สรรพคุณทางยา ของเม็ดบัว

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สรรพคุณทางยา ของเม็ดบัว

ยท่านจะยังไม่เคยทาน ”เม็ดบัว” และอาจคาดไม่ถึง ว่าเจ้าเม็ดบัวน้อยๆ นี้จะมีสรรพคุณทางยาสามารถช่วยบำรุงโลหิต แต่เชื่อเถอะ เป็นเช่นนั้นจริงๆ หลายท่านที่มักมีอาการวิงเวียนหน้ามืด หรือมีอาการแน่นหน้าอก เพราะปัญหาเลือดน้อย ขอแนะนำสมุนไพรพื้นบ้าน ที่ทานง่าย ราคาไม่แพง ที่สำคัญมีอยู่ในบ้านเรา อย่างเช่นเม็ดบัว มีสรรพคุณทางการบำรุงเลือดที่ดี

สรรพคุณของเม็ดบัว

สรรพคุณของเม็ดบัวนั้น อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ถึงประมาณ 23 เปอร์เซนต์ และมีเกลือแร่ ฟอสฟอรัส นอกจากนี้ตัวเม็ดบัวยังมีสรรพคุณ ดังนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • บำรุงสมอง 
  • บำรุงประสาท 
  • บำรุงไต 
  • ช่วยรักษาอาการท้องร่วง 
  • บิดเรื้อรัง 
  • ยาบำรุงเลือด 
  • เพิ่มเลือด

การกินเม็ดบัว ต้องกินอย่างไร?

“การทานเม็ดบัว เพื่อการบำรุงเลือด มีข้อแม้ว่าต้องเป็นการทานเม็ดบัวสดเท่านั้น” เม็ดบัวที่ผ่านการแปรรูปมาแล้ว หรือการนำมาต้มให้สุกจะใช้ไม่ได้ เม็ดบัวเชื่อมที่ใส่ไอศกรีมก็ใช้ไม่ได้ 

โดยหาซื้อฝักบัวสดที่มีขายเป็นกำๆ ตามตลาด ซึ่งหนึ่งฝักจะมีเม็ดบัวอยู่ในฝัก 7-10 เม็ด แล้วแต่ความอ้วนของฝัก ดังนั้นเวลาทานต้องแกะออกจากฝัก แล้วนำมาแกะเปลือกออกจากเม็ด เพื่อจะทานเม็ดบัวสีขาวอมเหลืองที่อยู่ในเปลือก เมื่อได้เม็ดบัวที่แกะเปลือกออกแล้ว ให้ทานเข้าไปทั้งเม็ด โดยไม่เอาต้นอ่อนภายในเม็ด หรือที่เราเห็นเป็นเส้นเขียวๆ อยู่กลางเม็ดออก พูดง่ายๆ คือทานเข้าไปหมด รสชาติก็จะมีขมฝาดเล็กน้อย ใหม่ๆ อาจจะไม่คุ้นลิ้น แต่เมื่อทานไปสักระยะก็จะเฉยๆ

ที่สำคัญต้นอ่อนในเม็ดบัว หรือดีบัวที่หลายคนชอบหยิบออกนั้น คือต้นอ่อนสีเขียวขมๆ สรรพคุณทางยาของจีน กล่าวว่าหากทานเข้าไปแล้วก็จะช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และบำรุงหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

พยายามเลือกฝักที่แก่ จะได้เม็ดบัวที่โตเต็มที่ ทานวันละไม่น้อยกว่า 20 เม็ด จะทานมากกว่าก็ไม่ห้าม เพราะเม็ดบัวปกติเป็นของทานเล่นพื้นบ้านเราอยู่แล้ว ทีนี้คุณก็ได้อาหารบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แบบธรรมชาติราคาแสนจะคุ้มกับประโยชน์เลยทีเดียว


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
webmd.com, medicinal-properties-of-lotus-seeds (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-124/lotus)
plantmedicines.org, medicinal-properties-of-lotus-seeds (https://plantmedicines.org/the-calming-and-healing-effects-of-sacred-lotus/)
Summer Fanous, medicinal-properties-of-lotus-seeds (https://www.healthline.com/health/8-uses-for-lotus), June 16, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป