การฉายภาพด้วยรังสีเอกซ์ หรือเอกซเรย์เป็นกระบวนการสร้างภาพภายในร่างกายที่รวดเร็วและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เป็นวิธีการที่ใช้ดูกระดูกภายในร่างกายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถใช้ภาพดังกล่าวหาจุดและความรุนแรงของปัญหาได้
การเอกซเรย์มักดำเนินการตามแผนกเอกซเรย์ในโรงพยาบาล โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่านักรังสีวิทยาเป็นผู้ดำเนินงาน ซึ่งกระบวนการนี้ยังสามารถดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่น ๆ ได้อย่างทันตแพทย์ เป็นต้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เอกซเรย์ทำงานอย่างไร?
เอกซเรย์เป็นการใช้รังสีประเภทหนึ่งที่มีความสามารถในการผ่านทะลุร่างกายของมนุษย์ได้ ซึ่งตาของคนเราไม่สามารถมองเห็น หรือรู้สึกถึงรังสีนี้ได้
ขณะที่รังสีทะลุผ่านร่างกายไป พลังงานของรังสีเอกซ์จะถูกอวัยวะส่วนต่าง ๆ ดูดซับเข้าไปในอัตราที่ต่างกัน โดยอีกด้านของร่างกายจะมีตัวตรวจจับรังสี ซึ่งคอยรับรังสีที่ผ่านทะลุร่างกายมนุษย์และเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นภาพ
ส่วนร่างกายที่มีความหนาแน่นอย่างกระดูกจะทำให้รังสีเอกซ์ทะลุผ่านได้ยาก ทำให้ปรากฏตำแหน่งของสิ่ง ๆ นั้นออกมาเป็นสีขาวเข้ม ส่วนที่มีสีขาวจาง ๆ จะแสดงให้เห็นว่ารังสีสามารถผ่านสิ่งนั้นได้ง่ายดายกว่า ซึ่งมักจะเป็นหัวใจและปอด ที่ปรากฏบนฟิล์มเป็นจุดสีดำ
จะมีการใช้เอกซเรย์เมื่อไร?
- เอกซเรย์ถูกใช้เพื่อตรวจสอบพื้นที่ส่วนมากของร่างกาย โดยมักใช้สำรวจข้อต่อและกระดูก และบางครั้งก็ใช้การเอกซเรย์เพื่อตรวจหาความผิดปรกติที่ส่งผลกับเนื้อเยื่ออ่อนอย่างอวัยวะภายใน
- การเอกซเรย์มักใช้มองหาปัญหาดังนี้:
- กระดูกหักหรือร้าว
- ปัญหาด้านทันตกรรม อย่างการสูญเสียฟัน และหนองฝัน
- โรคกระดูกสันหลังคด
- เนื้องอกทั้งที่เป็นและไม่มะเร็ง
- ปัญหาที่ปอด อย่างโรคปอดบวม และมะเร็งปอด
- ภาวะกลืนลำบาก
- ปัญหาด้านหัวใจ อย่างโรคหัวใจ
- มะเร็งเต้านม
- เอกซเรย์มักใช้เพื่อให้แพทย์และศัลยแพทย์หาแนวทางในการดำเนินการรักษาจริง ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัดขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดการกับหลอดเลือดที่ตีบใกล้หัวใจ การใช้ภาพเอกซเรย์จะช่วยให้แพทย์ดันท่อสวน (ท่อที่มีขนาดบาง ยาว และยืดหยุ่นมาก) ไปตามหลอดเลือดจนถึงจุดที่เกิดภาวะได้
การเตรียมตัวสำหรับการถ่ายเอกซเรย์
ก่อนการเอกซเรย์นั้นไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ คุณสามารถดื่มและรับประทานอาหาร หรือแม้แต่ทานยาตามกำหนดได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามคุณอาจต้องงดใช้ยาหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหลายชั่วโมงก่อนการตรวจ หากเป็นการเอกซเรย์ที่ใช้สารทึบรังสี
การเอกซเรย์ทุกประเภทนั้นไม่เหมาะกับสตรีที่ตั้งครรภ์นอกเสียจากเป็นกรณีฉุกเฉิน ถ้าหากคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่แล้วต้องทำการเอกซเรย์ โปรดแจ้งทางโรงพยาบาลทันที
ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้ตัวเองรู้สึกสบายที่สุดเนื่องจากคุณต้องสวมใส่เสื้อผ้าชุดนั้นไปตลอดการเอกซเรย์ แต่พยายามอย่าสวมใส่เครื่องประดับและเสื้อผ้าที่มีส่วนประกอบของเหล็ก (อย่างเช่นซิปรูด) หากมี ทางโรงพยาบาลจะขอให้คุณเปลี่ยนเสื้อผ้าหรือเอาออก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขณะทำการถ่ายเอกซเรย์
ระหว่างกระบวนการเอกซเรย์ คุณจะถูกขอให้นอนราบบนเตียง หรือยืนชิดกำแพง เพื่อให้การถ่ายภาพเป็นไปอย่างถูกตำแหน่ง
เครื่องเอกซเรย์จะมีลักษณะคล้ายท่อที่มีหลอดไฟขนาดใหญ่ติดไว้ โดยมีนักรังสีวิทยาคอยกำกับเครื่องจักรให้เล็งที่ร่างกายผู้รับการตรวจตลอดเวลา โดยพวกเขาจะควบคุมอยู่หลังฉากหรือจากห้องถัดไป
การเอกซเรย์จะกินเวลาไม่กี่วินาที และคุณจะไม่รู้สึกผิดแปลกอะไรขณะดำเนินการ
โดยระหว่างการถ่ายภาพ คุณต้องอยู่ในท่านิ่งตลอดเพื่อให้ภาพออกมาชัดเจน และมักมีการถ่ายภาพเอกซเรย์มากกว่าหนึ่งมุมเพื่อให้ได้ข้อมูลร่างกายมากที่สุด
ขั้นตอนทั้งหมดรวมแล้วอาจมีเวลาไม่กี่นาที
สารทึบรังสีเอกซเรย์
ในการถ่ายเอกซเรย์บางกรณีจะมีการใช้สารทึบรังสีเพื่อให้ภาพแสดงเนื้อเยื่ออ่อนออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ซึ่งการเอกซเรย์ที่มีการใช้สารทึบรังสีมีดังนี้:
- การกลืนแป้งแบเรียม: สารแบเรียมที่ถูกกลืนเข้าไปจะช่วยแสดงให้เห็นระบบย่อยอาหารส่วนบนชัดเจนยิ่งขึ้น
- การสวนแป้งแบเรียม: จะมีการสอดแบเรียมเข้าไปยังลำไส้ของผู้เข้ารับการตรวจผ่านทางทวารหนัก
- การถ่ายภาพหลอดเลือด: จะมีการฉีดไอโอดีนเข้าหลอดเลือดเพื่อให้ภาพหัวใจและหลอดเลือดออกมาชัดเจน
- การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะ (IVU): จะทำการฉีดไอโอดีนเข้ากระแสเลือดเพื่อให้แสดงตำแหน่งไตและกระเพาะปัสสาวะบนฟิล์มที่ได้ให้ชัดเจนขึ้น
การเอกซเรย์เหล่านี้ต้องมีการเตรียมการแบบพิเศษล่วงหน้า และมีเวลาดำเนินการยาวกว่าปรกติ ซึ่งในจดหมายนัดหมายกำหนดการทำเอกซเรย์จะระบุสิ่งที่คุณต้องปฏิบัติก่อนเข้าเอกซเรย์
เกิดอะไรขึ้นหลังจากการเอกซเรย์?
คุณจะไม่ได้รู้สึกถึงผลกระทบใด ๆ หลังการเอกซเรย์ และสามารถกลับบ้านไปทำกิจกรรมตามปรกติได้หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดแล้ว
คุณอาจประสบกับผลข้างเคียงจากสารทึบรังสีที่ใช้ระหว่างการเอกซเรย์
ยกตัวอย่างเช่น แบเรียมอาจเปลี่ยนให้อุจจาระของคุณมีสีขาวซีดไปหลายวัน และการฉีดยาเพื่อผ่อนคลายกระเพาะก่อนเอกซเรย์อาจทำให้สายตาของคุณพร่ามัวเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง บางคนอาจมีผื่นหรือรู้สึกคลื่นไส้จากการฉีดไอโอดีนอีกด้วย
ภาพถ่ายเอกซเรย์มักต้องผ่านการวิเคราะห์โดยแพทย์รังสีวิทยาก่อนที่จะส่งผลการตรวจให้แก่คุณ โดยอาจมีบางครั้งที่คุณสามารถรับผลการตรวจภายในวันเดียวกับที่เอกซเรย์ก็ได้ หากต้องส่งผลไปวิเคราะห์ก่อนแพทย์เจ้าของไข้ของคุณจะเป็นคนนัดหมายคุณมาพบอีกทีวันหลังเพื่อรับฟังผล
การเอกซเรย์มีความปลอดภัยหรือไม่?
มีหลายคนกังวลกับการต้องรังสีระหว่างการเอกซเรย์ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว รังสีที่ใช้นั้นมีระดับต่ำมาก และมีการฉายใส่ร่างกายในระยะเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น โดยทั่วไปปริมาณรังสีเอกซ์ที่คุณต้องระหว่างการทำเอกซเรย์นั้นจะเทียบเท่ากับปริมาณรังสีตามธรรมชาติที่คุณได้รับภายในระยะเวลาไม่กี่วัน จนถึงไม่กี่ปี กระนั้นก็มีความเสี่ยงที่รังสีเอกซเรย์อาจก่อมะเร็งขึ้นในร่างกายผู้รับการตรวจ แต่ความเสี่ยงดังกล่าวก็มีน้อยมาก ๆ
การเอกซเรย์ที่หน้าอก แขนขา หรือฟัน จะเท่ากับปริมาณรังสีที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ไม่กี่วัน และมีโอกาสน้อยกว่า 1 ในล้านที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งขึ้น