โรคหัวใจวายเป็นโรคที่เกิดได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุคือการอุดตันของเส้นเลือดแดงใหญ่ซึ่งส่งไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจค่อยๆตายลง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหัวใจวายในผู้สูงอายุ
- ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมาก่อน
- เป็นโรคเบาหวาน
- มีความดันโลหิตสูง
- มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- สูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์
- น้ำหนักมาก
- ไม่ออกกำลังกาย
อาการของหัวใจวายในผู้สูงอายุ
อาการทั้งหมดเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายเสมอไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตวินิจฉัยของแพทย์ แต่อาการที่เกิดขึ้นให้เห็นชัดเจน คืออาการเจ็บหน้าอกอย่างทันที
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- อาการเจ็บหน้าอกโดยมีลักษณะเหมือนแน่นหน้าอกเหมือนมีน้ำหนักมากดทับ และจะเจ็บร้าวไปจนถึงคอ กราม และแขน
- อาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก
- หายใจหอบถี่
- คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก และมีอาการวิงเวียน
- เหนื่อยล้า อ่อนแรง
- ในบางรายอาจมีอาการเพ้อ สับสน
วิธีการลดการเกิดหัวใจวายในผู้สูงอายุ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถ้ามีโรคความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็มและของหมักดอง ลดอาหารมันและของทอด
- ผู้ป่วยเบาหวานควรเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง และเลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำ เน้นรับประทานผักและผลไม้
- ออกกำลังกาย เช่น เดินทุกวัน
- ลดการสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือดให้อยู่ระดับปกติ
- ลดความเครียด และพบแพทย์เป็นประจำ
การดูแลผู้ป่วยหัวใจวายเมื่อไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล
- ให้ผู้ป่วยนั่งพักและทำให้ผู้ป่วยสงบลง
- ปลดเสื้อผ้าให้หลวม
- คอยบอกผู้ป่วยตลอดเวลาว่ารถพยาบาลกำลังมา
- หากผู้ป่วยมียาประจำให้ช่วยผู้ป่วยหายาและป้อนยา
- โทรแจ้งสถานพยาบาลอย่างเร่งด่วน
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยหัวใจวาย
- ห้ามทิ้งผู้ป่วยไว้คนเดียว
- ห้ามป้อนอะไรให้ผู้ป่วยนอกจากยาแก้เจ็บหน้าอกของผู้ป่วยเท่านั้น
- ไม่ต้องรอให้อาการหายไปเอง เร่งนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ทุกนาทีมีค่ามาก การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้เร็วขึ้น และลดอัตราการเสียชีวิตได้