กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษาโรคลูปัส เป็นอย่างไร รักษาหายไหม? อยู่ได้กี่ปี?

วิธีการรักษาโรคลูปัส พร้อมข้อมูลอายุขัยของคนเป็นโรค
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 14 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การรักษาโรคลูปัส เป็นอย่างไร รักษาหายไหม? อยู่ได้กี่ปี?

ไม่มีการรักษาใดที่จะรักษาโรคลูปัสให้หายขาดได้ แต่การรักษาจะช่วยบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้น

โรคลูปัสเป็นโรคอักเสบเรื้อรังที่สามารถก่อให้เกิดหลากหลายอาการในส่วนต่างๆทั่วร่างกาย แม้จะยังไม่มีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่เราสามารถจัดการกับอาการของมันได้ด้วยวิธีรักษาหลายๆทางเลือก แผนการรักษาจะขึ้นอยู่กับว่าอาการของผู้ป่วยรุนแรงแค่ไหนและผู้ป่วยได้ประสบกับช่วงกำเริบของโรคเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่ (เป็นระยะที่โรคแสดงอาการ) ระยะกำเริบมีตั้งแต่อาการอ่อนๆไปจนถึงรุนแรง เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อป้องกันการกำเริบของโรค รักษาอาการที่กำเริบขึ้น และจำกัดหรือลดความเสียหายที่จะเกิดกับอวัยวะหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคลูปัส

ยาทั่วๆไปที่ใช้เพื่อรักษาโรคลูปัส ได้แก่:

ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs): ใช้รักษาอาการปวด บวม และมีไข้เนื่องจากโรคลูปัส

ยาNSAIDs ที่ขายตามร้านขายยาทั่วๆไป เช่น Advil (ibuprofen,ไอบูโพรเฟน) และ Aleve (นาโพรเซน, naproxen) ส่วนยา NSAIDs ที่แรงกว่านี้จะต้องให้แพทย์สั่งจ่ายยา

ยาต่อต้านมาลาเรีย (antimalarial medicines): ยาประเภทนี้มักจะใช้รักษาโรคมาลาเลียซึ่งอาจช่วยควบคุมอาการของโรคลูปัสได้ เช่น อาการเหนื่อยล้า ปวดข้อ เป็นผื่น และมีแผลในปาก

Plaquenil (hydroxychloroquine) เป็นยาต้านมาลาเรียที่มักจะใช้รักษาโรคลูปัส

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids): ยาประเภทนี้จะช่วยควบคุมอาการอักเสบ แต่อาจส่งผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ผอมติดกระดูก ความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน ช้ำง่ายและติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Deltasone (prednisone) เป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่แพทยย์มักจะสั่งให้คนไข้โรคลูปัส

ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants): ยาพวกนี้จะกดระงับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากโรคลูปัส

ยากดภูมิคุ้มกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เกิดความเสียหายที่ตับ และจะกดการทำงานของไขกระดูก (และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย)

ยากดภูมิคุ้มกันทั่วๆไปที่ใช้ ได้แก่ ยา Imuran (อะซาไธโอพรีน/ azathioprine) ยาCytoxan (ไซโคลฟอสฟาไมด์/ cyclophosphamide) CellCept (ไมโคฟีโนเลต/ mycophenolate)  ยาArava (เลฟลูโนไมด์/ Leflunomide)  ยาSandimmune  และ Neoral (ไซโคลสปอริน/ cyclosporine)  และTrexall (ยาเมโธเทรกเซท/ methotrexate)

ยาไบโอโลจิกส์ (biologics): biologics เป็นยาชนิดใหม่ ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาโรครูห์มาติก   (rheumatic diseases) อื่นๆแล้วด้วย เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)   ตัวอย่างยา เช่น ยาRituxan (ริทูซิแมบ/ rituximab) และยา Orencia (abatacept)

ในปี 2011 ยาไบโอโลจิกส์ชื่อ Benlysta (belimumab)  ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาให้เป็นยารักษาโรคลูปัสในบางเคสแล้ว เป็นยาชนิดใหม่ตัวแรกที่ได้รับการรับรองให้เป็นยารักษาโรคลูปัสตั้งแต่ปี 1955

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขณะนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาใหม่ๆ เช่น การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์และการสร้างภูมิคุ้มกัน (การรักษาที่ใช้ยาประสิทธิภาพสูงเพื่อกำจัดระบบภูมิคุ้มกันที่เสียหายหรือบกพร่อง) เป็นต้น เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคลูปัส

การแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine)

การรักษาทางเลือกที่ใช้รักษาโรคลูปัส เช่น:

ผู้ป่วยโรคลูปัสบางคนรายงานว่าพวกเขามีอาการดีขึ้นเมื่อเลือกรักษาแบบทางเลือก แต่ก็ไม่มีงานวิจัยใดที่พิสูจน์ว่าวิธีเหล่านี้ใช้ได้ผลจริงๆ ฉะนั้น เพื่อให้แน่ใจคุณควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณก่อนที่จะใช้วิธีรักษาแบบทางเลือก อย่าหยุดหรือเปลี่ยนวิธีรักษาด้วยตัวเองโดยเด็ดขาด

อาหารสำหรับคนเป็นโรคลูปัส

ถึงแม้จะมีคำแนะนำต่างๆมากมายในอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังไม่มีอาหารใดๆที่จะเป็นอาหารมาตรฐานสำหรับคนที่เป็นโรคลูปัสโดยเฉพาะ ถึงอย่างนั้น แพทย์ส่วนใหญ่ก็เห็นตรงกันว่าการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพย่อมจะส่งผลดีต่อตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยอาจต้องหันมาทานผลไม้สด ผัก ธัญพืช และเนื้อติดมัน หลีกเลี่ยงการบริโภคกระเทียมและต้นอ่อนอัลฟัลฟา (alfalfa sprout) หากคุณเป็นโรคลูปัส เพราะบางคนก็รายงานว่าอาการของพวกเขาแย่ลงเมื่อพวกเขาทานอาหารเหล่านี้ หากคุณใช้ยา คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) แพทย์อาจให้คุณจำกัดปริมาณการบริโภคไขมันและเกลือ และให้เพิ่มการบริโภคแคลเซียมมากขึ้น อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม และผักใบเขียวเข้ม อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงจะช่วยลดอาการอักเสบได้ ซึ่งประกอบด้วย ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล เมล็ด flaxseeds และเมล็ดเจีย (chia seeds) แอลกอฮอล์อาจไปทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคลูปัสบางชนิด ผู้ป่วยจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถดื่มได้เท่าไหร่จึงจะไม่เป็นอันตราย

การใช้ชีวิตอยู่กับโรคลูปัส

ผู้ป่วยโรคลูปัสส่วนใหญ่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ แต่อาจจะต้องลดระดับลงหากอาการไม่ดี

ตัวผู้ป่วยเองอาจช่วยป้องกันไม่ให้อาการโรคกำเริบและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองด้วยการ:

  • ไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ลดความเครียดที่ไม่จำเป็น  ไม่ต้องคิดเยอะนั่นเอง

อายุคาดเฉลี่ย (Life Expectancy) ของคนเป็นโรคลูปัส

ตามข้อมูลจาก Lupus Foundation of America กล่าวว่า ระหว่าง 80 - 90% ของผู้ป่วยโรคลูปัสที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติตลอดชีวิต โรคลูปัสอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ก็มีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพด้วย ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการทำนายโรคลูปัส ได้แก่:  

เพศ: เพศชายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคลูปัสที่รุนแรงกว่าเพศหญิง

จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายมีโอกาสที่จะได้รับความเสียหายที่ไตและมีแนวโน้มของโรคลูปัสกำเริบไวกว่าผู้หญิง

อายุ: สำหรับคนที่เป็นโรคลูปัสครั้งแรกก่อนมีอายุ 16 ปี พวกเขามีโอกาสสูงที่โรคลูปัสจะส่งผลต่อระบบประสาทและไต

มีแนวโน้มว่าผู้ป่วยที่มีอาการโรคลูปัสเป็นครั้งแรกหลังจากอายุ 50 ปีจะมีอาการแย่ลง

เชื้อชาติ: คนเชื้อชาติฮิสแปนิก (Hispaic) เอเชีย และแอฟริกัน จะเป็นโรคลูปัสมากกว่าและมีแนวโน้มว่าอาการจะแย่มากกว่าคนผิวขาว

ซึ่งการเป็นโรคลูปัสที่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเชื้อชาติดังกล่าวอาจเป็นเพราะพันธุกรรม แต่การทำนายอาการของโรคบางส่วนอาจเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
12 Lupus Symptoms and Signs: Diagnosis, Treatment, Causes & Types. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/systemic_lupus/article.htm)
Lupus Treatments & Medications for Rash and Other Complications. WebMD. (https://www.webmd.com/lupus/understanding-lupus-treatment)
Finding the treatment approach for you. Lupus Foundation of America. (https://www.lupus.org/resources/finding-the-treatment-approach-for-you)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)