อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

รวมข้อมูลสารอาหารในอาหารเสริมวิตามินเอ และผลกระทบหากร่างกายขาดวิตามินเอมากเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

อาหารที่คุณรับประทานอยู่ทุกวัน จำเป็นที่จะต้องให้สารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ วิตามินเอ ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน วิตามินเอนั้นคุณมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงสายตา การแบ่งตัวของเซลล์ และช่วยเรื่องระบบสืบพันธุ์ เป็นเรื่องไม่ยากที่เราจะรับวิตามินเอให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน เนื่องจากวิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน 

วิตามินเอในอาหารมีอะไรบ้าง

วิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด แต่จะมีรูปแบบแตกต่างกันไปในสัตว์และในพืช 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. รูปแบบของวิตามินเอที่พบในสัตว์ 

วิตามินเอที่พบในสัตว์จะได้แก่ เรตินอล (Retinol) ซึ่งเป็น "วิตามินเอรูปแบบพร้อมออกฤทธิ์" (Preformed vitamin A) รูปแบบหนึ่ง และร่างกายยังสามารถเปลี่ยนวิตามินเอในเนื้อสัตว์ให้เป็นสารอนุพันธ์เรตินาล (Retinal) หรือ กรดเรติโนอิก (Retinoic acid) ซึ่งเป็นวิตามินเอพร้อมออกฤทธิ์อีก 2 รูปแบบได้อีกด้วย โดยแหล่งอาหารที่เต็มไปด้วยเรตินอล ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ตับ และ อาหารเสริมสารอาหาร

2. รูปแบบวิตามินเอที่พบในพืช

ส่วนรูปแบบของวิตามินเอที่พบในพืช จะเรียกว่า "สารแคโรทีนอยด์" (Carotenoids) ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารกว่า 600 ชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี จะได้แก่

  • เบตา-แคโรทีน (Beta-carotene) 
  • แอลฟา-แคโรทีน (Alpha-carotene) 
  • เบตา-คริพโตซานทิน (Beta-cryptoxanthin)
  • ไลโคพีน (Lycopene)
  • ลูทีน (Lutein)
  • ซีแซนทีน (Zeaxanthin)

นอกจากนี้ ร่างกายของเรายังสามารถเปลี่ยนสารแคโรทีนอยด์เหล่านี้ให้เป็นเรตินอลได้ด้วย ซึ่งแหล่งอาหารที่เต็มไปด้วยสารแคโรทีนอยด์นั้น ได้แก่ ผักสีสด และผักใบเขียว เช่น แครอท ผักโขม ผักคะน้า และผลไม้ เช่น อินทผาลัม มะละกอ มะม่วง

อาการพร่องวิตามินเอ

โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยพบอาการพร่องวิตามินเอในคนปกตินัก เนื่องจากวิตามินเอสามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด แต่หากคุณไม่ได้รับวิตามินเอให้เพียงพอมาเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดโรคตามัวตอนกลางคืน (Night blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ชัดเจนในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลงและมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคได้ยากขึ้น

นอกเหนือจากอาการพร่องวิตามินเอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอแล้ว อาการพร่องวิตามินเอก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการอักเสบในส่วนของทางเดินอาหาร และโรคที่ไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร ซึ่งส่งผลให้ระดับวิตามินเอในร่างกายลดน้อยลง ได้แก่ 

  • โรคโครห์น (Crohn’s disease) 
  • โรคแพ้กลูเตน (Celiac disease) 
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง 
  • การขาดธาตุสังกะสี 
  • โรคตับอ่อน

หากคุณมีอาการของโรคที่กล่าวมาข้างต้น คุณควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กผลเลือดว่า มีระดับวิตามินเอในร่างกายเป็นปกติหรือไม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะการได้รับวิตามินเอเกินขนาด

ภาวะการได้รับวิตามินเอเกินขนาด (Hypervitaminosis A) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับวิตามินเอมากเกินไปในระยะหนึ่ง จนสามารถทำให้เกิดปัญหาโรคตับ กระดูกอ่อนแอ และทำให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดได้

เราทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับวิตามินเอมากเกินไปได้หากไม่ระมัดระวัง ซึ่งวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ จึงสามารถเก็บสะสมอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ คุณอาจเผชิญกับการได้รับวิตามินเอมากเกินไปจากการรับประทานอาหารเสริม ซึ่งค่าสูงสุดในผู้บริโภควัยผู้ใหญ่ที่จะรับวิตามินเอได้คือ 10,000 ไมโครกรัม และการรับประทานอาหารเสริมที่มีวิตามินเอเป็นปริมาณมากจะสามารถส่งผลให้มีอาการต่อไปนี้

การรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอ

มีอาหารเสริมหลากหลายยี่ห้อที่อ้างเอาสรรพคุณของวิตามินเอเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารแคโรทีนอยด์ ซึ่งจะอ้างถึงสรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ และปลอดภัยกว่าอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอรูปแบบพร้อมออกฤทธิ์

แต่อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับสารแคโรทีนอยด์มากเกินไป ก็สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน โดยจะทำให้ผิวของคุณดูเหลืองส้มขึ้น และยังเพิ่มโอกาสทำให้เป็นโรคมะเร็งปอดมากขึ้นด้วยแทนที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้น

นอกจากนี้ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของแคโรทีนอยด์ยังมีข้อสรุปที่แตกต่างกันไป และส่วนมาก ผู้บริโภคมักรับข้อมูลทางโภชนาการของอาหารเสริมผ่านสื่อโฆษณาอย่างเดียว แต่ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าควรรับประทานอาหารเสริมในปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม

ดังนั้น การรับสารแคโรทีนอยด์ผ่านการรับประทานอาหารทั่วไป จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการรับสารแคโรทีนอยด์ผ่านอาหารเสริม เพราะนอกเหนือจากสารแคโรทีนอยด์แล้ว คุณยังจะได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่หลากหลาย ทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์อีกมากมายจากอาหารที่รับประทานด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin A deficiency. DermNet NZ. (https://dermnetnz.org/topics/vitamin-a-deficiency/)
Vitamin A Deficiency: Background, Pathophysiology, Epidemiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/126004-overview)
Vitamin A deficiency and its consequences. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/nutrition/publications/micronutrients/vitamin_a_deficiency/9241544783/en/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป