วิธีการเลือกวิตามินและอาหารเสริมให้คุ้มค่า และได้ประโยชน์

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีการเลือกวิตามินและอาหารเสริมให้คุ้มค่า และได้ประโยชน์

ทุกวันนี้กระแสรักสุขภาพมาแรง ใครๆ ก็หันมาดูแลตัวเองกันทั้งนั้น ซึ่งนอกจากการออกกำลังกาย และการทานอาหารที่ดีมีประโยชน์แล้ว เรื่องการทานวิตามิน อาหารเสริม ก็เป็นสิ่งที่หนุ่มสาวยุคนี้ใส่ใจกันไม่น้อย แต่การเลือกวิตามินและอาหารเสริมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทานอะไรก็ได้ตามใจ เพราะยังไงสุขภาพเราต้องมาก่อน วันนี้เราจึงมีวิธีการเลือกวิตามินและอาหารเสริมมาฝาก เพื่อให้ทุกคนเลือกซื้อกันอย่างคุ้มค่า และทานแล้วได้ประโยชน์ตามความต้องการจริงๆ

คำนึงถึงความจำเป็นต่อร่างกาย

    ร่างกายแต่ละคนต้องการสารอาหารเสริมแตกต่างกันไปตามสภาพ เช่น หนุ่มสาวที่เพิ่งอายุต้น 20 ยังไม่เผชิญกับปัญหากระดูกพรุน ก็อาจไม่จำเป็นต้องทานอาหารเสริมแคลเซียม หรือคนที่ไม่ได้มีปัญหาผิวหนังเป็นพิเศษ อาจไม่จำเป็นต้องทานวิตามิน เอ เสริม เพราะที่รับจากอาหารก็เพียงพอแล้ว และหากทานมากเกิน วิตามิน เอ ก็อาจสะสมในร่างกายจนเป็นโทษได้ การจะเลือกซื้อวิตามินและอาหารเสริมสักกระปุก อย่าลืมถามตัวเองก่อนว่าจำเป็นไหม เพื่อป้องกันไม่ให้เราซื้อแหลกโดยไร้ประโยชน์นั่นเอง

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    ดูส่วนประกอบและปริมาณที่เหมาะสม

      ฉลากของผลิตภัณฑ์วิตามินและอาหารเสริมจะมีระบุไว้เสมอว่า ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยสารอาหารอะไรบ้าง และมีปริมาณเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งเราต้องดูให้ดี และนำมาเปรียบเทียบว่าปริมาณที่เราทานเข้าไปคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ RDA หรือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน ซึ่งหากอาหารเสริมมีปริมาณสารอาหารไม่ถึง 100% ของ RDA เราก็จำเป็นต้องรับวิตามินและเกลือแร่จากอาหารเพิ่มเติมอีก โดย ตารางปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน (RDA) มีดังนี้

      สารอาหาร

      ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน

      แคลเซียม

      800 มก.

      แมกนีเซียม

      300 มก.

      ฟอสฟอรัส

      800 มก.

      วิตามิน ดี

      5 ไมโครกรัม

      วิตามิน เอ

      800 ไมโครกรัม

      วิตามิน อี

      10 มก.

      เบต้า-แคโรทีน

      -

      วิตามิน บี1 : Thiamine

      1.4 มก.

      วิตามิน บี2 : Riboflavin

      1.6 มก.

      วิตามิน บี3 : Nicotinamide

      18 มก.

      วิตามิน บี3 : Nicotinic acid

      18 มก.

      Pantothenic acid

      6 มก.

      วิตามิน บี6

      2 มก.

      วิตามิน บี12

      1 ไมโครกรัม

      กรดโฟลิค

      200 ไมโครกรัม

      เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรอง

      วิตามินและอาหารเสริมทุกชนิดที่เราจะนำเข้าปาก ต้องมั่นใจก่อนว่ามี อย. อย่างถูกต้องครบถ้วน ซึ่งแสดงว่าได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา นอกจากนี้ มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะบ่งบอกถึงมาตรฐานในอุตสาหกรรมการผลิตยาและเครื่องสำอาง และในสหรัฐอเมริกาก็ยังมีองค์กร NSF ไว้สำหรับตรวจสอบและควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อีกด้วย ซึ่งถ้าวิตามินและอาหารเสริมที่เราหมายตามีเครื่องหมายมาตรฐานเหล่านี้ ก็เป็นอันว่ามั่นใจได้ในระดับหนึ่ง

      สูตร/คุณสมบัติเป็นอย่างไร? 

      ผลิตภัณฑ์วิตามินและอาหารเสริมนั้นมีทั้งรูปแบบเม็ด แคลซูล น้ำ และรูปแบบอื่นๆ ซึ่งคุณสมบัติในการดูดซึมอาจแตกต่างกันไป เช่น ธาตุเหล็กในรูปแบบของเหลวจะดูดซึมได้ดีกว่าแบบเม็ด แต่การทานก็ยุ่งยากกว่า จึงไม่เป็นที่นิยม วิตามิน อี ที่สกัดจากธรรมชาติ (d-alpha tocopherol) ก็ดูดซึมได้ดีและมี

        ประสิทธิภาพกว่าแบบสังเคราะห์ (dl-alpha tocopherol) แต่ราคาก็สูงกว่าเช่นกัน หรือแคลเซียมในรูปแบบ calcium carbonate ก็ดูดซึมไวกว่า calcium citrate รวมถึงไม่ค่อยมีอาการปวดแสบท้องเป็นผลข้างเคียงด้วย เราจึงควรศึกษาข้อมูลพวกนี้ และเลือกซื้อตามความเหมาะสม 

        วิธีการทานที่ถูกต้อง

          เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของผลิตภัณฑ์ วิธีการทานอย่างถูกต้องก็สำคัญไม่แพ้อย่างอื่น ก่อนซื้อจึงต้องอ่านฉลากให้ดีว่าผลิตภัณฑ์ควรทานเวลาใด ทานพร้อมกับอาหารได้หรือไม่ ต้องทานวันละกี่ครั้ง/กี่เม็ด และนอกจากนี้ หากเราซื้อวิตามินอาหารเสริมหลายตัวมาทานร่วมกัน ต้องอย่าลืมว่าสารอาหารแต่ละตัวอาจออกฤทธิ์ส่งเสริมหรือหักล้างกันได้ด้วย เช่น ธาตุเหล็กจะดูดซึมได้ดีหากทานร่วมกับวิตามิน ซี แต่จะดูดซึมได้แย่ลงหากทานพร้อมกับแคลเซียม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราต้องรู้ไว้ก่อนทาน

          อย่าตามกระแส และอย่าเห็นแก่ของถูก

            โฆษณาวิตามินเพื่อผิวใส หรือกลูต้าผิวขาว 1 แถม 1 อาจล่อตาล่อใจหลายคนให้อยากซื้อมาลอง แต่อย่าเพิ่งใจร้อน! เราควรพิจารณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนว่าจริงหรือไม่ โดยศึกษาจากหลายๆ แหล่ง และบางครั้งของถูกก็ใช่ว่าจะดีเสมอ ต้องดูว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรองหรือไม่ ส่วนประกอบและคุณสมบัติเป็นอย่างไร เพื่อให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างฉลาดและคุ้มค่า

            แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
            ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

            แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

            แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
            ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

            จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


            5 แหล่งข้อมูล
            กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
            What patients — and doctors — need to know about vitamins and supplements. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/patients-doctors-know-vitamins-supplements-2018031613418)
            Tips for Dietary Supplement Users. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/food/information-consumers-using-dietary-supplements/tips-dietary-supplement-users)
            Is it better to get nutrients from food or supplements?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324956)

            บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

            ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

            ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
            (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

            บทความต่อไป
            อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด
            อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

            รวมข้อมูลสารอาหารในอาหารเสริมวิตามินเอ และผลกระทบหากร่างกายขาดวิตามินเอมากเกินไป

            อ่านเพิ่ม