กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษพบได้บริเวณ “หัวใจ” เท่านั้น ถึงแม้จะมีลักษณะบางประการคล้ายกับกล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อเรียบ แต่หน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจกลับแตกต่างจากกล้ามเนื้อชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด
ในบางครั้ง กล้ามเนื้อหัวใจอาจถูกเรียกในทางการแพทย์ว่า “ไมโอคาเดียม (Myocardium)” เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่ทำงานตลอดเวลา จึงต้องการสารอาหาร และพลังงานจำนวนมาก
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ลักษณะเฉพาะของกล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่พัฒนามาจากเซลล์ชั้นกลาง (Mesoderm) ของตัวอ่อนทั้งในมนุษย์ และสัตว์หลายชนิด
เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่เจริญเต็มที่มาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า มีลายคล้ายกับกล้ามเนื้อลาย ในบางตำราจึงจัดให้เป็นกล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle) ชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อหัวใจยังมีลักษณะหลายประการที่เหมือนกับกล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)
ตัวอย่างลักษณะพิเศษเฉพาะของกล้ามเนื้อหัวใจที่แตกต่างจากกล้ามเนื้ออื่นๆ
- แต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกันด้วยช่องว่าง (Gap junction) หนาแน่นจนสามารถมองเห็นเป็นลักษณะเหมือนตาข่าย (Syncytial arrangement)
- มีนิวเคลียส ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของเซลล์เพียงแค่ 1 นิวเคลียส
- มีไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตพลังงานให้กับเซลล์เป็นจำนวนมาก เพราะเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจมีความต้องการใช้พลังงานที่สูงกว่ากล้ามเนื้อชนิดอื่นๆ
- มีระบบหลอดเลือดที่ซับซ้อนเป็นของตัวเอง (Coronary circulation) ซึ่งในเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจนี้จะมีปริมาณของออกซิเจนมากกว่าเลือดแดงบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย
กลไกการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ไม่ทำงานภายใต้การควบคุมจิตใจ หรือนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ แต่จะทำงานตอบสนองต่อการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic System)
โดยคุณสมบัติพิเศษของกล้ามเนื้อหัวใจคือ สามารถหดและคลายตัวได้อย่างอัตโนมัติ (Automaticity) และเป็นกล้ามเนื้อชนิดเดียวที่ทำงานตลอดเวลาไม่มีการหยุดพัก
หน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจทำงานด้วยการบีบตัว (Systole) สลับกับการคลายตัว (Diastole) เป็นจังหวะ เพื่อทำให้ระบบไหลเวียนเลือดในหัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายได้อย่างปกติ
วิธีการวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
วิธีการวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ สามารถทำได้จากการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือที่เรียกว่า “การวัดชีพจร” นั่นเอง ส่วนมากจะนิยมใช้หน่วยเป็นครั้งต่อนาที
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โดยค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจปกติจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ กิจกรรมที่ทำ อารมณ์ รวมถึงสมรรถภาพร่างกายด้วย เช่น ในเด็กทารกจะมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ และนักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรงจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป เพราะการบีบตัวของหัวใจหนึ่งครั้งมีประสิทธิภาพมากกว่า
บริเวณที่นิยมที่สุดในการวัดชีพจรคือ หลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ (Radial artery) ซึ่งอัตราการเต้นหัวใจจัดเป็นสัญญาณชีพ (Vital Sign) ที่สำคัญชนิดหนึ่งด้วย
อาการผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้บ่อย
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การวัดชีพจรสามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจได้โดยอ้อม ในที่นี้จึงขอแบ่งประเภทความผิดปกติการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจ ดังนี้
- อาการผิดปกติที่ทำให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้น มักพบร่วมกับความดันโลหิตสูง ใจสั่น หอบเหนื่อย อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจหลายชนิด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease)
- อาการผิดปกติที่ทำให้ชีพจรเต้นช้าลง มักพบร่วมกับอาการล้า อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยเร็วเมื่อออกกำลังกาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถฉูบสูดเลือด และนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ สาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น เนื้อเยื่อหัวใจเสื่อมตามอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) และภาวะธาตุเหล็กเกิน (Hemochromatosis)
- อาการผิดปกติที่ทำให้ชีพจรเต้นผิดจังหวะ สำหรับภาวะผิดปกติของหัวใจที่ทำให้ชีพจรเต้นผิดจังหวะนั้น บางครั้งเมื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจอาจจะพบว่ามีค่าปกติก็ได้ แต่เมื่อพิจารณาจะพบว่าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอกัน บางช่วงเร็ว บางช่วงช้า ความคิดปกติที่พบได้บ่อยๆ ในกลุ่มนี้คือ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) และภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว (Ventricular Fibrillation)
อย่างไรก็ตาม อาการผิดปกติของหัวใจมีความซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิการ และเครื่องมือเฉพาะหลายชนิด
นอกจากนี้การวินิจฉัยความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจจากภาวะความผิดปกติของอัตราการเต้นหัวใจจำเป็นต้องอาศัยความแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ เมื่อมีข้อสงสัย หรือสังเกตพบอาการผิดปกติ การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันทีจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
โดยคุณสามารถเปรียบเทียบราคาและโปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจจากโรงพยาบาลชั้นนำได้ ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กล้ามเนื้อหัวใจเป็นหนึ่งในกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากล้ามเนื้อชนิดอื่นๆ มีโครงสร้าง กระบวนการทำงานที่ซับซ้อน และลักษณะเฉพาะหลายประการ ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะวิธีการสังเกตอาการผิดปกติอย่างถูกวิธี เพื่อให้หัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น