กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

การใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร?

ในระหว่างการตั้งครรภ์ มารดาที่ใช้ยา ยาเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ อาจส่งต่อไปยังทารกในครรภ์และทำให้เกิดอันตรายได้
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การใช้ยาทั้งถูกและผิดกฎหมายในระหว่างตั้งครรภ์โดยที่ไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เสพกัญชา และสูบบุหรี่ อาจทำให้เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ได้
  • ตัวอย่างอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ เช่น เพิ่มโอกาสที่จะเกิดทารกพิการแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือทารกเสียชีวิต
  • มารดาที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งครรภ์ มีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติของหัวใจหลายรูปแบบ เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจผิดปกติ โดยจะมีรูเกิดขึ้นที่ผนังกั้นหัวใจห้องซ้ายและห้องขวา และส่วนมากจะเสียชีวิตภายใน 1 ปี
  • หากมีความกังวลเกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานขณะตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับข้อมูลความปลอดภัยของยาทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

การใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่พึงระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยาส่วนใหญ่สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และการเสพยาเสพติด

ดังนั้นก่อนที่จะใช้ยาใดก็ตาม ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยของมารดา และทารกในครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำไมหญิงตั้งครรภ์จึงได้รับการเตือนว่า ไม่ให้ใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์?

การใช้ยาทั้งที่ถูกและผิดกฎหมายในระหว่างตั้งครรภ์โดยที่ไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน อาจทำให้ยาถูกส่งผ่านไปสู่ทารกในครรภ์ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดปัญหากับทารกได้ เช่น 

  • เพิ่มโอกาสที่จะเกิดทารกพิการแต่กำเนิด 
  • คลอดก่อนกำหนด 
  • ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย 
  • ทารกเสียชีวิต 

นอกจากการใช้ยาแล้ว ทารกในครรภ์ที่ได้รับสารเสพติด เช่น กัญชา และแอลกอฮอล์ตั้งแต่ในครรภ์ จะส่งผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรมในวัยเด็ก รวมถึงปัญหาด้านความจำ และความตั้งใจเรียนของเด็กด้วย 

นอกจากนี้ทารกที่เกิดจากมารดาที่เสพโคเคน ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมองที่ยังคงเป็นอยู่แม้เข้าสู่วัยรุ่นแล้วก็ตาม

ดังนั้นในระหว่างการตั้งครรภ์ มารดาควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเสพติดทุกชนิดจะดีที่สุด 

ยาใดบ้างที่มีผลร้ายแรงต่อทารกในครรภ์?

การรับประทานยาเกือบทุกชนิดระหว่างการตั้งครรภ์อาจส่งผลร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะยาเสพติด เช่น 

  • โคเคน มีแนวโน้มที่จะมีศีรษะขนาดเล็ก มีไอคิวต่ำ เกิดความผิดปกติทางระบบทางเดินปัสสาวะ หรือหัวใจ ทำให้ทารกในครรภ์เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสมองหรือเสียชีวิตได้
  • กัญชา มีความเสี่ยงสูงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย มีพัฒนาการล่าช้า และอาจทำให้เกิดอาการถอนยาหลังคลอด คือมีอาการร้องไห้ และสั่นมากกว่าปกติ
  • ยาบ้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ทำให้ทารกหงุดหงิด และประสบปัญหาในการให้นมบุตร

การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอย่างไรบ้าง?

หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จะมีการส่งต่อสารนิโคติน และสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ในบุหรี่ไปยังทารกในครรภ์ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มารดาที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติของหัวใจหลากหลายรูปแบบ เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจผิดปกติ โดยจะมีรูเกิดขึ้นที่ผนังกั้นหัวใจห้องซ้ายและห้องขวา 

ทารกส่วนมากที่คลอดออกมาพร้อมกับความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดจะเสียชีวิตภายใน 1 ปี ส่วนเด็กที่อยู่รอดมักต้องเผชิญกับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และต้องผ่าตัดหลายครั้งตลอดช่วงชีวิต

นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากับรก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก เพราะรกเป็นช่องทางในการให้สารอาหารแก่ทารกที่อยู่ในครรภ์ 

หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จะให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด และทารกมีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ 

นอกจากนี้การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคไหลตายในทารก หรืออาการหลับไม่ตื่นในทารก (Sudden infant death syndrome: SIDS) อีกด้วย

การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอย่างไรบ้าง?

การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เกิดโรคกลุ่มอาการของทารกที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (fetal alcohol syndrome) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายทารก เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ความผิดปกติที่ใบหน้า 
  • การเจริญเติบโตบกพร่อง 
  • เกิดปัญหาในระบบประสาทส่วนกลาง 
  • มีปัญหาด้านการเรียน
  • มีความผิดปกติอื่นๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น และการได้ยิน

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเท่าใดจึงจะปลอดภัยระหว่างการตั้งครรภ์ และแม้จะดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยก็สามารถส่งผลเสียต่อทารกได้ การงดดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์จะดีที่สุด

ทำไมคาเฟอีนถึงถูกพิจารณาว่าเป็น “ยา” หากใช้ระหว่างตั้งครรภ์

คาเฟอีนเป็นสารที่ถูกกฎหมาย และเป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น ช็อกโกแลต และเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่า คาเฟอีนเป็นยา และต้องจำกัดปริมาณที่ได้รับ

หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการคาเฟอีนจำเป็นต้องจำกัดปริมาณที่ได้รับ เพราะคาเฟอีนสามารถทำให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวน้อย และทำให้หงุดหงิดหากบริโภคในปริมาณมาก

ยาที่แพทย์สั่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีความจำเป็นต้องรับประทานยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ เช่น ใช้สำหรับรักษาอาการปวด หรือรักษาโรคร้ายแรง อื่นๆ เช่น หอบหืด ลมชัก ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้ 

ดังนั้นการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์จะต้องติดตามเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์สั่ง หรือยาที่ซื้อใช้เอง

มียาใดบ้างที่ปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์?

มียาบางชนิดเท่านั้นที่มีข้อมูลว่า ปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์ แต่ยาส่วนใหญ่มักจะไม่ปลอดภัย 

หากคุณต้องรับประทานยาบางชนิดเพื่อรักษาโรคบางอย่าง ข้อแนะนำด้านความปลอดภัยต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องปฏิบัติตามระหว่างการตั้งครรภ์

  • อ่านฉลากยา และเอกสารกำกับยาทุกครั้ง เพราะโดยส่วนใหญ่จะมีการระบุไว้บนฉลากหากยานั้นมีความปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์ 
  • อาหารเสริมที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สมุนไพร กรดอะมิโน แร่ธาตุ และวิตามินบางชนิด อาจเป็นสิ่งที่ได้จากธรรมชาติ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยเสมอไป ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารเสริมใดๆ แม้ว่าจะระบุไว้บนฉลากว่า มาจากธรรมชาติก็ตาม
  • ยาแอสไพริน (Aspirin) และไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ควรงดการรับประทานในช่วงเวลา 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ยกเว้นแพทย์สั่ง เพราะยาเหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาต่อทารก หรือทำให้เกิดปัญหาระหว่างการคลอดได้
  • ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิตามินที่ต้องรับประทานระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นวิตามินที่มีความปลอดภัยสำหรับมารดา และทารกในครรภ์ อย่าซื้อวิตามินรับประทานเอง เพราะวิตามินที่มีขายทั่วไปจะมีปริมาณสูงเกินไป และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

การใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้การรับรองว่าสามารถใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ หรือยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย ล้วนแต่มีโอกาสทำให้เกิดอันตรายระหว่างตั้งครรภ์ได้ทั้งนั้น 

หากมีความกังวลเกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานขณะตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับข้อมูลความปลอดภัยของยาทุกครั้ง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization (WHO), Substance use in pregnancy (https://www.who.int/substance_abuse/activities/pregnancy_substance_use/en/), 21 February 2020.
WebMD, Effects of Drugs & Alcohol During Pregnancy (https://www.webmd.com/baby/drug-use-and-pregnancy), 23 February 2020.
National Center for Biotechnology Information, Drug Use in Pregnancy; a Point to Ponder! (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2810038/), 22 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)