คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติคืออะไร?

หัวใจของคุณยังทำงานได้ปกติหรือไม่ คลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถบอกคุณได้
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติคืออะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจให้เกิดการบีบตัวและคลายตัวที่สัมพันธ์กันทั้งสี่ห้อง หากเกิดปัญหาจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจได้
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) สามารถให้ข้อมูลได้หลายอย่าง เช่น จังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ การนำกระแสไฟฟ้าหัวใจ โรคและความผิดปกติต่างๆ ของหัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย และไม่เจ็บ เพราะเครื่องจะวัดคลื่นไฟฟ้าที่มีค่าต่ำมากจากการเต้นของหัวใจเท่านั้น
  • อาการคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบบ่อย เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจสั้น ใจสั่น อ่อนแรงเฉียบพลัน หน้ามืด
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยคุณไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

โดยปกติแล้ว หัวใจจะมีกลุ่มเซลล์สร้างคลื่นไฟฟ้าจากหัวใจห้องขวาบน (Sinoatrial node: SA node) ส่งมากระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจห้องบนทั้งสองห้อง เพื่อให้เกิดการบีบตัว สูบฉีดเลือดลงมายังห้องล่าง 

คลื่นไฟฟ้าจะมากระตุ้นให้เกิดตัวกำเนิดคลื่นไฟฟ้าซึ่งอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและล่าง (Atrioventricular node: AV node) ให้นำคลื่นไฟฟ้านี้ไปยังหัวใจห้องล่างเพื่อสูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด ส่วนหัวใจห้องซ้ายล่างจะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะควบคุมการทำงานของหัวใจให้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันทั้งสี่ห้อง  หากเกิดปัญหาที่ระบบไฟฟ้าส่วนใดส่วนหนึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของหัวใจได้ และสามารถตรวจพบความผิดปกตินี้ได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ประโยชน์ของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) มีที่มาจากคำว่า Elektrokardiogram: EKG หมายถึงการทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจที่เกิดขึ้นทั่วทั้งหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้น เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอย่างสมบูรณ์ 

เป็นผลให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายจึงจะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) บ้างก็เรียกว่า EKG เป็นวิธีการตรวจที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ใช้เวลารวดเร็ว สามารถตรวจได้ทุกโรงพยาบาล และเป็นการตรวจที่มีประโยชน์มากเพราะสามารถบอกข้อมูลต่างๆ ได้ดังนี้

ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นไม่เจ็บเพราะไม่ได้มีกระแสไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง เพียงแต่เครื่องจะวัดคลื่นไฟฟ้าที่มีค่าต่ำมากจากการเต้นของหัวใจ 

ผู้เข้ารับการตรวจจึงไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร ไม่ต้องงดยาที่รับประทานอยู่ สามารถรับการตรวจได้ทุกเวลา ส่วนมากมักจะใช้เวลาตรวจประมาณ 5 นาที 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นตอนการตรวจมีดังนี้

  • ผู้เข้ารับการตรวจเปลี่ยนเสื้อผ้าที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ รวมทั้งถอดเครื่องประดับต่างๆ ออก 
  • นอนหงายลงบนเตียงแบบผ่อนคลาย สามารถหายใจได้ตามปกติ
  • เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดผิวหนัง จากนั้นป้ายเจลลงบริเวณหน้าอก ข้อมือ และข้อเท้าทั้งสองข้าง 
  • ติดแผ่นขั้วคลื่นไฟฟ้า (Electrode) บริเวณหน้าอก และท้องรวม 6 จุด รวมทั้งข้อมือและข้อเท้าทั้งสองข้าง ข้างละ 1 จุด รวม 10 จุดเพื่อรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากหลายทิศทาง
  • กรณีผู้ป่วยเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมืออาจต้องใช้ยานอนหลับช่วย แต่อาจมีผลข้างเคียงคือ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง

หลังจากนั้นเครื่องจะประมวลผลการวัดคลื่นไฟฟ้าและแสดงผลออกมาเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทั้งนี้แพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมในการอ่านกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจและแปลผลจากคลื่นดังกล่าว เพื่อระบุว่า "คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อหรือไม่"

คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ได้ ได้แก่ เต้นปกติ(60-100 ครั้ง/นาที) เต้นเร็ว (มากกว่า 100 ครั้ง/นาที) เต้นช้า (30-40 ครั้ง/นาที) เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นผิดจังหวะ หรือเต้นๆ หยุดๆ 

หากหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 2.5 วินาทีจะทำให้เกิดอาการวูบ หน้ามืด หรือหมดสติได้  

เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นเป็นการวัดการทำงานของหัวใจในหลายด้าน ดังนั้นผลที่ผิดปกตินั้นจะช่วยระบุความผิดปกติต่างๆ ได้แก่ 

  • ความผิดปกติของรูปร่างและขนาดของหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกตินั้นสามารถบอกได้ว่า ผนังของหัวใจด้านใดที่มีขนาดใหญ่กว่าด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าหัวใจนั้นอาจจะทำงานมากกว่าปกติในการสูบฉีดเลือด
  • หัวใจขาดเลือด ระหว่างที่เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดจะไม่มีเลือดมายังหัวใจ ทำให้เนื้อเยื่อหัวใจนั้นเริ่มขาดออกซิเจน และเริ่มตาย ซึ่งทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้ 
  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถระบุได้ว่า หัวใจกำลังเต้นเร็ว หรือช้าเกินไปหรือไม่
  • ความผิดปกติของจังหวะการเต้นหัวใจ โดยปกติแล้วหัวใจมักจะเต้นเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถระบุได้ว่า หัวใจกำลังมีจังหวะการเต้นที่ผิดปกติ หรือมีลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การใช้ยาบางชนิดสามารถส่งผลต่ออัตราการเต้นและจังหวะของหัวใจได้ บางครั้งยาที่ให้เพื่อทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจดีขึ้นอาจส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดตังหวะได้ ตัวอย่างยาที่สามารถส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจเช่น ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (ฺBeta blockers) โซเดียม แชนแนล บล็อกเกอร์ (Sodium channel blockers) และ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers)
  • ความผิดปกติของเกลือแร่ แร่ธาตุหลายชนิดสามารถนำคลื่นไฟฟ้าในหัวใจและทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานเป็นจังหวะ เช่น โพแทสเซียม แคลเซียมแมกนีเซียม หากระดับแร่ธาตุเหล่านี้ไม่สมดุลก็อาจมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้

หากมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที

มีอาการหลายอย่างที่บ่งบอกว่า ควรไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่า หัวใจของคุณยังทำงานเป็นปกติหรือไม่ หากมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เจ็บ หรือแน่นหน้าอก หรือปวดร้าวไปจนถึงคอและไหล่ซ้ายเป็นเวลานาน
  • หายใจลำบาก 
  • หายใจสั้นลงจนรู้สึกหอบ
  • ใจสั่น หรือรู้สึกหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น จับชีพจรแล้วรู้สึกว่า หัวใจเต้นเร็ว
  • รู้สึกว่า คล้ายจะเป็นลม หน้ามืด
  • คลื่นไส้อาเจียน 
  • อ่อนแรงฉับพลัน

การรักษาคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

การรักษาตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติมักจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ ได้แก่ 

  • ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ามากจากการที่หัวใจสร้างกระแสสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติ กรณีนี้อาจต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นในจังหวะที่เหมาะสม
  • บางรายต้องรับประทานยารักษาโรคหัวใจเป็นประจำเพื่อทำให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ
  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดอาจต้องมีการสวนเส้นเลือดหัวใจ หรือผ่าตัดหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปยังหัวใจได้สะดวกขึ้น
  • ผู้ที่มีภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลอาจต้องได้รับการรักษาด้วยยา หรือสารน้ำ เช่น ผู้ที่ขาดน้ำอาจมีเกลือแร่ที่ไม่สมดุลซึ่งทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติและอาจจะต้องได้รับสารน้ำ เครื่องดื่มเกลือแร่ หรือยาเพื่อปรับให้เกลือแร่นั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อย่างไรก็ตาม บางครั้งแพทย์อาจไม่แนะนำการรักษาในผู้ป่วยบางรายที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยซึ่งไม่มีอาการรุนแรง หรือความผิดปกตินั้นไม่น่ากังวล

การป้องกันคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกสุขลักษณะ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของมัน ของทอด อาหารรสจัด
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณที่เหมาะสม
  • งดการสูบบุหรี่  
  • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจ หากจำเป็นควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
  • ผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวล
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจ แม้เพียงคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติก็ตาม อย่าคิดว่า "เดี๋ยวก็หาย" หรือ "ไม่เป็นไร" เพราะบางครั้งสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับหัวใจของคุณอาจร้ายแรงจนคาดไม่ถึง 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medscape, Electrocardiography (https://emedicine.medscape.com/article/1894014-overview), 2 March 2020.
คู่มือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (http://www.person.ku.ac.th/training/km/bestku-km/56/10.3.pdf), 2 มีนาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป