Sodamint (โซดามินท์) - เป็นยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการกรดเกินในกระเพาะอาหาร

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Sodamint (โซดามินท์) - เป็นยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการกรดเกินในกระเพาะอาหาร

โซดามินท์ เป็นชื่อในรูปแบบของยาที่มีตัวยาสำคัญ คือ โซเดียม ไบคาร์บอเนต (sodium bicarboante) รู้จักกันในอีกชื่อคือ เบคกิ้งโซดา (baking soda) มีโครงสร้างทางเคมีคือ NaHCO3 โดยเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมไอออนและไบคาร์บอเนตไอออน มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีรวชาติเค็มเล็กน้อย ในการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เมื่อนำโซเดียม ไบคาร์บอเนตมาผสมน้ำจะสามารถใช้เป็นยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการกรดเกินในกระเพาะอาหารและอาการแสบร้อนกลางอกได้ โดยโซเดียม ไบคาร์บอเนต ทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร เกิดเป็น เกลือ น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ มีการบริหารยาในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำในภาวะเลือดเป็นกรด นอกจากนี้แล้วคาร์บอเนตในโครงสร้างยังสามารถใช้ในการรักษาภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง โดยช่วยให้โพแทสเซียมไอออนกลับเข้าสู่เซลล์ในระหว่างที่ร่างกายอยู่ในภาวะเลือดเป็นกรด โดยโซเดียม ไบคาร์บอเนตถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Nicholas Leblanc

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Sodamint ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  1. ชื่อการค้า Darbie เป็นยาน้ำ ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร บริษัท General Drugs House
  2. ชื่อการค้า Sodium Bicarbonate Atlantic เป็นยาฉีด มีทั้งแบบความเข้มข้น 7.5% และความเข้มข้น 8.4% บริษัท Atlantic Lab
  3. ชื่อการค้า Arc-Soda เป็นยาผงละลายน้ำ ขนาด 100 กรัม บริษัท สหการโอสถ (1996) จำกัด
  4. ชื่อการค้า Corinap เป็นยา sodium bicarbonate + catnep + anise oil + caraway oil + cardamon oil + fennel oil บริษัท Inpac Pharma
  5. ชื่อการค้า Sodamint Frx เป็นยาเม็ด ขนาด 300 มิลลิกรัม บริษัท สหการโอสถ (1996) จำกัด
  6. ชื่อการค้า Sodamint tablet เป็นยาเม็ด ขนาด 300 มิลลิกรัม บริษัท โรงงานเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ เมดิคอล จำกัด
  7. ชื่อการค้า Sodamint tablet B.P.1973 เป็นยาเม็ด ขนาด 300 มิลลิกรัม บริษัท วิทยาศรม จำกัด

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับภาวะเลือดเป็นกรดจากแมตาบอลิซึม (metabolic acidosis) รุนแรง
  • ข้อบ่งใช้สำหรับภาวะเลือดเป็นกรดจากแมตาบอลิซึม (metabolic acidosis) ชนิดเรื้อรัง
  • ข้อบ่งใช้สำหรับทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง
  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการอาหารไม่ย่อย

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Sodamint

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ โซดามินท์ มีตัวยาสำคัญ คือโซเดียม ไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) เป็นยากลุ่มยาลดกรด โซเดียม ไบคาร์บอเนต ออกฤทธิ์เพิ่มความเป็นด่างของเลือดและปัสสาวะโดยมาจากไบคาร์บอเนต ไอออน ซึ่งสะเทินกับไฮโดรเจน ไอออนที่เป็นกรดให้อยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง โซเดียม ไบคาร์บอเนตสามารถสะเทินกรดในกระเพาะอาหารผ่านการสร้างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้ของยา Sodamint

ข้อบ่งใช้สำหรับภาวะเลือดเป็นกรดจากแมตาบอลิซึม (metabolic acidosis) รุนแรง ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ให้ยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆในสารละลาย hypotonic ความเข้มข้นยาได้ถึง 8.4% หรือให้แบบ infusion ความเข้มข้น 1.26% สำหรับการปรับระดับความเป็นกรดของเลือดในระหว่างการช่วยชีวิตจากการกระตุ้นหัวใจ อาจให้ยาความเข้มข้น 8.4% จำนวน 50 มิลลิลิตร ผ่านทางหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา ข้อบ่งใช้สำหรับภาวะเลือดเป็นกรดจากแมตาบอลิซึม (metabolic acidosis) ชนิดเรื้อรัง ยาในรูปแบบยารับประทานขนาดการใช้งานมีผู้ใหญ่ ยาเทียบเท่ากับ 4.8 กรัมของโซเดียมไบคาร์บอเนตต่อวัน หรือมากกว่าตามอาการ ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา ข้อบ่งใช้สำหรับทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไตจากกดยูริก ในการรักษาโรคกรดยูริกสูง อาจให้ขนาดยาได้ถึง 10 กรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน รับประทานน้ำตามมากๆหลังจากรับประทานยา ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา ข้อบ่งใช้สำหรับอาการอาหารไม่ย่อย ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 1 ถึง 5 กรัม ละลายในน้ำ หรือตามอาการ ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Sodamint

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Sodamint

ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยเลือดเป็นด่างจากการเผาผลาญ หรือเลือดเป็นด่างจากการหายใจ - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะโซเดียมในเลือดสูง - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะปอดบวมน้ำระดับรุนแรง - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดในท้องต่ำ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคลมชัก - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับแข็ง - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีภาวะบวมน้ำ หรือมีภาวะอัลโดสเตอโรนในเลือดสูง - ติดตามระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือดและสภาวะความเป็นกรดด่างของเลือดในระหว่างที่มีการใช้ยา - ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Sodamint

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นด่าง อารมณ์เปลี่ยนแปลง เหนื่อยล้า หายใจสั้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง การเต้นของหัวใจผิดปกติ เกิดตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก ภาวะระดับโซเดียมในเลือดสูง เกิดภาวะไฮเปอร์ออสโมลา (hyperosmolar) ภาวะระดับแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ เกิดอาการเกร็งท้อง ท้องอืด

ข้อมูลการใช้ยา Sodamint ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาในรูปแบบรับประทาน จัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (NDD)

ข้อมูลการเก็บรักษายา Sodamint

ยาในรูปแบบยารับประทาน เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Soda Mint Drug Information, Professional. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mmx/soda-mint.html)
Sodamint Frx Dosage & Drug Information. MIMS.com. (https://www.mims.com/thailand/drug/info/sodamint%20frx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม