กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความแตกต่างระหว่างภาวะหัวใจวายและหัวใจหยุดเต้น

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความแตกต่างระหว่างภาวะหัวใจวายและหัวใจหยุดเต้น

คำถาม : ความแตกต่างระหว่างภาวะหัวใจวายและหัวใจหยุดเต้นคืออะไร?

คำตอบ : เรามักจะได้ยินบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย (heart attack) หรือ หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) ในช่าว หรือเราอาจจะเคยเห็นคนที่เรารักเสียชีวิตอย่างฉับพลัน และแพทย์ได้ใช้สองคำนี้ในการอธิบายถึงสาเหตุของการเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม คำศัพท์ทั้งสองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะถูกใช้แทนกันบ่อยก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะหัวใจวายคืออะไร?

ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจขาดเลือด เกิดเมื่อเส้นเลือด coronary artery (1 ในเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ) มีการอุดตันเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยงและตาย ดังนั้น ภาวะนี้จึงหมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน การอุดตันของเส้นเลือด coronary artery นั้น มักเกิดจากการแตกของไขมันภายในเส้นเลือด ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง เช่น หัวใจวายหรือมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งรวมเรียกกันว่า acute coronary syndrome (ACS)

ภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องการการรักษาด้วยยา การฉีดสีเส้นเลือด การใส่ขวดลวดถ่างขยาย หรือการผ่าตัด เพื่อให้เลือดสามารถผ่านเส้นเลือดที่มีการอุดตันได้ หากสามารถทำให้เลือดผ่านจุดที่อุดตันได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก็มักจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายอย่างถาวรน้อย

ภาวะหัวใจหยุดเต้นคืออะไร?

ในทางตรงข้าม หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) เกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างฉับพลันในแบบที่เรียกว่า ventricular fibrillation ซึ่งเป็นการที่คลื่นไฟฟ้าภายในหัวใจมีการเต้นที่ผิดปกติอย่างสิ้นเชิง และเนื่องจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจเหล่านี้ทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ จึงทำให้เมื่อคลื่นไฟฟ้าเหล่านี้มีความผิดปกติ หัวใจจึงเกิดการหยุดเต้นและผลที่มักพบได้บ่อยที่สุดของภาวะนี้ คือ การเสียชีวิตอย่างฉับพลัน

แนวทางการรักษาของภาวะหัวใจหยุดเต้น คือ การเริ่มปั๊มหัวใจ (CPR) เพื่อช่วยคงการหมุนเวียนเลือดของผู้ป่วยและใช้คลื่นไฟฟ้ากระตุ้นเข้าที่หัวใจหรือที่เรียกว่า debibrillator โดยเร็วที่สุด การกระตุ้นหัวใจขนาดใหญ่จะทำให้คลื่นสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจเกิดการจัดระเบียบใหม่และทำให้หัวใจเริ่มเต้นอีกครั้ง แต่เนื่องจากว่าการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากการเกิดหัวใจหยุดเต้น ดังนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่หากไม่มีผู้เชี่ยวชาญอยู่ในบริเวณนั้นก็มักจะไม่ได้รับการช่วยชีวิตอย่างเต็มที่

ภาวะหัวใจหยุดเต้นสามารถพบได้บ่อยกว่าในผู้ที่มีโรคหัวใจหลายแบบ โดยประเภทที่พบมากที่สุด คือ การเคยเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน (heart attack) หรือหัวใจวาย (heart failure) มาก่อน ผู้ป่วยหลายคนที่เคยมีหัวใจวายเฉียบพลันหรือหัวใจวายอาจจะต้องพิจารณาเรื่องการใส่เครื่องกระตุ้นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่หัวใจที่จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้หากเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น

สาเหตุอื่นของภาวะนี้ คือ ความผิดปกติที่หัวใจทางพันธุกรรมที่มักจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดคลื่นไฟฟ้าแบบ ventricular fibrillation (โรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ คือ hypertrophic cardiomyopathy) และการใช้ยาผิดกฎหมายหลายชนิด (โดยเฉพาะโคเคน)

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างภาวะหัวใจวายและหัวใจหยุดเต้น

หากเคยมีญาติที่ใกล้ชิดเสียชีวิตฉับพลัน คุณควรหาข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายหรือหัวใจหยุดเต้นบางชนิดจะสูงขึ้นหากเคยมีญาติพี่น้องที่เคยมีอาการมาก่อน ควรหาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และควรสอบถามแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Difference Between Heart Attack and Cardiac Arrest. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/heart-attack-vs-cardiac-arrest-1746273)
Heart Attack vs. Cardiac Arrest: Why They’re Not the Same. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/heart-attack-vs-cardiac-arrest-theyre-not/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำไมบางประเภทของโรคหัวใจวายถึง ‘ไม่แสดงอาการ’?
ทำไมบางประเภทของโรคหัวใจวายถึง ‘ไม่แสดงอาการ’?

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดประเภทที่ไม่มีอาการที่เด่นชัด

อ่านเพิ่ม
ภาวะหัวใจวาย (Heart attack)
ภาวะหัวใจวาย (Heart attack)

ภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว! อ่านอาการ สาเหตุ วิธีรักษาภาวะหัวใจวายได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม