กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ภาวะวิตกกังวลที่เกิดจากการใช้ยา หรือสารต่างๆ คืออะไร?

จะเกิดอะไร เมื่อแอลกอฮอล์ สารเสพติด และยา ทำให้เกิดอาการเครียด และกังวลมากกว่าเดิม
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะวิตกกังวลที่เกิดจากการใช้ยา หรือสารต่างๆ คืออะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะวิตกกังวลจากการใช้ยาคือ อาการวิตกกังวลอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา โดยอาการนี้จะรุนแรงและเป็นอยู่นานกว่าอาการวิตกกังวล หรือความตกใจที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างใช้สารเสพติด หรือในช่วงที่หยุดใช้สารเสพติด
  • การวินิจฉัยมักจะทำเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดความเครียด อารมณ์หงุดหงิดรุนแรง หรือทำให้ประสิทธิภาพของผู้ป่วยในด้านต่างๆ ลดลง
  • ตัวอย่างสารเสพติดที่อาจทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน กัญชา ยาบ้า โคเคน ยาเฟนไซคลิดีน เห็ดขี้ควาย แอลเอสดี ทินเนอร์ กาว ส่วนผสมในสีสเปรย์ หรือน้ำยาล้างเล็บ
  • ตัวอย่างยาที่อาจทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล เช่น ยาชา ยาแก้ปวด ยาขยายหลอดลม ยาในกลุ่ม Anticholinergic อินซูลิน ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาต้านฮิสตามีน หรือยาต้านพาร์กินสัน 
  • การใช้ยารักษาโรคต่างๆ แม้ว่าตัวยาจะมีผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล แต่การใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร ไม่ซื้อยามารับประทาน หรือหยุดยาเอง จะช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้ยาได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

ภาวะวิตกกังวลจากการใช้ยาคือ การมีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา โดยอาการนี้จะรุนแรง และเป็นอยู่นานกว่าอาการวิตกกังวล หรือตกใจที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการใช้ยา หรือในช่วงที่หยุดยา

ภาวะวิตกกังวล อาจเป็นสิ่งที่รบกวนความสุขในชีวิตอย่างรุนแรง

คนส่วนมากใช้ยาเพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย เพิ่มความมั่นใจ และลดการยับยั้งตัวเองลง แต่สารตัวเดียวกันนี้กลับเป็นสารที่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะวิตกกังวลจากการใช้ยาได้มากที่สุด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในบางครั้งจึงมีคนที่ไม่คิดว่า ภาวะวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเกิดจากการใช้แอลกอฮอล์ สารเสพติด หรือยาต่างๆ เพราะพวกเขาคุ้นเคยแต่กับผลลัพธ์ในแง่บวกของสารเหล่านี้เท่านั้น

ก่อนที่แพทย์ จิตแพทย์จะวินิจฉัยว่า มีภาวะวิตกกังวลจากการใช้สารนั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบก่อนว่า อาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นก่อนการใช้แอลกอฮอล์ ยา หรือสารเสพติดที่สงสัยว่า จะทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เนื่องจากภาวะวิตกกังวลนี้มีหลายประเภท 

ดังนั้นหากมีอาการก่อนการใช้สารดังกล่าวแสดงว่า ไม่น่าจะเกิดจากการใช้สารนั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ได้เกิดจากการใช้สารเหล่านั้น แต่สารเหล่านั้นก็สามารถทำให้อาการวิตกกังวลรุนแรงขึ้นได้

ต้องใช้ยานานเท่าไหร่ถึงจะสามารถทำให้เกิดอาการวิตกกังวลได้?

ในบางครั้ง อาการวิตกกังวลอาจเกิดขึ้นได้ในทันที ถึงขนาดว่า มีการจัดกลุ่มอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นขณะใช้ยาออกมาเป็น 1 กลุ่ม 

นอกจากนั้นยังสามารถเกิดได้ในช่วงของการหยุดใช้ยา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พบได้บ่อย 

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการในช่วงดังกล่าว ความวิตกกังวลของผู้ป่วยมักจะลดลงภายหลังจากหยุดใช้ยาไม่กี่วัน ในขณะที่ภาวะวิตกกังวลที่เกิดจากการใช้ยานั้นสามารถเริ่มต้นขณะหยุดยา เป็นอยู่ต่อเนื่อง หรือแย่ลงเรื่อยๆ ขณะที่ผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงกำจัดสารพิษ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยภาวะวิตกจากการใช้ยา

โดยทั่วไป การวินิจฉัยภาวะวิตกจากการใช้ยาจะไม่สามารถทำได้หากผู้ป่วยมีประวัติวิตกกังวลแม้ไม่ได้ใช้สาร หรือถ้าอาการซึมเศร้านี้คงอยู่นานกว่า 1 เดือนหลังจากการหยุดใช้สารดังกล่าว

การวินิจฉัยมักจะทำเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดความเครียด อารมณ์หงุดหงิดรุนแรง หรือทำให้ประสิทธิภาพของผู้ป่วยในด้านต่างๆ ลดลง เช่น ชีวิตส่วนตัว การทำงาน หรือด้านอื่นที่สำคัญต่อผู้ป่วย

สาร หรือยาประเภทใดที่ทำให้เกิดภาวะวิตกกังวลได้บ้าง?

มีสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทหลายประเภทที่สามารถทำให้เกิดภาวะวิตกกังวลได้ เช่น

  • แอลกอฮอล์ (Alcohol)
  • คาเฟอีน (Caffeine)
  • กัญชา (Cannabis)
  • ยาบ้า (Amphetamine)
  • โคเคน (Cocaine)
  • ยาพีซีพี หรือยาเฟนไซคลิดีน (Phenylcysteine)
  • ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น เห็ดขี้ควาย แอลเอสดี (LSD)
  • สารระเหยอื่นๆ เช่น ทินเนอร์ กาว ส่วนผสมในสีสเปรย์ หรือน้ำยาล้างเล็บ

นอกจากสารดังกล่าวแล้วยังมีรายงานว่า มียาบางประเภทที่สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะวิตกกังวลได้เช่นกัน เช่น

  • ยาชา (Anesthetic)
  • ยาแก้ปวด (Analgesic)
  • ยาขยายหลอดลม (Bronchodilator)
  • ยาในกลุ่ม Anticholinergic
  • อินซูลิน (Insulin)
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนรวม (Oral contraceptive)
  • ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine)
  • ยาต้านพาร์กินสัน (Antiparkinsonism Drugs)
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid)
  • ยาลดความดันโลหิต หัวใจ และหลอดเลือด
  • ยากันชัก (Anticonvulsant)
  • ลิเทียมคาร์บอเนต (Lithium carbonate)
  • ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotic)
  • ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant)

นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมอีกว่า โลหะหนัก หรือสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลงที่มีส่วนผสมของ Organophosphate แก๊สต่างๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) หรือคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) รวมไปถึงสารระเหยต่างๆ เช่น น้ำมัน หรือสี ก็สามารถทำให้เกิดอาการวิตกกังวลได้เช่นกัน

ผลกระทบจากยาเสพติด ไม่เพียงแค่ทำให้เกิดภาวะวิตกกังวลจากการใช้ยาเท่านั้น ยังมีผลในการทำลายเซลล์สมองจนนำไปสู่โรคสมองพิการได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต การหลีกเลี่ยงยาเสพติดจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ในส่วนของการใช้ยารักษาโรคต่างๆ แม้ว่า ตัวยาจะมีผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล แต่การใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์ และเภสัชกร ไม่ซื้อยามารับประทาน หรือหยุดด้วยตัวเอง จะช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้ยา และทำให้การใช้ยามีความปลอดภัยมากขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Smitha Bhandari, MD, What Meds Might Cause Anxiety? (https://www.webmd.com/anxiety-panic/anxiety-causing-meds#2), 9 August 2020.
Sarris J, et al. Plant-based medicines for anxiety disorders, Part 2: A review of clinical studies with supporting preclinical evidence. CNS Drugs. 2013;27:301.
National Institute of Mental Health, Anxiety disorders (https://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-disorders/index.shtml), 6 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)