กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Myocarditis (กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เป็นอาการอักเสบของเนื้อหัวใจชั้นกลางซึ่งคอยทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เลือดสูบฉีด
  • ปัจจัยส่วนมากที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน คือ การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยังรวมไปถึงภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ การใช้ยาบางชนิด
  • อากาหลักๆ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจของคุณอักเสบเฉัยบพลัน คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว เท้าบวม
  • การรักษาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันจะรักษาไปตามอาการผู้ป่วย ผ่านการใช้ยาเป็นหลัก หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมการทำงานของหัวใจ เช่น หัวใจเทียม ปอดเทียม การทำบอลลูน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ

ความหมายของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน 

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจชั้นไมโอคาร์เดียม (myocardium) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหัวใจชั้นกลาง คอยทำหน้าที่หดตัวเป็นจังหวะเพื่อให้เลือดสูบฉีด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

จากจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจมากกว่าครึ่ง ยังไม่พบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่า อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ แต่จากการศึกษาอาการของผู้ป่วยหลายราย จึงทำให้สามารถแจกแจงสาเหตุที่พอจะระบุได้ ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เชื้อไวรัส ประกอบด้วยไวรัสที่ทำให้มีอาการป่วยเป็นโรคต่อไปนี้
    • ไข้หวัด (Common cold) 
    • โรคหัดเยอรมัน (Rubella virus) 
    • โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis
    • โรคโมโนนิวคลีโอสิส (Infectious Mononucleosis
    • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome: AIDS
  • แบคทีเรีย ซึ่งได้แก่แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคต่อไปนี้
    • แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคคออักเสบ (Strep throat
    • การติดเชื้อสแตฟิโลคอคคัส (Staphylococcus
    • โรคคอตีบ (Diphtheria) 
    • โรคไลม์ (Lyme disease)
  • รา เช่น การติดเชื้อยีสต์ (Yeast) ราเมือก (Slime molds) 
  • ยาบางชนิดที่มีโอกาสเกิดปฏิกิริยาแพ้: เช่น 
  • มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของภูมิต้านทาน เช่น 
  • การสัมผัสสารบางชนิด เช่น สารตะกั่ว สารหนู หรือคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) โคเคน

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่

  • มีไข้ หนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดข้อ
  • เจ็บคอ
  • ท้องร่วง
  • เจ็บหน้าอก
  • ไอ
  • หายใจถี่
  • อัตราการเต้นหัวใจเร็ว
  • หายใจเร็ว
  • สีผิว ริมฝีปาก เล็บมือ และเล็บเท้ามีสีออกฟ้าและม่วง
  • เท้า และข้อเท้าบวม

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน

การตรวจที่ใช้เพื่อวินิจฉัยอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่

  • การตรวจเลือด (Blood Test) เพื่อตรวจหาอาการอักเสบ การติดเชื้อ หรือสารที่สะสมในร่างกายเมื่อเกิดความเสียหายต่อหัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ
  • การใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง (Holter monitor) ผู้ป่วยจะต้องสวมใส่เครื่องดังกล่าวเป็นเวลา 2-3 วัน เพื่อจับภาพการทำงานของหัวใจว่ามีความผิดปกติอย่างไร
  • การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray: CXR) เพื่อหาการขยายตัวของหัวใจ หรือการสะสมของของเหลวในถุงหุ้มหัวใจ
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI Scan (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อสามารถแสดงให้เห็นถึงขนาด และลักษณะของหัวใจ เช่นเดียวกับการแสดงภาพการบวม หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram: ECHO) เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงสำหรับแสดงภาพหัวใจขณะเต้น 
  • การสวนหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือ และขาหนีบ (Cardiac Catheterization) เป็นการสอดหลอดเล็กๆ ผ่านทางหลอดเลือดดำ และเข้าสู่หัวใจเพื่อใช้วัดหรือเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ

การรักษาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน

ในบางกรณี อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันจะหายไปเอง แต่กรณีอื่นๆ อาจต้องรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ใช้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัส  
  • การให้ยาอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous immunoglobulin: IVIG) โดยอยู่ในรูปแบบการฉีด เพื่อช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) เพื่อลดการอักเสบ

การรักษาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันจะเป็นการรักษา

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เป็นอาการอักเสบของเนื้อหัวใจชั้นกลางซึ่งคอยทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เลือดสูบฉีด

ปัจจัยส่วนมากที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน คือ การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยังรวมไปถึงภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ การใช้ยาบางชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อากาหลักๆ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจของคุณอักเสบเฉัยบพลัน คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว เท้าบวม

การรักษาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันจะรักษาไปตามอาการผู้ป่วย ผ่านการใช้ยาเป็นหลัก หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมการทำงานของหัวใจ เช่น หัวใจเทียม ปอดเทียม การทำบอลลูน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ

ไปตามอาการ เพื่อฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อหัวใจกลับมาแข็งแรงได้ตามปกติ  ซึ่งนอกจากการใช้ยาแล้ว ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องมือบางประเภทเพื่อช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น เช่น

  • การทำบอลลูน (intra-aortic balloon pum)
  • การทำหัวใจ หรือปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (Extracorporeal Membrane Oxygenator: ECMO)

โรคหัวใจสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ” (Cardiac Arrhythmia)  หากคุณมีความเสี่ยงเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัยโดยทันที

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเป็นภาวะร้ายแรง และมักเกิดขึ้นไม่บ่อยมัก คุณจึงต้องคอยสังเกตอาการเจ็บป่วยของตนเองว่าเสี่ยงเป็นอาการดังกล่าวนี้หรือไม่ หรือหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหัวใจ อย่าลืมหาเวลาไปตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blauwet LA, Cooper LT. Myocarditis. Progress in cardiovascular diseases 2010;52(4):274-88. National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5951175/)
Myocarditis. NORD (National Organization for Rare Disorders). (Available via: https://rarediseases.org/rare-diseases/myocarditis/)
Myocarditis. AHA/ASA Journals. (Available via: https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/CIRCRESAHA.115.306573)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)