ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจวายเฉียบพลัน จัดเป็นภัยเงียบอันดับต้นๆ ที่พร้อมคร่าชีวิตผู้คนได้ทุกเมื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่รู้ตัวว่า ตนเองตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีปัจจัยเสี่ยง และได้รับปัจจัยกระตุ้นอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจวายเฉียบพลัน
หัวใจวาย (Heart Attack) หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หมายถึง ภาวะที่หัวใจหยุดการทำงาน หยุดบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เนื่องจากมีลิ่มเลือดไปอุดต้นในหลอดเลือดหัวใจอย่างฉับพลัน ภาวะดังกล่าวส่งผลให้อวัยวะต่างๆ หยุดทำงานไปด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะหัวใจวายนี้หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อาการหัวใจวาย หรือหัวใจวายเฉียบพลัน
- มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนมีบางอย่างมาบีบหัวใจ ในขณะที่กำลังออกแรง หรือเครียด
- มีอาการเจ็บที่อกซึ่งสามารถปวดแล่นไปยังแขน (โดยเฉพาะแขนซ้าย) กราม คอ แผ่นหลัง และท้อง
- หายใจลำบาก หายใจไม่ทัน
- ใจสั่น หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- เหงื่อออกมากจนรู้สึกหนาว ตัวเย็น
- หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แม้ไม่ได้ออกแรงอยู่เฉยๆ ก็ยังเหนื่อย
- นอนราบไม่ได้เลยเพราะเหนื่อย
- ขาและเท้าบวม เนื่องจากมีน้ำและเกลือแร่คั่งในร่างกายมาก
สาเหตุการเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจวายเฉียบพลัน
- หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบอย่างฉับพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ทำให้ไขมันสะสมอยู่บนเยื่อบุของหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น จึงเสี่ยงต่อการอุดตัน หรือตีบ
- มีระดับความดันโลหิตสูง (Hypertension) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น และต้องทำงานหนักมากขึ้น
- มีโรค หรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอยู่ก่อน เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ หรือเต้นผิดจังหวะ
- โรคเบาหวาน และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยได้ จะทำให้หลอดเลือดมีโอกาสเสียหายมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อระดับความดันโลหิต
- มีการติดเชื้อไวรัสอย่างรุนแรง
- นอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- มีความเครียด หรือมีความกดดันสูง
- พักผ่อนน้อย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
- สูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ หรือใช้สารเสพติดปริมาณมากๆ เช่น โคเคน แอมเฟตามีน ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
- พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ของทอด ของมัน
- ไม่ได้ออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายอย่างหักโหม เกินกำลัง
- มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรืออ้วน
- คนในครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ
การวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจวายเฉียบพลัน
- ซักประวัติและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด
- การประเมินความดันโลหิตและระดับออกซิเจนในเลือด
- การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ไต ต่อมไทรอยด์ ระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด รวมทั้งระดับสารเคมีในเลือด (NT-proBNP) ซึ่งสามารถบ่งชี้ภาวะหัวใจวายได้
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อตรวจดูความเสียหายที่กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อแพทย์ได้ค่า ECG จะสามารถระบุประเภทของภาวะหัวใจวายได้ว่า เป็นการอุดตันโดยสมบูรณ์ (ST Elevation Myocardial Infarction: STEMI) หรือเป็นการอุดตันบางส่วน ยังคงมีเลือดบางส่วนไหลได้อยู่ (Non ST Elevation Myocardial Infarction: NSTEMI)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ ของหัวใจ เช่น ขนาดของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ
- การเอ็กซเรย์ทรวงอก เพื่อให้เห็นลักษณะของปอดและหัวใจว่า มีความผิดปกติ หรือไม่ เช่น มีน้ำท่วมปอด มีอากาศขังอยู่ระหว่างชั้นเยื่อหุ้มของปอดหรือไม่
- การสวนหัวใจ หรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac catheterization or Coronary angiogram)เพื่อประเมินว่า หลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ หรือตัน หรือไม่ ความสามารถในการทำงานของลิ้นหัวใจเป็นอย่างไร
วิธีปฐมพยาบาลภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ผู้มีภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและรวดเร็วทันเวลา จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้มาก ดังนั้นผู้ที่ไปพบผู้ป่วยเป็นคนแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ขั้นตอนการปฐมพยาบาลดังนี้
- เรียก หรือเขย่าตัวผู้ป่วย เพื่อเช็คว่า ยังมีอาการตอบสนอง หรือไม่
- หากผู้ป่วยมีอาการชักกระตุก หรือเกร็ง หายใจเฮือก ให้สันนิษฐานว่า ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน หรือหัวใจวาย
- แจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ชีพ หรือโรงพยาบาลใกล้เคียง หรือสายด่วน โทร 1669
- ปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยการนวดหัวใจ หรือทำซีพีอาร์ (CPR) เพื่อให้หัวใจบีบเลือดออกไปเลี้ยงร่างกาย เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้ (ควรทำซีพีอาร์ภายใน 4 นาที หลังผู้ป่วยหยุดหายใจ)
- หากมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า หรือเออีดี (Automated External Defibrillator: AED) สามารถนำมาใช้กระตุ้นหัวใจให้กลับมาเต้นเป็นปกติได้ การใช้เครื่องนี้ยังสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มากถึง 70% อย่างไรก็ตาม ควรใช้เครื่อง AED ภายใน 3-5 นาที ระหว่างที่ทำ CPR เพื่อไม่ให้สมองขาดเลือดนานเกินไป
- ระหว่างที่เริ่มติดตั้งแผงไฟฟ้าของเครื่อง AED รอเครื่องวัดชีพจร และรอเครื่องออกคำสั่งต่อไปนั้น ผู้ช่วยเหลือควรต้องปั๊มหัวใจและให้ออกซิเจนผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนกว่าเครื่องจะออกคำสั่งให้เริ่มช็อตหัวใจด้วยไฟฟ้า
- เมื่อพ้นภาวะวิกฤต ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์เฉพาะทาง ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจวาย
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจวาย จะขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะหัวใจวายที่คุณประสบ โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาดังนี้
- การบรรเทาอาการเจ็บปวดและภาวะช็อค มีทั้งการฉีดยาแก้ปวดชนิดแรงอย่างมอร์ฟีน เพื่อช่วยให้การหายใจผ่อนคลายลงและลดความวิตกกังวลลง การบำบัดด้วยออกซิเจนเพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนให้เพียงพอ และการใช้ยาหยุดอาการคลื่นไส้
- การฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดและลดปริมาณความเสียหายที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Reperfusion)
วิธีรักษาภาวะหัวใจวาย
การบำบัดต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet therapy)
การใช้ยาที่ช่วยทำให้เลือดจางเพื่อไม่ให้เกิดการเกาะตัวกันเป็นลิ่ม หลังจากนั้นจะเริ่มกระบวนการกำจัดลิ่มเลือดที่เข้าไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเป็นวิธีรักษาที่ใช้ได้กับทั้งการอุดตันโดยสมบูรณ์ STEMI และการอุดตันบางส่วน NSTEMI
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษาไหลเวียนกลับ (Reperfusion)
จุดประสงค์คือ ลดความเสียหายที่อาจเกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจและรักษาการสูบฉีดของหัวใจไว้ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous Coronary Intervention: PCI)
วิธีนี้ทำได้โดยการใส่ "สายสวนซึ่งมีบอลลูนติดอยู่ที่ปลายสาย" เข้าไปดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดและทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกไป เลือดจะได้ไหลเวียนสะดวกมากขึ้น ในบางรายแพทย์ยังอาจดูดลิ่มเลือดออกและใส่ขดลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณส่วนปลายของหลอดเลือดอีก
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลอดเลือดตีบหลายเส้น ไม่เหมาะกับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน แพทย์อาจใช้วิธีผ่าตัดนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกาย มาทำเป็นทางเบี่ยงเพื่อให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ โดยไม่ต้องผ่านเส้นเลือดที่ตีบ หรือตันแล้วนั่นเอง หรือที่เรียกว่า “การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass: CABG)” แทน
การรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด
ฉีดยาออกฤทธิ์ละลาย หรือสลายลิ่มเลือดโดยตรง ผ่านทางหลอดเลือดดำ ยาชนิดนี้จะสลายลิ่มเลือดออก หรือกระตุ้นให้ร่างกายสลายลิ่มเลือดได้เร็วกว่าปกติ ทำให้การไหลเวียนเลือดสู่หัวใจกลับมาสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้การรักษาด้วยวิธีนี้จะได้ผลดี หากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลเร็วและได้รับการรักษาทันที
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หลังการรักษาภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจวาย แล้วนั้น นอกจากผู้ป่วยต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลราว 2-3 วัน เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไตวาย ตับวาย แล้ว แพทย์ยังอาจแนะนำให้ตรวจหัวใจเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาการรักษาขั้นต่อไป
หลังจากกลับบ้านผู้ป่วยยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดดังนี้
- การใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- การหลีกเลี่ยงอาหารทอดๆ มันๆ รสเค็ม
- การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- การพักผ่อนอย่างเหมาะสม
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การงดสูบบุหรี่และสารเสพติด
- การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดี และที่สำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำอีก
สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวาย ควรให้ความใส่ใจในการควบคุมโรคให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจวายเฉียบพลัน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะหัวใจวาย
- ผู้ป่วยส่วนมากจะรอดชีวิตจากภาวะหัวใจวาย และสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างดี
- หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งที่สุดของร่างกาย โดยหัวใจจะคอยฟื้นฟูตนเองอยู่ตลอดเวลา
- ความเครียด อาการช็อค หรือความรู้สึกตกใจ ไม่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android