กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

วิธีลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันที่เกิดขึ้นบ่อยในฤดูหนาว

รู้สาเหตุที่ทำให้อาการหัวใจวายเฉียบพลันเกิดขึ้นบ่อยในฤดูหนาว เพื่อหาวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วิธีลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันที่เกิดขึ้นบ่อยในฤดูหนาว

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ทุกๆ ปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการที่หัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) ในฤดูหนาวจำนวนไม่น้อย ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่แล้ว และผู้ขาดแคลนเครื่องกันหนาว
  • อุณหภูมิที่ลดลงทุก 1 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันได้ 2%
  • สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การอยู่ท่ามกลางอุณหภูมิต่ำๆ เป็นเวลานานๆ การรับแสงแดดไม่เพียงพอ เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่แล้ว
  • อาการหัวใจวายเฉียบพลันสามารถมาเยือนได้ทุกฤดู เพียงแต่ในฤดูหนาวจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ผู้มีความเสี่ยงจึงควรดูแลตนเองมากเป็นพิเศษในช่วงนี้
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยคุณไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

จากการสำรวจสถิติการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) ในแต่ละปี พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากการที่หัวใจวายเฉียบพลันในฤดูหนาวจำนวนไม่น้อย ส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งร่างกายปรับตัวไม่ทัน รวมถึงผู้ขาดแคลนเครื่องกันหนาว

ล่าสุดเมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 ประเทศไต้หวันประสบคลื่นลมหนาวที่พัดผ่านมาจากประเทศจีนทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเหลือไม่ถึง 10 องศา ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 ราย โดยเฉพาะนครนิวไทเปที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย

บทความนี้จะพาไปหาคำตอบว่า เพราะอะไรภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจึงมีโอกาสเกิดในฤดูหนาวได้มากกว่าฤดูอื่นๆ และควรหาแนวทางป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับตนเอง หรือคนที่คุณรัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุที่ทำให้หัวใจวายเฉียบพลันมักเกิดขึ้นในฤดูหนาว

การสัมผัส หรืออยู่ท่ามกลางอุณหภูมิต่ำเป็นเวลานานๆ  

ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตหลายอย่าง ได้แก่ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงกว่าปกติ เลือดมีความหนืดมากยิ่งขึ้น รวมทั้งหลอดเลือดแดงจะมีการหดตัวในช่วงที่อากาศเย็น ทำให้การลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจยากมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และส่งกลับไปฟอกยังปอดให้ได้ปริมาณตามปกติ ส่งผลให้ความดันโลหิตและปริมาณโปรตีนในเลือดสูงขึ้นได้ 

การที่ปริมาณโปรตีนในเลือดสูงขึ้นนี้เป็นสาเหตุให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มๆ และขัดขวางการลำเลียงเลือดไปยังหัวใจและส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

มีรายงานว่า อุณหภูมิที่ลดต่ำลงทุก 1 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึง 2%

หลักๆ แล้วผู้ที่เป็นโรคหัวใจและผู้ที่อยู่ในภาวะอุณหภูมิภายในร่างกายต่ำ (Hypothermia) มีโอกาสเสี่ยงหัวใจวายมากที่สุดในช่วงที่อากาศเย็น แต่ผู้ที่ไม่เป็นโรคเหล่านี้ก็มีโอกาสเสี่ยงหัวใจวายได้เช่นกัน

คำแนะนำ: 

  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เช่น หมวกไหมพรม ผ้าพันคอ เสื้อกันหนาว ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้าโดยเฉพาะเวลาที่ต้องอยู่นอกอาคารบ้านเรือน หรือเดินทางไปในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น
  • หากบ้านมีช่องลม หรือหน้าต่างมาก ควรปิดบางส่วนเพื่อป้องกันความหนาวเย็น
  • ควรรับประทานอาหารอุ่นๆ ร้อนๆ รวมทั้งอาหารที่ปรุงด้วยสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ขิง ข่า กะเพรา โหระพา ใบมะกรูด พริกไทย เพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นภายในร่างกาย ลดการทำงานของหัวใจ และป้องกันไม่ให้เส้นเลือดแดงหดตัว

การรับแสงแดดไม่เพียงพอ

นักวิจัยหลายท่านให้เหตุผลว่า การที่สถิติโรคหัวใจวายสูงมากในฤดูหนาวเมื่อเทียบกับสถิติในฤดูร้อน เพราะในช่วงหน้าหนาวมีแสงแดดน้อย อีกทั้งดวงอาทิตย์ก็ตกเร็วกว่าช่วงฤดูร้อน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดด (วิตามินดี 3) ไม่เพียงพอ จึงทำให้มีโอกาสเกิดอาการหัวใจวายได้มากกว่าฤดูอื่นๆ นั่นเอง

ประโยชน์ของวิตามินดีในแสงแดด (วิตามินดี 3)

  • ช่วยเสริมสร้างระบบการต้านการอักเสบที่เซลล์ได้
  • ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของหลอดเลือด
  • ช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดบีบตัว
  • ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีรายงานว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่า 15 ng/ml จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า
  • ช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินออกมามากขึ้น มีผลช่วยลดความเครียด และอาการซึมเศร้าได้

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดีมากกว่าคนทั่วไปได้แก่ ผู้สูงอายุ คนอ้วน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนทำงานที่ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่อยู่แต่ในที่ทำงาน 

คำแนะนำ:

  • ปรับไลฟ์สไตล์ทั้งการทำงานและการออกกำลังกายให้มีโอกาสสัมผัสกับแสงแดดยามเช้า (06.00-09.00 น.) และบ่าย (15.00-17.00 น.) มากยิ่งขึ้น อย่างน้อย 15 นาทีต่อวัน เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่แดดยังไม่แรง ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น กลุ่มปลาที่มีไขมันสูง ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ไข่ หอยนางรม
  • รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของวิตามินดี (Vitamin D Supplementation)
  • ควรตรวจเช็คปริมาณวิตามินดีอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะหากมีปริมาณวิตามินดีต่ำเกินไปจะได้รีบหาทางแก้ไข ระดับวิตามินปกติคือ 30-100 ng/ml 

เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง จะมีความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันได้มากกว่าคนทั่วไป ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เส้นเลือดขาดความยืดหยุ่นจึงบีบตัวได้ไม่ดีนัก
  • โรคความดันโลหิตสูง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น หรือหัวใจโต หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และเสี่ยงหัวใจวายได้ 
  • โรคไขมันในเลือดสูง ทำให้มีโอกาสอุดตัน หรือตีบที่หลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันได้ 

คำแนะนำเพื่อป้องกันหัวใจวายเฉียบพลันในฤดูหนาว

  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ควรไปพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาอย่างเคร่งครัด และควบคุมโรคให้ดี ไม่ให้อาการกำเริบ
  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นด้วยการสวมเสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ สวมหมวกไหมพรม สวมถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นอกอาคารบ้านเรือน หรือเมื่อเดินทางไปยังสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็น
  • ทาโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำ
  • ควรรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่นภายในร่างกาย เพื่อช่วยลดการทำงานของหัวใจและป้องกันไม่ให้เส้นเลือดแดงหดตัว เช่น อาหารอุ่นร้อน อาหารต้ม อาหารที่มีสมุนไพร หรือเครื่องเทศที่มีฤทธิ์ร้อนเป็นส่วนประกอบ เช่น ไก่ผัดขิง ผัดกระเพรา น้ำขิง ปลาผัดพริกไทยดำ
  • รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรีสูง อาหารเค็มจัด อาหารหวานจัด อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบรรเทาความหนาวเย็น เพราะอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้
  • เตรียมห้องนอนและบ้านเรือนให้อบอุ่น ไม่เปิดหน้าต่างให้ลมพัดผ่านมากจนเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • รับแสงแดดยามเช้า (06.00-09.00 น.) และบ่าย (15.00-17.00 น.) ให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากนอนกรนรุนแรง ควรระมัดระวังภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ความกดดัน หรือรู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด ความกดดัน
  • ไม่สูบบุหรี่ 
  • หมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ อย่านิ่งนอนใจ เช่น หากมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ควรต้องไปพบแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้คิดว่า "เดี๋ยวก็หาย"
  • หมั่นตรวจสุขภาพทั่วไปและสุขภาพหัวใจเป็นประจำหากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือหากสามารถตรวจสุขภาพประจำปีได้ยิ่งดี 

จริงๆ แล้วอาการหัวใจวายเฉียบพลันสามารถมาเยือนได้ทุกฤดู เพียงแต่ในฤดูหนาวจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรดูแลหัวใจตั้งแต่วันนี้ไม่ต้องรอให้ถึงฤดูหนาวแล้วจึงหันมาดูแล เพราะหากมีแนวโน้มจะมีอาการ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้วจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tiina M. Ikäheimo, Cardiovascular diseases, cold exposure and exercise (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6204981/), 29 February 2020.
Prevent Heart Disease, Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (https://www.cdc.gov/heartdisease/prevention.htm), 27 February 2020.
How to Help Prevent Heart Disease At Any Age, American Heart Association (https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-lifestyle/how-to-help-prevent-heart-disease-at-any-age), 29 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะหัวใจวาย (Heart attack)
ภาวะหัวใจวาย (Heart attack)

ภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว! อ่านอาการ สาเหตุ วิธีรักษาภาวะหัวใจวายได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม