรรเทาและรักษาให้หายได้ด้วยการทานเมล็ดทานตะวัน โดยจะช่วยลดความรุนแรงของอาการลง ในกรณีที่มีอาการบิดและถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย ก็สามารถใช้ดอกและฝักของต้นทานตะวันมาใช้ในการรักษาให้หายเป็นปกติได้

ประโยชน์จากส่วนอื่นๆ ของต้นทานตะวัน

นอกจากเมล็ดทานตะวันแล้ว ส่วนอื่นๆ ของต้นก็มีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  1. ใบ - บรรเทาอาการโรคเบาหวาน ใบทานตะวันมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติ โดยการรับประทานใบทานตะวันควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวานได้ดีขึ้น
  2. ใบ - รักษาแผลไฟไหม้ นำใบทานตะวันมาโขลก แล้วนำมาพอกบริเวณแผล ทำบ่อยๆ เป็นประจำทุกวันจนกว่าแผลจะหาย
  3. ดอก - แก้อาการปวดฟัน นำดอกทานตะวันแห้งประมาณ 25 กรัม มาสูบเหมือนกับสูบยาสูบ จะช่วยให้อาการปวดฟันค่อยๆ บรรเทาลง แต่ทั้งนี้หลังจากหายปวดฟันแล้วก็ควรไปดูแลรักษาฟัน อุดหรือถอนฟันให้เรียบร้อย จะได้ไม่กลับมาปวดอีก
  4. ฐานรองดอก - แก้ปวดประจำเดือน นำฐานรองดอก 1 อัน ผสมกับน้ำตาลทรายแดง 30 กรัม และกระเพาะหมู มาต้มกับน้ำเปล่า แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มก่อนถึงวันประจำเดือนมา ก็จะทำให้อาการปวดท้องลดน้อยลง หรืออาจไม่พบอาการปวดท้องเลย
  5. ลำต้น - รักษาแผลสด นำต้นทานตะวันมาสกัดจนได้เป็นขี้ผึ้งใส่กระปุกเก็บไว้ เมื่อเป็นแผลก็นำขี้ผึ้งจากต้นทานตะวันมาทาเป็นประจำทุกวัน แผลจะค่อยๆ สมานและหายเป็นปกติในที่สุด

แนวทางการใช้เมล็ดทานตะวันเพื่อสุขภาพ

เมล็ดทานตะวันสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพได้อย่างหลากหลายดังต่อไปนี้

  1. แก้ไอ บรรเทาหวัด นำเมล็ดทานตะวันมาคั่วให้เหลือง ชงกับน้ำดื่มเป็นประจำ จะทำให้อาการป่วยค่อยๆ ทุเลาลงและหายเป็นปกติในที่สุด
  2. แก้มูกโลหิต นำเมล็ดทานตะวันประมาณ 30 กรัม มาต้มกับน้ำตาล น้ำสะอาดประมาณ 60 นาที จากนั้นนำน้ำที่ได้มาดื่ม จะทำให้อาการมูกโลหิตหายเป็นปกติในไม่ช้า
  3. บรรเทาอาการหูอื้อ นำเปลือกของเมล็ดทานตะวัน 10 กรัม มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้มกับน้ำเปล่า นำน้ำที่ได้มาดื่ม จะช่วยลดอาการหูอื้อลง
  4. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในคนที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย จนเกิดอาการแสบร้อน คัน หรือเกิดอาการแพ้ ให้นำน้ำมันที่ได้จากเมล็ดทานตะวันมาทาบริเวณที่ถูกกัด จะช่วยถอนพิษแมลงออกไปจนหมด

เมนูสุขภาพที่ทำจากเมล็ดทานตะวัน

ยกตัวอย่างเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. เมล็ดทานตะวันคั่วเกลือ นำเมล็ดทานตะวันมาคั่วให้แห้ง เติมเกลือลงไปตามชอบ จากนั้นก็นำมารับประทานเล่นแทนขนมได้เลย
  2. คุกกี้ทานตะวัน นำแป้ง 1 ¼ ถ้วยตวง ผงฟู 1 ช้อนชา และเกลือ ¼ ช้อนชา มาผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นนำเนยกับน้ำตาลอย่างละ ½ ถ้วยตวง มาตีผสมด้วยกันจนขึ้นฟู ใส่ไข่กับวานิลลาลงไป แล้วตีให้เข้ากันอีกครั้ง นำแป้งที่ผสมไว้เทใส่ลงไป ใช้พายคนให้เข้ากันแล้วโรยเมล็ดทานตะวัน ตักส่วนผสมหยอดลงบนถาดอบโดยหยอดให้ห่างกันประมาณ 2 นิ้ว อบด้วยความร้อน 375 ํF ประมาณ 10-12 นาที
  3. ยำต้นอ่อนทานตะวันหมูยอ ให้ทำน้ำยำก่อนโดยนำพริกสด น้ำมะนาว น้ำตาลมะพร้าวและน้ำปลามาผสมเข้าด้วยกัน ปรุงให้ได้รสชาติตามชอบ แล้วใส่ต้นอ่อนทานตะวัน มะเขือเทศ เห็ดเข็มทอง แคร์รอต และหมูยอ ลงไปในน้ำยำที่เตรียมไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน

ข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าเมล็ดทานตะวันจะอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย แต่ก็มีสารที่อาจเป็นอันตรายต่อคนท้องได้ จึงไม่ควรให้คนท้องรับประทานเป็นอันขาด

ที่มาของข้อมูล

Brandi Marcene, 11 Amazing Health Benefits of Sunflower Seeds (https://www.naturalfoodseries.com/11-benefits-sunflower-seeds/), 2018

Marsha McCulloch, Are Sunflower Seeds Good for You? Nutrition, Benefits and More (https://www.healthline.com/nutrition/sunflower-seeds), 2018

United States Department of Agriculture, Basic Report: 12036, Seeds, sunflower seed kernels, dried (https://ndb.nal.usda.gov/ndb/foods/show/12036), 2018

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม, ทานตะวัน (http://academic.udru.ac.th/~culture/?p=1547), 21 เมษายน 2016


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sunflower Seed Nutrition Facts: Calories, Carbs, and Health Benefits. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/calories-in-sunflower-seeds-and-their-health-benefits-4119941)
Sunflower Seed (Confectionery). Agricultural Marketing Service. (https://www.ams.usda.gov/book/oilseeds-sunflower-seed-confectionery)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป