กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

สิ่งที่ควรทำในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดกับหัวใจ

ทำอย่างไร หากคุณพบผู้ตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับหัวใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สิ่งที่ควรทำในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดกับหัวใจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • องค์การอนามัยโลกรายงานว่า พ.ศ.2561 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 85% จัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก
  • ภาวะหัวใจวาย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และภาวะเจ็บแน่นหัวใจจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อย แต่หากช่วยเหลือได้ทันก็เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้
  • อาการผิดปกติที่พบบ่อย เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ใจสั่น หน้ามืด เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมากผิดปกติ วูบ
  • การเป่าลมเข้าปอด การกดหน้าอก และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า (AED) อย่างถูกวิธีเป็นวิธีปฐมพยาบาลสำคัญที่เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้ผู้ป่วยได้
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

แม้ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดจะเป็นภัยที่คืบคลานมาแบบเงียบๆ สามารถพบได้ในผู้หญิงและผู้ชายหลากหลายวัย แม้แต่นักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำก็พบได้เช่นกัน 

แต่หากสามารถช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินนี้ได้ถูกวิธีและทันเวลาก็สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่พบบ่อย

  • ภาวะหัวใจวาย (Heart Attack)
  • หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน Sudden Cardiac Arrest (SCA)
  • ภาวะเจ็บแน่นหัวใจจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina pectoris) กำเริบ

ภาวะเหล่านี้หากเกิดขึ้นแล้วอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นควรต้องรู้จักอาการแสดงสำคัญของทั้ง 3 ภาวะนี้ รวมทั้งวิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพราะวันหนึ่งคุณอาจตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินนี้และต้องเป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือก็เป็นได้ 

ภาวะหัวใจวาย

ภาวะหัวใจวายหมายถึง ภาวะที่หัวใจหยุดการทำงาน หยุดบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เนื่องจากเกิดลิ่มเลือดอุดตันแบบฉับพลัน ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ หยุดทำงานไปด้วย

อาการแสดงของภาวะหัวใจวายที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนมีบางอย่างมาบีบหัวใจ ในขณะที่กำลังออกแรง หรือเครียด
  • มีอาการเจ็บที่อกซึ่งสามารถปวดแล่นไปยังแขน (โดยเฉพาะแขนซ้าย) กราม คอ แผ่นหลัง และท้อง
  • หายใจลำบาก หายใจไม่ทัน
  • ใจสั่น หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • เหงื่อออกมากจนรู้สึกหนาว ตัวเย็น
  • หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน
  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แม้ไม่ได้ออกแรงอยู่เฉยๆ ก็ยังเหนื่อย
  • นอนราบไม่ได้เลยเพราะเหนื่อย
  • ขาและเท้าบวม เนื่องจากมีน้ำและเกลือแร่คั่งในร่างกายมาก 

วิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • เรียก หรือเขย่าตัวว่า ผู้ป่วยยังมีสติอยู่หรือไม่ 
  • หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ควรให้อยู่นิ่งๆ งดการเคลื่อนไหว งดการใช้แรงจนกว่ารถพยาบาลจะมารับ
  • ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น หรือโทรติดต่อ 1669 หรือโรงพยาบาล หรือทีมกู้ภัยใกล้เคียงทันที
  • หากมียาแอสไพรินและแน่ใจว่า ผู้ป่วยไม่มีอาการแพ้แน่ๆ ให้เคี้ยวแอสไพริน 1 เม็ด (300 mg) เพื่อบรรเทาอาการ แต่ถ้าหากไม่มี ไม่เป็นไร

ผู้ป่วยหลายคนรอดชีวิตจากภาวะหัวใจวายและสามารถฟื้นตัวได้ดี เนื่องจากได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและนำส่งโรงพยาบาลได้รวดเร็ว 

อาการของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน 

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นภาวะที่ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า แต่จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อหัวใจทำงานผิดปกติ  เช่น ไม่มีการบีบตัว คายตัว ทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมทั้งสมอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อสมองขาดเลือดก็จะทำให้หมดสติ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ นั่นเอง 

แม้ภาวะนี้จะสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาเร็วเท่าไรก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้กู้ชีพกลับมามากขึ้นเท่านั้น

วิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้น 

  • พยายามเรียก หรือเขย่าตัวว่า ผู้ป่วยยังมีสติอยู่หรือไม่ 
  • หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ควรให้อยู่นิ่งๆ งดการเคลื่อนไหว งดการใช้แรงจนกว่ารถพยาบาลจะมารับ
  • ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น หรือโทรติดต่อ 1669 หรือโรงพยาบาล หรือทีมกู้ภัยใกล้เคียงทันที 
  • หากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้เอง ให้ปฐมพยาบาลด้วยการเป่าลมเข้าปอดด้วยวิธีเป่าแบบปากต่อปากพร้อมกับดันหน้าผากและดึงคาง หรือการเป่าแบบปากต่อปากขณะยกขากรรไกรล่าง แต่ละแบบให้เป่าครั้งละ 2 วินาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออกผ่านกลับออกมาทางปาก โดยขณะช่วยหายใจทางปากให้ใช้มือบีบจมูก ไม่อย่างนั้นแล้วลมจะไม่เข้าปอด
  • กดหน้าอก เริ่มด้วยการหาตำแหน่งครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก วางนิ้วมือทั้งสองถัดจากจุดนั้นขึ้นไป แล้ววางมือทาบอกบนอีกมือหนึ่ง โดยอาจประสานนิ้ว หรือไม่ก็ได้ จากนั้นกดหน้าอกแล้วปล่อย ทำติดต่อกัน 30 ครั้ง เวลากดอย่างอแขน โน้มตัวไปข้างหน้าให้ช่วงไหล่อยู่เหนือร่างผู้หมดสติเพื่อให้ทิศของแรงกดดิ่งลงสู่หน้าอก
  • เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 30 ครั้ง อย่างน้อย 4 รอบ ถ้ายังไม่ได้สติก็ทำซ้ำอีก 4 รอบ จนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว หรือจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง
  • หากมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillators: AED) สามารถนำมาใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ 

เครื่อง AED ทำงานด้วยการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจและสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจให้บีบตัวเป็นจังหวะ ควรปฏิบัติตามคู่มือที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ และระหว่างใช้งานควรทำการปั้มหัวใจเพื่อกู้ชีพควบคู่กันไป เมื่อกู้ชีพผู้ป่วยได้แล้ว ควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าพักฟื้นและจนกว่ารถพยาบาลจะมารับ

อาการเจ็บแน่นหัวใจจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina pectoris) กำเริบ

อาการนี้เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการแข็งตัว หรือมีแคลเซียม ตะกรัน ไขมัน ไปเกาะผนังของหลอดเลือดจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง หัวใจจึงขาดเลือดและออกซิเจน

ภาวะดังกล่าวส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มเสื่อมสภาพและตายลง ยิ่งเป็นมากเท่าไหร่โอกาสที่หัวใจจะหยุดเต้นก็มีมากขึ้นเท่านั้น มีรายงานว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสามารถทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 1 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการแสดงของภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่พบบ่อย ได้แก่

  • เจ็บแน่นตรงกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย
  • เจ็บแบบจุกแน่นเหมือนมีอะไรหนักๆ มาทับไว้
  • บางครั้งมีอาการปวดร้าวไปที่ท้องแขนด้านใน คอ กราม และไหล่ซ้าย
  • มีอาการเหนื่อย กระสับกระส่าย
  • เหงื่อออกมาก ตัวเย็น
  • ถ้าออกแรง จะมีอาการมากขึ้น แต่ถ้าได้พัก หรือหยุดนิ่ง อาการจะดีขึ้น

วิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • หยุดกิจกรรมทุกอย่างที่ทำอยู่และนั่งลงนิ่งๆ 
  • เคลียร์พื้นที่โดยรอบให้โล่ง ไม่ให้คนมุงดู เพื่อคลายความแออัด
  • คลายเข็มขัด ปลดตะขอกางเกง ปลดกระดุมเสื้อบางส่วนออก เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก
  • ตรวจสอบว่า ผู้ป่วยหายใจได้เองหรือไม่ หากไม่สามารถหายใจได้เองให้เป่าปากเพื่อช่วยหายใจ
  • ตรวจชีพจร นวดหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้อีกครั้ง
  • รีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

หลายคนอาจคิดว่า ในภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับหัวใจควรแก้ไขด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพ แต่ขอให้เข้าใจว่า การปฐมพยาบาลด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพ หากทำไม่ถูกต้อง วางมือผิดตำแหน่งแทนที่จะได้ประโยชน์อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ เช่น กระดูกซี่โครงหัก 

นอกจากนี้ควรช่วยฟื้นคืนชีพ 30 ครั้ง แล้วเป่าปาก 2 ครั้งสลับกันไป จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือ หากพบผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการหายใจ หมดสติ ผู้ไปพบคนแรกต้องมีสติ อย่าตื่นเต้นตกใจจนทำอะไรไม่ถูก รีบให้การช่วยเหลือเบื้องต้นเท่าที่จะทำได้ รวมถึงพยายามติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ชีพ โรงพยาบาล ที่ใกล้ที่สุด

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Webmd.com, Heart disease emergency (https://www.webmd.com/heart-disease/handling-cardiac-emergencies), 11 November 2020.
Mayo Clinic Staff, First aid - Heart attack (https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-heart-attack/basics/art-20056679), 28 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle)
กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle)

ทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะ หน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจ และอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้บ่อย

อ่านเพิ่ม