การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการดามขดลวด

ทำความรู้จักอีกหนึ่งวิธีรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด...การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการดามขดลวด
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการดามขดลวด

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และการดามขดลวด เป็นหัตถการเพื่อรักษาการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจที่เชื่อมต่อและส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ระหว่างการดำเนินการขยายหลอดเลือด ทั้ง 2 วิธี แพทย์จะทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบด้วยบอลลูนและลวดโลหะ ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้สะดวกขึ้น

การขยายหลอดเลือดหัวใจดังกล่าวมักเรียกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty: PTCA)
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention: PCI)

เหตุใดจึงมีการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนเกิดขึ้น?

หัวใจก็ต้องการเลือดไปเลี้ยงเช่นเดียวกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ซึ่งตัวหัวใจจะมีเครือข่ายเส้นเลือดแตกแขนงไปมากมาย เรียกเส้นเลือดกลุ่มนี้ว่า "หลอดเลือดหัวใจ"

หลอดเลือดเหล่านี้ในผู้ใหญ่อาจเกิดการแข็งตัวและตีบตันขึ้น เรียกว่า “ภาวะหลอดเลือดแข็ง” หรือเกิดภาวะที่ไปจำกัดการไหลเวียนโลหิตไปยังหัวใจจนทำให้เกิดภาวะเจ็บแน่นหน้าอกตามมา

ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกหลายเคสสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา แต่หากเป็นภาวะที่มาจากการตีบที่รุนแรงจะต้องใช้กรรมวิธีขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนแทน นอกจากนี้ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนยังเป็นหัตถการรักษากรณีฉุกเฉินแก่ผู้ที่เกิดภาวะหัวใจวายอีกเช่นกัน

ประโยชน์ของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนมีอะไรบ้าง?

หากคุณประสบกับภาวะเจ็บแน่นหน้าอก การรักษาด้วยบอลลูนจะสามารถ:

  • บรรเทาอาการเจ็บแน่น หรือหนักทรวงอก
  • ลดความต้องการใช้ยารักษาภาวะเจ็บแน่นหน้าอก
  • บรรเทาอาการบางอย่าง เช่น การหายใจขาดช่วง
  • ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
  • ทำให้คุณสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้สุดความสามารถ เช่น การเดินขึ้นลงบันได หรือการเดินเร็วๆ

หากคุณประสบกับภาวะหัวใจวายมาก่อน การรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนจะช่วยลด:

  • การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายซ้ำอีกครั้ง

ก่อนเข้ารับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนที่คุณจะเข้ารับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ คุณต้องผ่านการประเมินสุขภาพล่วงหน้าการผ่าตัดเสียก่อน ส่วนมากจะเป็นการตรวจเลือด และตรวจสุขภาพทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยแพทย์จะตรวจประเมินเส้นเลือดหัวใจของคุณเพื่อให้มั่นใจว่า เทคนิคการรักษานี้จะสามารถดำเนินการกับกรณีของคุณได้ ซึ่งมักจะทดสอบด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจ

คุณควรเตรียมร่างกายให้แข็งแรง เพราะยิ่งคุณมีร่างกายแข็งแรงมากเท่าไร การฟื้นตัวหลังผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจจะยิ่งเร็วขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จะต้องให้แพทย์ตรวจสอบก่อนว่า กิจกรรมใดบ้างที่เหมาะสมกับคุณก่อนเข้ารับการผ่าตัด

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนดำเนินการอย่างไร?

  • ระหว่างการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน แพทย์จะทำการสอดสายสวนที่มีบอลลูนติดอยู่เข้าไปในเส้นเลือดแดงของคุณ
  • บอลลูนดังกล่าวจะขยายตัวออกเพื่อทำให้หลอดเลือดแดงมีขนาดกว้างขึ้น และจะมีการใช้ลวดสอดเข้าไปยังเส้นเลือดหัวใจตามมา
  • ตัวลวดดังกล่าวจะดันผนังเส้นเลือดออก ซึ่งจะคั้นเอาไขมันที่สะสมภายในเส้นเลือดออกมา ทำให้เลือดไหลผ่านได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
  • กระบวนการทั้งหมดมักใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งอาจจะนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับจำนวนตำแหน่งหลอดเลือดที่ต้องรับการแก้ไข
  • หลังหัตถการคุณสามารถให้ผู้ดูแลที่มาด้วยพากลับบ้านได้ทันที

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนปลอดภัยไหม?

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนเป็นกระบวนการรักษาหัวใจที่ง่ายที่สุด เพราะไม่มีการกรีดผิวหนังขนาดใหญ่บนร่างกาย และมีผลข้างเคียงหลังการรักษาที่เบามากๆ

ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนจะแตกต่างกันไปตามกรณีบุคคล โดยความเสี่ยงมักจะเพิ่มขึ้นตามอายุหรือภาวะสุขภาพที่คนไข้เป็นอยู่

ภาวะข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้

ภาวะข้างเคียงที่มักเกิดหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนมีดังนี้

  • ภาวะหัวใจวาย: คาดการณ์ว่าเกิดขึ้น 1 ใน 100 กรณีเท่านั้น
  • ภาวะสมองขาดเลือด: คาดการณ์ว่าเกิดขึ้น 1 ใน 200 กรณีเท่านั้น
  • ภาวะเลือดออกมากหลังการผ่าตัด: คาดการณ์ว่าเกิดขึ้น 1 ใน 200 กรณี หากเกิดขึ้นต้องเข้ารับการถ่ายเลือดในทันที

ภาวะข้างเคียงเหล่านี้อาจส่งผลผลถึงชีวิตได้ โดยคาดกันว่า มีเคสคนไข้เสียชีวิตประมาณ 1 จาก 500 กรณีเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะที่สามารถรักษาได้ด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

ภาวะที่สามารถรักษาได้ด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนมีดังนี้

1. ภาวะหลอดเลือดแข็ง

หลอดเลือดแดงของคุณจะแข็งและตีบตามอายุที่มากขึ้น แต่ภาวะนี้จะก่อตัวเร็วขึ้นหากว่าคุณ:

  • สูบบุหรี่
  • มีความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • อยู่ในกลุ่มเชื้อชาติที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ชาวแอฟริกันฝั่งทะเลแคริบเบียน และเอเชียใต้

2. ภาวะเจ็บแน่นหน้าอก

เมื่อหลอดเลือดหัวใจเกิดแข็งตัวและตีบตันขึ้นจนมาถึงจุดจุดหนึ่ง หัวใจของคุณจะเริ่มทำงานผิดปกติเนื่องจากได้รับเลือดมาเลี้ยงไม่พอ ทำให้เกิดภาวะแน่นหน้าอกขึ้นมาเมื่อคุณเดินหรือออกแรง

ภาวะดังกล่าวจะไม่ส่งผลอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ แต่จะทำให้คุณ:

  • มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก กราม หรือหลัง
  • หายใจติดขัด

หากภาวะแน่นหน้าอกนี้ไม่ตอบสนองต่อยาที่ใช้ หรือมีอาการแย่ลง แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยการสอดบอลลูนที่หลอดเลือดหัวใจแทน

3. ภาวะหัวใจวาย

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนสามารถดำเนินการกับผู้ป่วยภาวะหัวใจฉุกเฉินได้อีกเช่นกัน

ประเภทของการดามลวด

ลวดที่ใช้ในกระบวนการดามเป็นขดลวดที่ถูกดัดเป็นรูปท่อสั้นๆ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายตะแลงแกงเพื่อคงสภาพหลอดเลือดให้เปิดอยู่ตลอดเวลา

ลวดดังกล่าวมีอยู่ 2 ประเภทคือ:

  • ลวดโลหะเปล่าๆ (ไม่ผ่านการเคลือบ)
  • ลวดโลหะที่ผ่านการเคลือบยา (ยาที่ใช้เคลือบจะช่วยลดความเสี่ยงที่เส้นเลือดจะเกิดการตีบอีกครั้ง)

ข้อเสียของการใช้ลวดโลหะเปล่าๆ คือหลอดเลือดมีโอกาสเกิดการตีบอีกครั้งประมาณ 30% ซึ่งกรณีที่เกิดการตีบอีกครั้งนั้นจะเกิดมาจากเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่ฟื้นตัวเองจนโตขึ้นรอบๆ ตัวลวดนั่นเอง

โอกาสที่จะเกิดปัญหาดังกล่าวจะลดลงหากใช้ลวดเคลือบยา ซึ่งตัวยาดังกล่าวจะลดความเสี่ยงที่จะทำให้เนื้อเยื่อโดยรอบโตขึ้นรอบๆ ขดลวด

ทำการดามขดล้วนต้องกินยาอะไร?

หากคุณต้องทำการดามขดลวด คุณต้องได้รับยาต้านเกล็ดเลือดเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดก่อตัวบนขดลวดอีกเช่นกัน ซึ่งยาต้านเกล็ดเลือดมีดังนี้

  • แอสไพริน (Aspirin) : ต้องรับประทานทุกเช้าไปตลอดชีวิต
  • โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) : รับประทานติดต่อกัน 12 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของลวดที่ใช้ดามเส้นเลือด หรือในกรณีที่คุณเคยประสบกับภาวะหัวใจวายมาก่อน
  • พรากูเซล (Prasugrel) กับไทกาเกรลอร์ (Ticagrelor) : สามารถใช้แทนยาโคลพิเกรลได้ในบางกรณี

ช่วงท้ายของการรักษา

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นลง แพทย์จะตรวจสอบว่า การไหลเวียนเลือดภายในหลอดเลือดนั้นๆ เป็นไปอย่างปกติดีหรือไม่ หากลุล่วงไปได้ด้วยดี แพทย์จะนำบอลลูนและสายสวนออก และทำการหยุดเลือดที่ไหลด้วยการกดแผล หรือใช้ท่ออุดที่สลายตัวได้เอง

การฟื้นตัวหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน แพทย์มักจะให้คุณพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แม้ว่าคนไข้ที่เข้ารับการรักษานี้จะกลับบ้านได้ทันทีที่เสร็จสิ้นกระบวนการแล้วก็ตาม

ก่อนจะออกจากโรงพยาบาล แพทย์จะชี้แจงการรับประทานยาแก่คุณ ในบางครั้งคุณอาจถูกแพทย์สั่งให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตหลังจากนี้อีกด้วย นอกจากนี้คุณจะได้รับการแจ้งวันนัดติดตามผลเป็นระยะๆ

หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน คุณจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากคุณต้องรับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนแบบฉุกเฉิน หรือจากภาวะหัวใจวาย คุณอาจต้องใช้เวลาพักฟื้นหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็เป็นได้

5 ข้อที่ควรรู้หลังเข้ารับการรักษา

1. การขับขี่ยานพาหนะ

หลังการรักษา คุณจะไม่สามารถขับรถได้ 1 สัปดาห์ ดังนั้น คุณควรพาบุคคลที่สามไปด้วยเพื่อทำการรับส่งคุณภายหลังการรักษา และหากคุณเป็นผู้หาเลี้ยงชีพด้วยการขับขี่ยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น รถบัส หรือรถบรรทุก คุณควรแจ้งผู้ว่าจ้างของคุณก่อนว่า ได้ทำการรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจมา

2. มีรอยฟกช้ำบริเวณที่ถูกสายสวน

คุณจะมีรอยฟกช้ำบริเวณที่แพทย์เจาะสายสวนเข้าไป ซึ่งไม่เป็นภาวะอันตรายแต่อย่างใด แต่อาจมีอาการปวดเล็กน้อยไม่กี่วันเท่านั้น แต่ก็มีบ้างที่แผลดังกล่าวจะเกิดการติดเชื้อขึ้น ซึ่งคุณจะต้องคอยสังเกตการณ์ฟื้นฟูของรอยดังกล่าวให้ดี หากมีอาการแดง หรือปวดเมื่อยมากขึ้นที่จุดนั้น ให้แจ้งแพทย์ผู้ดูแลทันที

3. การยกของหนัก

หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ พยายามหลีกเลี่ยงการยกของหนักเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายสนิท

4. การมีเพศสัมพันธ์

คุณจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทันทีที่คุณรู้สึกพร้อม แต่หากคุณมีความกังวลอยู่ ก็สามารถทำการปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลได้ โดยจากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ การมีเพศสัมพันธ์จะสร้างกิจกรรมให้หัวใจเหมือนการเดินขึ้นบันไดสูงๆ นั่นเอง

5. การรักษาอื่นๆ ที่จะตามมาภายหลังการรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจ

ผู้คนส่วนมากที่เข้ารับการรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจจะต้องรับประทานยาเจือจางโลหิตเป็นเวลาหนึ่งปี โดยมักจะต้องรับประทานร่วมกับแอสไพริน และโคลพิโดเกรลโดสน้อยๆ ด้วย โดยจะต้องรับประทานยาตามเวลาที่แพทย์กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากการหยุดยาเร็วเกินไปจะทำให้ความเสี่ยงที่หลอดเลือดจะเกิดการตีบอีกครั้งมีสูงมากขึ้น

ตัวยาโคลพิโดเกรลนั้นจะช่วยป้องกันปฏิกิริยาเคมีที่ร่างกายใช้กระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวของเลือดขึ้น ซึ่งระยะเวลาที่ต้องรับประทานยาจะหยุดลงตามเวลาที่กำหนดไว้ ส่วนยาแอสไพริน คนส่วนมากจะต้องรับประทานยาโดสน้อยๆ ไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต

Q&A

1. หากมีภาวะเจ็บแน่นหน้าอกอีกครั้งหลังเข้ารับการรักษาจะต้องทำอย่างไร?

ถ้าคุณมีอาการเจ็บหน้าอกอีกครั้ง คุณจะต้องเข้ารับการประเมินเพิ่มเติม ระหว่างนี้จะต้องคอยสอดส่องร่างกายของตนเอง รวมถึงรีบรายงานแพทย์ทันทีที่พบอาการนี้อย่างเร็วที่สุด

โดยคุณอาจต้องเข้ารับการประเมินเพื่อทำการรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการดามขดลวดอีกครั้ง หรือแพทย์อาจจะตัดสินใจให้ทำการผ่าตัดสร้างทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจแทนก็ได้

2. นอกจากการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนแล้ว มีวิธีรักษาอื่นอีกหรือไม่?

หัตถการที่สามารถดำเนินการแทนการรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน มีดังนี้

  • การผ่าตัดสร้างทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)
  • การขยายหลอดเลือดด้วยการเจาะทำลายสิ่งสะสมภายในหลอดเลือด (Percutaneous Transluminal Coronary Rotational Atherectomy: PTCRA)

3. ใครเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบบ้าง?

ยิ่งคุณมีอายุมากเท่าไร โอกาสเกิดความเสี่ยงจะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น โดยผู้ที่มีอายุ 60 ปีที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ จะมีโอกาสเกิดภาวะข้างเคียงน้อยกว่า 1% ในขณะที่ผู้ที่มีอายุ 80 ปีจะมีความเสี่ยงที่ 3%

การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปีจะช่วยให้คุณรู้เท่าทันโรค อีกทั้งการที่พบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น หากคุณกำลังมองหาโรงพยาบาลชั้นนำเพื่อตรวจหัวใจ หรือตรวจสุขภาพประจำปี สามารถเปรียบเทียบราคาแพ็กเกจได้ ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อนัดคิวตรวจหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย

4. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนสามารถใช้สิทธิประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทองได้หรือไม่?

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนก็เหมือนวิธีการรักษาโรคหัวใจอื่นๆ คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทองได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งคุณสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับโรงพยาบาลได้โดยตรง

หรือตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนได้ที่เบอร์โทร 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก (ระบบอัตโนมัติ) หรือกด 0 ติดต่อเจ้าหน้าที่ (ให้บริการตลอด 24 ชม.)


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
med.emory.edu, Dilation of coronary arteries with a balloon (https://med.emory.edu/gamechangers/researchers/gruentzig/bio.html)
medicinenet.com, Dilation of coronary arteries with a balloon (https://www.medicinenet.com/coronary_angioplasty/article.htm)
ecrjournal.com, Dilation of coronary arteries with a balloon (https://www.ecrjournal.com/articles/Balloon-Conventional-Balloon-Angioplasty)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)