การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีขึ้นเพื่อรักษาโรค หรือการบาดเจ็บที่ลิ้นหัวใจ โดยกระบวนการอาจมีการผ่าตัดหัวใจร่วมด้วย
ทำความรู้จักลิ้นหัวใจ
หัวใจของมนุษย์มีอยู่ 4 ห้อง ทั้งนี้ 2 ห้องข้างบนจะมีขนาดเล็กเรียกว่า “อะเทรีย” ส่วน 2 ห้องข้างล่างจะมีขนาดใหญ่ เรียกว่า “เวนทริเคิล” เวนทริเคิลแต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจอยู่ 2 แห่ง ได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ลิ้นหัวใจสำหรับควบคุมเลือดให้ไหลไปเข้าสู่เวนทริเคิล
- ลิ้นหัวใจสำหรับควบคุมเลือดให้ไหลออกจากเวนทริเคิล
ลิ้นหัวใจสร้างจากเนื้อเยื่อที่เปิด-ปิดได้ โดยจะเปิดให้เลือดไหลเข้าไปในหัวใจเพื่อสูบฉีดไปทั่วร่างกาย และจะปิดเพื่อหยุดการรั่วไหลของเลือดกลับไปสู่หัวใจ (ลิ้นหัวใจจะสามารถเปิดได้เพียงทิศทางเดียวเท่านั้น)
ลิ้นหัวใจที่อยู่ช่องเวนทริเคิลซ้ายจะควบคุมการไหลเวียนของเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงเส้นเลือดแดงหลักของร่างกาย หรือเรียกว่า “เอออร์ต้า” นั่นเอง
ทำไมจึงต้องมีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?
- มีภาวะลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจเกิดการตีบคอด และขวางกั้นการไหลเวียนโลหิต
- มีภาวะลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจมีช่อง หรือเกิดการรั่ว ทำให้เลือดไหลย้อนกลับ
หากลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
เกิดอะไรขึ้นระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?
- ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะได้รับยาสลบ เพื่อทำให้หลับไปตลอดการผ่าตัดโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใดๆ
- ระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะทำให้หัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ มีการใช้เครื่องบายพาสหัวใจและปอดทำงานแทนหัวใจจริง
- แพทย์จะกรีดเปิดทรวงอก โดยการกะเทาะกระดูกสันอกออกเพื่อให้เข้าถึงหัวใจของผู้ป่วย
- แพทย์จะผ่าเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่มีปัญหาออก ก่อนจะใส่ลิ้นหัวใจใหม่ให้
- เมื่อผ่าเปลี่ยนลิ้นหัวใจเสร็จ แพทย์จะทำให้หัวใจของผู้ป่วยกลับมาเต้นอีกครั้ง
- แพทย์จะซ่อมแซมกระดูกสันอก ก่อนทำการปิดปากแผลที่หน้าอก
ความเสี่ยงในการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ บางอาการอาจส่งผลถึงชีวิต โดยผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้ 1 ใน 50 คนจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไม่นาน
แต่ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจตีบนั้น เป็นความผิดปกติซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอยู่แล้วหากไม่ยอมรับการรักษา
นั่นทำให้แพทย์ต้องทำการเปรียบเทียบประโยชน์กับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดอย่างถี่ถ้วน
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หากไม่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ มีวิธีรักษาอื่นๆ อีกไหม?
แม้ว่า การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเป็นหัตถการรักษาภาวะของลิ้นหัวใจที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่หากร่างกายผู้ป่วยอ่อนแอเกินกว่าจะทนรับการผ่าตัดหัวใจได้ แพทย์อาจแนะนำวิธีรักษาแบบอื่นๆ ให้
วิธีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบอื่นๆ มีดังต่อไปนี้
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกโดยไม่ทำการผ่าตัด (TAVI) เป็นกระบวนการที่จะนำลิ้นหัวใจใหม่ไปเปลี่ยน โดยเคลื่อนที่ไปตามหลอดเลือดแทนการผ่าตัดผ่านช่วงอก
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน ทำการถ่างขยายลิ้นหัวใจให้กว้างขึ้นด้วยบอลลูน
ทำไมจึงต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะจำเป็นอย่างมาก หากลิ้นหัวใจของคุณมีภาวะตีบ เกิดการรั่วไหล หรือมีสภาวะที่ส่งผลต่อลิ้นหัวใจ เรียกกันว่า “โรคลิ้นหัวใจ”
ทำความรู้จักโรคลิ้นหัวใจ
โรคลิ้นหัวใจสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ เป็นมาตั้งแต่เกิดกับเกิดจากสาเหตุอื่นๆ
สาเหตุทั่วไปที่ก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ
1. ความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอายุ
อายุเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจเพราะเป็นการเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นตามอายุขัยของร่างกาย แคลเซียมจะเข้าไปเกาะสะสมบนลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเปิด-ปิดยาก กรณีนี้มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 70 ถึง 80 ปีขึ้นไป
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2. ภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกมี 2 ชั้น
เป็นภาวะผิดปกติของลิ้นหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุด ปกติแล้วจะมีลิ้นเอออร์ติก 3 ชั้น (มีหน้าที่เป็นประตูให้เลือดไหลผ่าน) แต่ผู้ป่วยภาวะนี้จะเกิดมีลิ้นเอออร์ติกเพียง 2 ชั้น
ผู้ที่มีภาวะผิดปกตินี้ลิ้นหัวใจยังคงทำงานได้ตามปกติ แต่มักจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีอายุ 50 หรือ 60 ปีขึ้นไปแล้ว
3. ผลพวงจากภาวะโรคอื่นๆ
ภาวะทางสุขภาพหลายอย่างส่งผลไปยังลิ้นหัวใจ และก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจได้ เช่น
- มาร์แฟนซินโดรม ภาวะทางพันธุกรรมที่สร้างความเสียหายไปยังเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (ที่ใช้รองรับและก่อร่างเนื้อเยื่อและอวัยวะอื่น ๆ)
- ไข้รูห์มาติก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มาจากการติดเชื้อในคอ และทำให้การติดเชื้อลุกลามไปทั่วร่างกาย
- ลูปัส เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปรกติและเริ่มโจมตีเนื้อเยื่อสุขภาพดี
- โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อภายในระบบร่างกายและหลอดเลือดแดงใหญ่
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นภาวะที่ผนังหัวใจเกิดการติดเชื้อ ภาวะนี้มีความร้ายแรงมาก แต่พบได้ยาก
อาการของโรคลิ้นหัวใจ
โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกระยะแรกจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะพัฒนาไปเป็นระยะท้ายๆ แล้ว อาการที่รู้สึกได้จะเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเต็มที่
- ปวดหน้าอกหลังจากออกกำลังกาย เนื่องมาจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเร่งสูบฉีดเลือดผ่านลิ้นหัวใจ
- หายใจลำบาก ในตอนแรกจะสังเกตเห็นอาการนี้หลังจากการออกกำลังกาย แต่ต่อมาภายหลัง อาการนี้จะเริ่มแสดงออกมาขณะพักผ่อนเช่นกัน
- เวียนศีรษะ หรือมึนศีรษะ เกิดจากการที่เลือดที่ต้องไหลออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายถูกขวางกั้น
- หมดสติ เป็นผลมาจากปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงลดลง เนื่องจากการตีบกั้นภายในหัวใจ
การทดสอบความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
หากแพทย์สงสัยว่า ผู้ป่วยอาจมีปัญหาที่ลิ้นหัวใจ แพทย์จะส่งผู้ป่วยไปตรวจกับหทัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจโดยตรง หทัยแพทย์จะใช้การทดสอบต่างๆ เพื่อทำให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำมากยิ่งขึ้น
การทดสอบที่หทัยแพทย์จะใช้เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของลิ้นหัวใจ มีดังนี้
- การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เป็นการสแกนอัลตราซาวด์ที่ใช้ร่างภาพหัวใจของผู้ป่วยออกมา วิธีนี้มักสามารถตรวจจับความผิดปรกติต่าง ๆ ที่ปรากฏบนรูปหัวใจได้
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการทดสอบที่รวดเร็วและง่ายดาย ที่ใช้ดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจที่กำลังทำงานอยู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย
- การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary angiogram: CAG) เป็นการทดสอบเอกซเรย์ประเภทหนึ่งที่ใช้สารย้อมสีชนิดพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดที่เชื่อมไปยังหัวใจ เพื่อทำให้ภาพเอกซเรย์ออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น
จะเริ่มการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเมื่อใด?
หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจนัดมาตรวจสอบความทรุดโทรมของลิ้นหัวใจทุกๆ ปี
แต่หากอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เนื่องจากหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงต่อร่างกายอย่างมาก
อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเล็กน้อยที่หัวใจของผู้ป่วยจะหยุดเต้นกะทันหันอีกด้วย
การเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- มีการส่งผู้ป่วยไปพบทีมรักษาที่คลินิกล่วงหน้าเพื่อตรวจร่างกายและซักประวัติโดยละเอียด เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์
- แพทย์จะสอบถามถึงยา อาหารเสริม วิตามิน หรือสมุนไพรที่กำลังใช้อยู่ จึงควรเตรียมยาดังกล่าวติดตัวไปคลินิกด้วย
- อย่าลืมแจ้งแพทย์ล่วงหน้า หากเคยประสบผลข้างเคียงจากการได้รับยาระงับประสาท เช่น อาการคลื่นไส้ รวมทั้งแจ้งประวัติการแพ้ต่างๆ เพื่อทีมแพทย์จะได้หายาที่สามารถเข้ากับตัวผู้ป่วยได้ระหว่างการผ่าตัดจริง
- แพทย์จะซักประวัติการทำฟันที่ผ่านมา ไม่ว่าจะใส่ฟันปลอม เหล็กดัดฟัน เนื่องจากระหว่างการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องหายใจผ่านท่อที่สอดลงในลำคอ ดังนั้นการมีฟันไม่แข็งแรงจะทำให้กระบวนการดังกล่าวเป็นอันตรายได้
- หากผู้ป่วยสูบบุหรี่ แพทย์จะแนะนำให้เลิกทันที เนื่องจากพิษบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ เช่น การมีลิ่มเลือดอุดตัน การติดเชื้อที่ทรวงอก
กระบวนการเตรียมความพร้อมนี้มักจะให้ผู้ป่วยพักที่โรงพยาบาลล่วงหน้าการผ่าตัดประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เข้าใจและรับมือกับหลักกระบวนการทั้งหมดได้
ลิ้นหัวใจที่ถูกนำมาเปลี่ยนเป็นแบบไหน?
ลิ้นหัวใจที่จะนำมาเปลี่ยนมี 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
- ลิ้นหัวใจเทียม เป็นลิ้นหัวใจที่ถูกสร้างมาจากวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ไพโรติกคาร์บอน (วัสดุที่คล้ายกับแกรไฟท์)
- ลิ้นหัวใจชีวภาพ ซึ่งผลิตมาจากเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต
โดยทั่วไป หากผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 60 ปี แพทย์จะแนะนำให้ใช้ลิ้นหัวใจเทียม แต่หากมีอายุเกิน 60 ปี แพทย์จะแนะนำให้ใช้ลิ้นชีวภาพแทน
ข้อดีข้อเสียระหว่างลิ้นหัวใจเทียมกับลิ้นหัวใจชีวภาพ
1. ลิ้นหัวใจเทียม
ข้อดี: ลิ้นหัวใจเทียมมีอายุการใช้งานยาวนานและคงทนอย่างมาก
ข้อเสีย: มีโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดเกาะบนพื้นผิวของลิ้นเทียมได้ นอกจากนี้ยังต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดไปตลอดชีวิต การเกิดลิ่มเลือดอาจก่อให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้
นอกจากนี้ลิ้นหัวใจเทียมจะส่งเสียงคลิ๊กออกมาเป็นบางครั้ง ในช่วงแรกอาจจะรู้สึกกังวล แต่มักจะเริ่มชินในเวลาไม่นาน
2. ลิ้นหัวใจชีวภาพ
ข้อดี: มีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดน้อยกว่าลิ้นหัวใจเทียม จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด นอกจากผู้ป่วยต้องรับประทานยาตัวนี้เนื่องจากสาเหตุอื่น
ข้อเสีย: มีอายุการใช้งานไม่นานจึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีอายุน้อย หรือผู้ที่ชอบออกแรง เพราะอาจทำให้ต้องมีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจบ่อยครั้ง
การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ จะส่งตัวผู้ป่วยจะเข้าห้อง ICU เพื่อใช้งานระบบสอดส่องกิจกรรมของหัวใจ ปอด และระบบอื่นๆ ของร่างกายเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดการพักฟื้น
5 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการพักฟื้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
เครื่องช่วยหายใจเป็นเครื่องที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจให้แก่ผู้ป่วยแบบอัตโนมัติ ทำงานโดยการสับเปลี่ยนอากาศที่เต็มไปด้วยออกซิเจนให้เข้า-ออกปอด ผ่านท่อที่เรียกว่า "ท่อหลอดคอ (tracheal tube)" ที่สอดเข้าช่องปาก หรือจมูก
ในขณะที่ยังคงใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยจะไม่สามารถพูด หรือดื่มอะไรได้ และอาจรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวบ้าง
หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจนทีมรักษาลงความเห็นว่า สามารถทำการหายใจโดยไม่ต้องมีตัวช่วยใดๆ แล้ว ทีมรักษาจะถอดเครื่องช่วยหายใจออกและสวมใส่หน้ากากครอบปากและจมูกที่ปล่อยออกซิเจนให้แก่แทน
2. ความเจ็บปวด
เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดประเภทอื่น ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกไม่สบายตัวบ้าง โดยขณะพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลังฤทธิ์ยาระงับประสาทหมดลง
หากผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ แพทย์จะแนะนำการใช้ยาแก้ปวดให้ ระหว่างนี้ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกไม่สบายบริเวณที่ผ่านการผ่าตัด อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นตามแผลที่หายดีตามลำดับ
3. การย้ายไปรักษาต่อที่หอผู้ป่วย
เมื่อทีมรักษาลงความเห็นว่า ผู้ป่วยอาการดีขึ้นจะให้ย้ายจาก ICU ไปยังหอผู้ป่วยผ่าตัด หรืออาจส่งไปแผนกดูแลอย่างใกล้ชิด (High Dependency Unit: HDU) สำหรับผู้ป่วยที่ยังต้องมีการจับตาดูสภาวะต่างๆ หลังการผ่าตัดอยู่
โดยผู้ป่วยจะยังคงมีท่อและสายต่างๆ ติดกับตัวอยู่ ได้แก่
- ท่อหน้าอก ท่อที่ใช้ดูดของเหลว หรือเลือดภายในทรวงอกออก (แต่มักจะถอนท่อดังกล่าวออกหลังการผ่าตัด)
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ สำหรับกรณีที่จำเป็นเท่านั้น โดยจะสอดใกล้กับท่อดูดทรวงอกเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ (มักจะนำออกภายหลังการผ่าตัด 4-5 วัน)
- ปุ่มเซนเซอร์ จะถูกติดตามพื้นผิวบนร่างกายของผู้ป่วยเพื่อวัดอัตราการเต้นหัวใจและการไหลเวียนโลหิต รวมถึงตรวจสอบการไหลเวียนอากาศในปอดของผู้ป่วย
- สายสวน เป็นท่อที่สอดเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยเพื่อขับปัสสาวะออก
ทีมรักษาจะให้ความสำคัญกับการเพิ่มความอยากอาหารของผู้ป่วยและการทำให้ฟื้นตัวเร็วที่สุด โดยผู้ป่วยจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้หลังการผ่าตัดประมาณ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับอัตราการฟื้นตัว
นอกจากนี้อาจมีทีมเวชกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือนักกายภาพเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วย ก่อนที่แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
ทีมเวชกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือนักกายภาพ จะช่วยแนะนำแนวทางฟื้นฟูตนเองให้กลับเป็นปกติ และโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพหัวใจหลังการผ่านตัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่ส่งผลต่อปัญหาของหัวใจในอนาคต
4. เวลาในการฟื้นตัว
ระยะการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะแตกต่างกันไปตามบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพองค์รวมและความแข็งแรงของผูู้ป่วย สภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด
กระดูกสันอกมักจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ในการฟื้นตัวจนหายดี และกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกหายดีเป็นปกติสมบูรณ์ทั้งหมดอาจใช้เวลามากถึง 2-3 เดือน
5. การกลับบ้าน
ผู้ป่วยควรเตรียมตัวรับมือกับอาการที่อาจต้องประสบหลังจากนี้ โชคดีที่มักมีความรุนแรงไม่มากและมีระยะเวลาไม่นาน
- ไม่อยากอาหาร อาจใช้ระยะเวลาสักระยะกว่าที่ความอยากอาหารของผู้ป่วยจะกลับมา และผู้ป่วยอาจสูญเสียความรู้สึกรับรสชาติไปบ้างครั้งคราว
- อาการบวมและแดง บริเวณที่โดนกรีดอาจเกิดอาการบวมและแดงขึ้นมา ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปเองตามกาลเวลา หากแผลมีอาการแดงมากขึ้น ร้อน เจ็บปวด บวมใหญ่ขึ้น หรือมีของเหลวออกมา ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที
- นอนไม่หลับ ผู้ป่วยบางคนจะมีปัญหาในการนอนหลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งคืน ภาวะนี้ควรจะหายไปเองตามกาลเวลา หากปวดมาก ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดก่อนเข้านอนก็ได้
- ท้องผูก ผู้ป่วยอาจประสบปัญหาการถ่ายยากได้ วิธีบรรเทาอาการคือ ดื่มน้ำมากๆ (1.2 ลิตร หรือประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน) และรับประทานผักผลไม้มากๆ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาระบายได้ในบางกรณี
- ความกังวลและภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่มักจะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ทั้งนี้แรงสนับสนุนจากเพื่อนและครอบครัวจะช่วยเหลือผู้ป่วยได้มาก นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจปรึกษากับพยาบาล หรือแพทย์ ได้
6. การดูแลบาดแผล
การผ่าตัดเปิดช่องอกจะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ ซึ่งแผลเป็นจะมีสีแดงในช่วงแรก และจะค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา
ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้หลังจากแพทย์ถอดสายกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจากตัวแล้ว ระหว่างนั้นจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงน้ำร้อน หรือแช่ในอ่างน้ำจนกว่ารอยแผลจะหายดีแล้ว ควรล้างรอยแผลด้วยน้ำสบู่อ่อนขณะที่อาบน้ำ
ในช่วงหนึ่งปีแรกหลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยควรปกปิดรอยแผลจากแสงอาทิตย์เพื่อไม่ให้รอยแผลมีสีคล้ำ และต้องไปพบแพทย์ทันทีหากว่า
- ผิวหนังบริเวณจุดที่ผ่าตัดมีความอ่อนนุ่มมากขึ้น
- มีอาการบวม หรือแดงมากขึ้น
- มีหนอง หรือของเสียขับออกจากรอยแผล
- มีไข้สูง หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
หากระหว่างขั้นตอนการเย็บปากแผลกรีดหน้าอก หากแพทย์ใช้ไหมเย็บแผลที่สามารถละลายได้ วัสดุดังกล่าวจะสลายไปภายในเวลา 3 สัปดาห์ แต่หากใช้วัสดุเย็บแผลอื่นๆ แพทย์จะนัดหมายล่วงหน้าเพื่อตัดไหมออกภายหลัง
ความเสี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหลายอย่าง ส่วนมากมักเกิดขึ้นได้ยาก ภาวะข้างเคียงที่เป็นไปได้มีดังนี้
- การติดเชื้อ ลิ้นหัวใจใหม่อาจเกิดการติดเชื้อและอักเสบขึ้นได้ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ) ซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่หัวใจของผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะนี้ ระหว่างการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเสี่ยงนี้
- การอุดตัน มักจะเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจเทียม โดยผู้ป่วยจะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดหากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้สูง
- ภาวะสมองขาดเลือด หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน
- ลิ้นหัวใจใหม่หมดสภาพ หรือเสียหาย มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่เปลี่ยนเป็นลิ้นหัวใจชีวภาพ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะเช่นนี้ประมาณ 25% จะเป็นภาวะชั่วคราว และ 1-2% ของผู้ป่วยที่เป็นจำต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ถ่านสอดเข้าใต้ผิวหนังที่หน้าอกเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นตามปกติ)
ในบางกรณี ภาวะข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีความอันตรายอย่างมาก ข้อมูลวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่า "ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจประมาณ 2% จะเสียชีวิตในช่วง 30 วันแรกหลังการผ่าตัด"
แพทย์สรุปไว้ว่า ความเสี่ยงดังกล่าวมีน้อยกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากไม่ทำการรักษากับภาวะทางหัวใจเสียอีก ทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเป็นกระบวนการรักษาที่นับว่า "มีประสิทธิภาพที่สุดอยู่ดี"
สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
1. การมีเพศสัมพันธ์หลังการผ่าตัดหัวใจ
หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยล้าและหายใจลำบากมากขึ้น นั่นย่อมส่งผลต่อชีวิตคู่ของผู้ป่วยแน่นอน แต่หลังจากนั้น เมื่อร่างกายฟื้นตัวอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
ผู้ป่วยสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทันทีที่พร้อม แต่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงท่าที่มีความเสี่ยง หรือท่าที่ต้องออกแรงเยอะ เพื่อไม่ให้กระทบกับบาดแผลผ่าตัด
สำหรับบางคน ประสบการณ์การป่วยหนักอาจส่งผลต่อความรู้สึกทางเพศด้วย โดยเฉพาะผู้ชายที่ความเครียดทางอารมณ์สามารถส่งผลไปสู่การเสื่อมสมรรถนะทางเพศได้
หากผู้ป่วยกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็สามารถปรึกษากับคู่สมรส กลุ่มช่วยเหลือ หรือแพทย์ประจำตัวได้
2. การขับรถหลังการผ่าตัด
หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถเดินทางด้วยการนั่งรถได้ แต่แพทย์จะห้ามไม่ให้ผู้ป่วยขับรถจนกว่าเวลาจะผ่านไป 6 สัปดาห์นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล
3. การกลับไปทำงาน
การกลับไปทำงานขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่ผู้ป่วยทำอยู่ หากไม่มั่นใจให้ปรึกษา หรือสอบถามกับศัลยแพทย์ก่อน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะสามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ได้หลังจากการพักฟื้น 6-8 สัปดาห์ นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล
แต่หากเป็นงานประเภทแรงงานควรใช้เวลาพักฟื้นอย่างน้อย 3 เดือนก่อนจะกลับไปทำงาน ซึ่งต้องปรึกษาหารือกับผู้ดูแล หรือแผนกสุขภาพที่ทำงานของผู้ป่วยในเรื่องนี้ด้วย
หลังผ่าตัดลิ้นหัวใจแล้ว นอกจากวินัยในการไปพบแพทย์ตามนัดแล้ว ใช่ยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว ผู้ป่วยยังควรปรับการใช้ชีวิตใหม่ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการรับประทานของมัน ของทอด อาหารไขมันสูง
พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก หลีกเลี่ยงความเครียด รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อให้หัวใจมีความแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น
ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ ตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android