กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.จุติพร จตุรเชิดชัย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.จุติพร จตุรเชิดชัย

การผ่าตัดหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การผ่าตัดหัวใจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การผ่าตัดหัวใจเป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีการทำงานของหัวใจผิดปกติ หรือผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ในกรณีที่รักษาด้วยการใช้ยา หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่ได้ผลแล้ว
  • ระยะเวลาการผ่าตัดหัวใจจะขึ้นอยู่กับประเภทการผ่าตัด โรคประจำตัว หรืออาการของผู้ป่วย เช่น 2-4 ชั่วโมงในการผ่าตัดขนาดเล็ก 8 ชั่วโมงขึ้นไปในการผ่าตัดขนาดใหญ่
  • การผ่าตัดหัวใจมีหลายแบบ เช่น ผ่าตัดเปิดหัวใจ ผ่าตัดขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและการดามลวด ผ่าตัดบายพาส การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การปลูกฝังเครื่องกระตุกหัวใจชนิดฝัง
  • การผ่าตัดหัวใจมีความเสี่ยง เช่น เจ็บหน้าอก มีไข้ หายใจลำบาก หัวใจวาย หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ปอด หรือไตล้มเหลว เกิดลิ่มเลือดบริเวณภายในและรอบๆ หัวใจ
  • หากคุณ หรือคนที่คุณรักจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ ควรศึกษากระบวนการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อให้เข้าใจและคลายความกังวลมากที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจได้ที่นี่)

เมื่อการทำงานของหัวใจมีความผิดปกติ หรือที่เรียกว่า "ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)" แล้ว การใช้ยารักษา หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร 

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดหัวใจเพื่อควบคุมอาการ หรือลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวาย (Congestive heart failure) ในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัดหัวใจสามารถเป็นได้ทั้งการผ่าตัดที่วางแผนไว้ล่วงหน้า หรือเป็นการรักษาในกรณีฉุกเฉินก็ได้

ข้อดีของการผ่าตัดหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจเป็นวิธีรักษาขั้นต่อไปหลังจากที่การใช้ยา หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่ได้ผลแล้ว

เนื่องจากการผ่าตัดมีข้อดีคือ สามารถแก้ไข ซ่อมแซมหัวใจส่วนที่เสียหาย หรือมีปัญหา ช่วยยืดอายุขัยของผู้ป่วยด้วยการทำให้เลือดที่ไหลไปเลี้ยงหัวใจเป็นไปอย่างสะดวกขึ้น รวมถึงเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้

นอกจากการผ่าตัดในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว หากคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจในอนาคตอันใกล้ ก็ควรเตรียมความพร้อมรับการผ่าตัดด้วยการปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการและความเสี่ยงต่างๆ ของกระบวนการผ่าตัดก่อน 

การผ่าตัดหัวใจใช้ระยะเวลานานเท่าไร?

ระยะเวลาการผ่าตัดหัวใจจะขึ้นอยู่กับประเภทการผ่าตัด โรคประจำตัว หรืออาการของผู้ป่วยในขณะนั้น อาจใช้เวลาตั้งแต่2-4ชั่วโมงในการผ่าตัดขนาดเล็ก หรืออาจมากถึง 8 ชั่วโมงขึ้นไป ในการผ่าตัดขนาดใหญ่ 

ทั้งนี้สามารถสอบถามการประเมินระยะเวลาการผ่าตัดได้จากแพทย์เจ้าของไข้ได้ในแต่ละราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเสี่ยงในการผ่าตัดหัวใจ

การผ่าตัดหัวใจอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

  • เจ็บหน้าอกและมีไข้
  • การหายใจลำบาก
  • การสูญเสียเลือดบริเวณแผลผ่าตัด หรือในบริเวณของหัวใจซึ่งมีการผ่าตัด
  • ติดเชื้อแผลที่หน้าอก (พบมากในผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน)
  • หัวใจวาย หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ปอดอักเสบ หรือติดเชื้อ
  • ปอด หรือไตล้มเหลว
  • อัมพาต (Stroke)
  • ความเสื่อมของกระบวนการการรับรู้ (Cognitive Impairment)
  • การเกิดลิ่มเลือดบริเวณภายในและรอบๆ หัวใจ หรืออาจเคลื่อนที่ไปตามกระแสเลือด
  • ความเสี่ยงต่างๆ ที่มากับเครื่องปอดและหัวใจเทียม

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดหัวใจ

หลังเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในห้องอภิบาลผู้ป่วยหนัก หรือที่เรียกว่า "ห้องไอซียู (Intensive Care Unit: ICU)" หรือ "ห้องซีซียู (Cardiac Care Unit: CCU)" 

แพทย์จะติดตั้งท่อระบายจำนวน 1-3 อัน ในทรวงอก เพื่อระบายเลือดและน้ำที่ตกค้างออกจากพื้นที่รอบหัวใจและปอด หลังจากนั้นจะให้ยาที่เป็นสารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ

นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ (Urine Catheter) เพื่อให้สามารถระบายปัสสาวะออกได้ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 วัน ก่อนจะย้ายผู้ป่วยไปพักฟื้นที่ห้องธรรมดา ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์ขึ้นไป

วิธีการผ่าตัดหัวใจในแบบต่างๆ

1. การผ่าตัดเปิดหัวใจ

เป็นการผ่าตัดที่แพทย์ต้องทำการเปิดช่องอกเพื่อดำเนินหัตถการกับหัวใจ คำว่า “เปิด” ในที่นี้หมายถึง หน้าอกของผู้ป่วย ไม่ได้หมายถึง ผ่าเปิดหัวใจ โดยการเปิดกล้ามเนื้อหัวใจนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัดเอง 

การเปิดช่องอกนี้ยังหมายถึง การเปิดกระดูกสันอกและการซ่อมแซมกระดูกสันอกอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. การผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการดามลวด

การผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจและการดามลวดจะใช้เพื่อขยายหลอดเลือดรอบหัวใจที่เกิดการตีบตันขึ้น การรักษานี้มีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็นหลัก 

ระหว่างหัตถการหลอดเลือดแดงที่ตีบจะถูกขยายออกด้วยบอลลูนและใช้ลวดเหล็กดามหลอดเลือดให้คงสภาพอยู่เช่นนั้น ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนผ่านหลอดเลือดที่ตีบได้อย่างสะดวกขึ้น

การผ่าตัดประเภทนี้ยังสามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "การผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention: PCI)"

3. การผ่าตัดบายพาสหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรืออีกชื่อคือ "การผ่าตัดสร้างทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)" เป็นหัตถการเพื่อแก้ไขหลอดเลือดแดงรอบหัวใจที่เกิดการตีบจนทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจเป็นไปได้ยากขึ้น 

การผ่าตัด CABG เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกและโรคหลอดเลือดหัวใจ

สำหรับหลอดเลือดที่ใช้ทำทางเบี่ยงจะนำมาจากส่วนอื่นของร่างกาย โดยแพทย์จะนำหลอดเลือดทดแทนมาแต่งหลอดเลือดที่เกิดการตีบตัน เพื่อสร้างทางเบี่ยงตำแหน่งที่ตีบตันไป ทำให้เลือดกลับมาไหลเวียนได้อย่างปกติ

4. การผ่าตัดใส่บอลลูนที่ลิ้นหัวใจ

บางกรณีสามารถแก้ไขภาวะลิ้นหัวใจตีบได้ด้วยการผ่าตัดใส่บอลลูนที่ลิ้นหัวใจ ส่วนมากมักใช้สำหรับรักษาภาวะลิ้นหัวใจตีบ โดยแพทย์จะใช้ท่อ (สายสวน) พลาสติกขนาดเล็กสอดเข้าเส้นเลือดแดงหลัก ซึ่งมักจะสอดผ่านขาหนีบของผู้ป่วยเพื่อขึ้นไปยังหัวใจ

สายสวนนี้จะทำให้บอลลูนที่พองตัวออก ไหลเข้าไปในตำแหน่งลิ้นที่เสียหายเพื่อยืดขยายลิ้นหัวใจ หลังจากนั้นบอลลูนจะหดตัวลง แล้วแพทย์ก็จะดึงทั้งบอลลูนและสายสวนออกจากร่างกาย 

5. การซ่อมแซมลิ้นหัวใจ

แพทย์จะพยายามซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เสียหายหากเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจทั้งชิ้น การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจนี้มักดำเนินการเพื่อรักษาภาวะเลือดไหลกลับจากลิ้นไมตรัล

6. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

หากลิ้นหัวใจเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ หรือผู้ป่วยมีสภาพร่างกายไม่เหมาะกับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ แพทย์จะผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่แทน ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยาสลบ หรือยาชาเฉพาะที่เพื่อเข้ารับการผ่าตัด

7. การปลูกฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดฝัง

การปลูกฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดฝัง (Implantble Cardioverter Defibrillator: ICD) เข้าที่ร่างกาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจจับภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดรุนแรงให้กับผู้ป่วย 

เมื่อตรวจพบแล้วเครื่องจะทําการรักษาโดยการกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าจากภายใน (internal defibrillation) หรือทําการกระตุ้นหัวใจด้วยอัตราความเร็วที่มากพอที่อาจจะหยุดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะดังกล่าวลงได้ (antitachycardia pacing)

8. การใส่อุปกรณ์กระตุ้นไฟฟ้าหัวใจถาวรและอัตโนมัติ 

ผู้ที่เคยประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลวมาแล้วจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า "เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าถาวร หรืออัตโนมัติ" ที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวประสานกัน เช่นเดียวกับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

อุปกรณ์นี้สามารถกระตุ้นให้ห้องต่างๆ ของหัวใจเกิดการบีบรัดและผ่อนตัวประสานกันเป็นปกติได้ ผลที่ได้คือ การสูบฉีดเลือดที่ดียิ่งขึ้น

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าถาวร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • CRT-P (Cardiac Resynchronisation Therapy Pacemaker)
  • CRT-D (Cardiac Resynchronisation Therapy Defibrillator device)

9. เครื่องพยุงหัวใจ 

เครื่องพยุงหัวใจ (Left Ventricular Assist Device: VAD หรือ LVAD) เป็นเครื่องที่ช่วยรองรับการไหลเวียนของเลือด โดยทำหน้าที่รับเลือดจากเวนทริเคิลซ้าย (Left ventricle) หรือห้องล่างสุดของหัวใจ และฉีดเลือดที่รับมาเข้าไปยังเอออร์ตาไปเลี้ยงร่างกาย 

ในตอนแรกอุปกรณ์นี้ออกแบบมาให้ช่วยรองรับการทำงานของหัวใจสำหรับผู้ที่กำลังรอการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ แต่ปัจจุบันได้ใช้อุปกรณ์นี้ช่วยเหลือบำบัดระยะยาวแก่ผู้ที่ไม่เหมาะสมกับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ และผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายแล้ว

10. การปลูกถ่ายหัวใจ

การปลูกถ่ายหัวใจ หรือการเปลี่ยนหัวใจ เป็นหัตถการที่มีขึ้นเพื่อเปลี่ยนหัวใจที่เสียหายจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ ซึ่งการปลูกถ่ายหัวใจเป็นการรักษาที่มักแก้ไขภาวะปัญหาต่างๆ ได้ แม้ว่าผู้ป่วยจะผ่านการใช้ยา หรือการผ่าตัดที่ไม่ประสบผลสำเร็จใดๆ มาก่อน

แต่ไม่ใช่ว่า การปลูกถ่ายหัวใจจะเหมาะสมกับทุกๆ คน เนื่องจากแพทย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องประเมินความเสี่ยงทั้งก่อน-หลังการผ่าตัด  ระยะพักฟื้น ประวัติสุขภาพของผู้ป่วย รวมถึงเพศและอายุ ก่อนตัดสินใจให้ผู้ป่วยเข้ารับการปลูกถ่ายหัวใจอีกด้วย

หากคุณกำลังสับสนและกังวลที่จะตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ควรศึกษาเรื่องกระบวนการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลติดตามผลให้ดีเสียก่อน โดยสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัวที่ดูแลนั่นเอง

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Johns Hopkins medicine, Coronary Artery Bypass Graft Surgery (https://www.hopkinsmedicine.org/health/treatment-tests-and-therapies/coronary-artery-bypass-graft-surgery), 3 November 2019.
Medlineplus.gov, Heart surgery (https://medlineplus.gov/heartsurgery.html), 3 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

ทำความรู้จักการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ใครบ้างที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด มีความเสี่ยงไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร หลังการผ่าตัดต้องดูแลตัวเองอย่างไร

อ่านเพิ่ม
การผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery)
การผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery)

ทำความเข้าใจการผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery) แบบต่างๆ

อ่านเพิ่ม